โควิด 19 : เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ SAR-CoV-2 มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน แต่มีช่วงเวลาระหว่าง 0-24 วัน ในการแสดงอาการป่วย
ภูมิแพ้อากาศ : ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการคือไรฝุ่น หรือสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ รวมไปถึงอุณหภูมิของอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีอาการป่วยทันทีเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นเหล่านี้
อาการป่วย
มีไข้
- โควิด 19 : ไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส โดยมีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง นานประมาณ 4 วัน ไข้ก็ไม่ลด แต่ในระยะหลัง ๆ พบผู้ป่วยบางรายไม่มีไข้เลยก็ได้
- ภูมิแพ้อากาศ : มีอาการคล้ายหวัด แต่จะไม่มีไข้
เจ็บคอ
- โควิด 19 : ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย
- ภูมิแพ้อากาศ : ไม่มีอาการเจ็บคอ
ไอ
- โควิด 19 : บางรายมีอาการไอแห้ง ไอมาก เจ็บหน้าอก ขณะที่บางคนอาจมีเสมหะ
- ภูมิแพ้อากาศ : มีอาการจามเป็นส่วนใหญ่ บางคนก็มีอาการจามไม่หยุด แต่ก็อาจพบอาการไอบ้าง ทั้งไอแห้ง และไอแบบมีเสมหะ บางคนไอเรื้อรังเหมือนมีอะไรติดอยู่ที่ลำคอ
คัดจมูก
- โควิด 19 : อาจมีอาการคัดจมูกบ้างเป็นบางครั้งและเป็นบางคน
- ภูมิแพ้อากาศ : มีอาการคัดจมูกเด่นชัด
น้ำมูกไหล
- โควิด 19 : ในผู้ป่วยบางราย อาจพบอาการน้ำมูกไหลได้
- ภูมิแพ้อากาศ : พบอาการน้ำมูกไหลได้บ่อย เพราะเป็นหนึ่งในอาการแพ้อากาศที่เด่นชัด
จมูกได้กลิ่นน้อยลง หรือไม่ได้กลิ่น
- โควิด 19 : พบอาการสูญเสียการได้กลิ่นบ่อยขึ้น และอาจเป็นอาการนำก่อนอาการโควิดอื่น ๆ บางคนอาจมีอาการลิ้นไม่รับรสชั่วคราวร่วมด้วย
- ภูมิแพ้อากาศ : อาจพบอาการจมูกไม่ได้กลิ่นในผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศได้ในบางคน
คันตา ตาบวม น้ำตาไหล
- โควิด 19 : ยังไม่มีรายงานทางการแพทย์ว่าพบอาการคันตา น้ำตาไหลในผู้ป่วยโควิด 19 แต่อาจพบอาการตาแดงในบางราย
- ภูมิแพ้อากาศ : มีอาการคันตา ตาบวม น้ำตาไหลเป็นอาการเด่น เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้กระตุ้นให้เกิดอาการ
หายใจเหนื่อยหอบ
- โควิด 19 : มีอาการหายใจลำบาก หายใจยาก หายใจถี่ และหายใจเหนื่อยหอบ
- ภูมิแพ้อากาศ : อาจพบอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่คล่องได้ในผู้ป่วยบางราย
หนาวสั่น
- โควิด 19 : อาการโควิด 19 อาจพบว่ามีอาการหนาวสั่นได้ในบางราย เนื่องจากมีไข้
- ภูมิแพ้อากาศ : ไม่มีอาการหนาวสั่น
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- โควิด 19 : ผู้ติดเชื้อโควิด 19 จะพบอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวร่วมกับมีไข้ และอาการโควิดอื่น ๆ เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย
- ภูมิแพ้อากาศ : ไม่พบอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว
ปวดศีรษะ
- โควิด 19 : พบอาการปวดศีรษะร่วมกับมีไข้ในผู้ป่วยบางราย
- ภูมิแพ้อากาศ : พบได้บ้าง
คลื่นไส้ อาเจียน
- โควิด 19 : มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยบางราย
- ภูมิแพ้อากาศ : ไม่พบอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ท้องเสีย
- โควิด 19 : ในบางรายมีอาการท้องเสีย และอาจรุนแรงถึงขั้นถ่ายเป็นเลือดได้ด้วย
- ภูมิแพ้อากาศ : ไม่พบอาการท้องเสียในผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศ
- โควิด 19 : ปัจจุบันการรักษา COVID-19 จะใช้ยาต้านที่ชื่อว่า Favilavir และยาอื่น ๆ หลายขนาน ทั้งยา remdesivir, chloroquine, lopinavir+ritonavir, interferon ชนิดพ่น, losartan, แอนติบอดีชนิด monoclonal หรือพลาสมาจากผู้ป่วยโควิดที่รักษาหายแล้ว
- ภูมิแพ้อากาศ : ยาที่ใช้บรรเทาอาการโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ มีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ยาต้านการอักเสบ ที่ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก ยาต้านฤทธิ์สารก่ออาการอักเสบ และยาต้านฮิสตามีน ช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล คันจมูก และคันตา จากอาการแพ้อากาศ
โดยตัวยาที่นิยมใช้รักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ เช่น ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) หรือยาแก้แพ้ ที่จะช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล คันตา, ยาหดหลอดเลือด (Decongestant), ยาสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ทั้งชนิดกิน (Oral steroids) และยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Intranasal steroids), ยาต้านโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic drug) เช่น Ipratropium bromide, ยาต้านลิวโคไตรอีน (Anti-leukotrienes) ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก เป็นต้น
- โควิด 19 : หากอาการรุนแรง อาจมีภาวะปอดอักเสบ ปอดล้มเหลว ไตวาย ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หัวใจวาย และเสียชีวิต
- ภูมิแพ้อากาศ : ภาวะแทรกซ้อนของโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย เช่น ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ริดสีดวงจมูก หูชั้นกลางอักเสบ ผนังคออักเสบเรื้อรัง เยื่อบุจมูกอักเสบจากการใช้ยาหดหลอดเลือดนานเกินไป นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ และอาการที่ควรระวังมากที่สุดคือหอบหืด
อาการของโรคภูมิแพ้อากาศและอาการ COVID-19 อาจมีความคล้ายคลึงกันในระยะแรก ๆ ที่เริ่มป่วย เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดในระบบทางเดินหายใจด้วยกันทั้งคู่ แต่ถึงกระนั้นความแตกต่างก็ยังพอสังเกตได้ชัด โดยเฉพาะอาการไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ดังนั้นหากพบว่ามีอาการโควิด 19 เด่นชัด ขอให้รีบพาตัวเองไปตรวจโควิดโดยเร็วที่สุด
ที่มาข้อมูลจาก : https://covid-19.kapook.com/view235350.html
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรงพยาบาลกรุงเทพ
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id