LIve "มารู้จัก ภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุ"
 
เราจะมาทำการ Live พูดกันในเรื่อง
"มารู้จัก ภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุ"
 
โดย
กบ.วริศรา นวประภากุล
กบ.ธันยา วุฒิสิวะชาติกุล
 
โดยมีหัวข้อเรื่อง
 - การกลืนในผู้ป่วย 3 ระยะ
 - วิธีแก้ปัญหาภาวะกลืนลำบาก
 - ระดับอาหาร
 - ข้อแนะนำในการทานอาหารอย่างปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
 

การกลืนในผู้สูงอายุมี 3 ระยะ

1.ระยะช่องปาก 
   ผู้สูงอายุจะมีการรับความรู้สึกที่ลดลง เช่น รสชาติอาาร อุณหภูมิ เเละการสัมผัสต่อเนื้ออาหาร ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่ออาหารได้ง่าย การไม่มีฟัน เเละกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหารลดลง ทำให้ ต้องใช้เวลานานในการเคี้ยวอาหาร ทำให้กระบวนการเตรียมอาหาร เเละการขนส่งผ่านอาารใช้เวลานานขึ้น เเละประสิทธิภาพลดลง จึงต้องมีการกลืนหลายครั้งกว่าอาารจะหมดออกจากช่องปาก 

2.ระยะคอหอย
  ปฏิกิริยาการตอบสนองทางการกลืนที่คอหอยจะเกิดช้ากว่าคนหนุ่มสาว ทำให้อาหารอยู่ในระยะคอหอยนาน จึงมีความเสี่ยงสูงในการเกิดการสำลักอาหาร

3.ระยะหลอดอาหาร
  ระยะเวลาที่หูรูดของหลอดอาหารส่วนต้นจะเปิดช้าลง จึงมีอาหารเหลือค้างที่คอหอย เสี่ยงต่อการสำลักเข้าทางเดินหายใจ เเรงบีบไล่อาหารของลอดอาหารจะลดลง หากผู้สูงอายุล้มตัวลงนอนหลังรับประทานอาหารอิ่ม จะทำให้อาหารค้างอยู่ในหลอดอาหาร

วิธีแก้ปัญหาภาวะกลืนลำบาก

   - การใช้ยา
   - การปรับอาหาร
   - การใช้เทคนิคช่วยกลืน
   - การดูเเลสุขภาพช่องปาก
   - การกระตุ้นการรับความรู้สึก
   - การปรับอุปกรณ์ที่ใช้รับประทานอาหาร
   - การออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน

ข้อแนะนำในการทานอาหารอย่างปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

  • นั่งตัวตรงขณะรับประทานอาหาร เเละหลังอาหาร
  • รับประทานอาารอย่างช้าๆ เเละตั้งใจ
  • ไม่รับประทานอาหาร หรือน้ำคำใหญ่ไป 
  • ลดสิ่งรบกวนขณะรับประทานอาหาร เช่น การพูดคุย การดูทีวี เป็นต้น
 
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 ปรึกษา​แพทย์​ โทร​ 065-594-2989 โทรสอบถาม 091-803-3071 / 02-020-1171 
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab