โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร ?
โรคหลอดเลือดสมอง หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นอาการของแขน ขา หรือใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งชา อ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ อย่างทันทีทันใด เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบ ตัน หรือแตก ทำให้เนื้อสมองขาดอาหารและออกซิเจน เกิดภาวะเนื้อสมองเสียหาย
1. สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง
- หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) พบได้ประมาณ 70%
- หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 30%
1. การอุดตันของหลอดเลือดจากการเสื่อม หรือการแข็งตัวเป็นสาเหตุของหลอดเลือดอุดตันที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการที่ผู้ป่วย มีปัจจัยเสี่ยง เช่น สูงอายุ ความดันเลือดสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ หรือไขมันในเลือดสูง
1.1 ก้อนเลือดจากหัวใจ หรือตะกอนเลือดจากผนังหลอดเลือดแดงหลุดเข้าอุดตันหลอดเลือดในสมอง
สาเหตุของก้อนเลือดจากหัวใจหลุดเข้าสมอง มักเกิดในคนที่มีการเต้นหัวใจไม่สม่ำเสมอ ชนิดหัวใจห้องซ้ายบนเต้นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ AF)
2. หัวใจบีบตัวไม่พร้อมกันทั้งห้อง ทำให้มีเลือดค้างในห้องหัวใจ เลือดจะเกิดการแข็งตัวเป็นก้อนเลือดขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ในวันที่เกิดอาการ ก้อนเลือดหลุดออกไปที่หัวใจห้องซ้ายล่าง แล้วออกต่อไปที่หลอดเลือดแดงใหญ่ และหลุดเข้าไปในสมอง เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กกว่าก้อนเลือด ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง นอกจากนี้ตะกอนเลือดที่อยู่ที่ผิวของ plaque ในผนังหลอดเลือดใหญ่ที่คอ สามารถหลุดเข้าไปติดในหลอดเลือดสมอง จากแรงของเลือดที่ไหลเร็วกว่าปกติ ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดในสมองได้เช่นกัน
3. ความดันเลือดลดลงมาก จนไปเลี้ยงสมองไม่ทันเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยกว่า 1 %
- หัวใจหยุดเต้นจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง หรือเรียกว่า Heart attack
- ความดันเลือดตกมากในผู้ป่วยติดเชื้อเข้ากระแสเลือด ภาวะช็อค (shock)
- การกินยาลดความดันเกินขนาด
- ความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่า มักพบในคนสูงอายุที่กินยาลดความอ้วน หรือผู้ป่วย
- ที่เป็นโรคเบาหวาน
3.1 หัวใจหยุดเต้นจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองหรือเรียกว่า Heart attack เมื่อกู้ชีพมาได้หลังจากหัวใจหยุดทำงานไปนาน ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เมื่อหัวใจกลับมาเต้นใหม่ แต่สมองขาดเลือดนานเกินไป ก็ไม่สามารถกลับมาทำงานใหม่ได้
3.2 ความดันเลือดตกมากในผู้ป่วยติดเชื้อเข้ากระแสเลือดที่เรียกว่าภาวะช็อค (shock)
3.3 การกินยาลดความดันเกินขนาด ทำให้ความดันเลือดต่ำจนไม่สามารถเลี้ยงสมองได้พอ
3.4 ความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่า จากท่านอนหรือนั่งเป็นท่ายืนเร็วเกินไป มักพบในคนสูงอายุที่กินยาลดความอ้วน หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานาน และมีการเสื่อมของประสาทส่วนปลายร่วมด้วย
2. หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke)
2.1 เลือดออกในเนื้อสมอง (Intracerebral hemorrhage หรือ ICH)
เกิดจากหลอดเลือดขนาดเล็กเกิดการโป่งพอง หรือผนังหลอดเลือดเองเปราะบางจากอายุที่มาก เกิดการแตกทำให้เลือดออกในเนื้อสมอง ผู้ป่วยเหล่านี้จะเกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนหรือหมดสติได้
สาเหตุที่พบได้แก่
1.1 ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ คนสูงอายุ มีความดันสูงมานาน เบาหวาน ดื่มเหล้าเบียร์มาก เครียดมาก
1.2 ผู้ป่วยสูงอายุและมีผนังหลอดเลือดเปราะ (amyloid angiopathy)
1.3 ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดพิการแต่กำเนิด ซึ่งมีหลอดเลือดขดไปมาจำนวนมากและขนาดใหญ่กว่าปกติ (arteriovenous malformation หรือ AVM)
2.2 เลือดออกที่ผิวสมอง (Subarachnoid hemorrhage หรือ SAH)
หลอดเลือดขนาดใหญ่ที่ฐานสมอง เกิดการโป่งพองและค่อยๆ โตขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดบางมากแล้วแตกออก เลือดที่ออกมักมีจำนวนมาก และกระจายไปทั่วผิวสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียน ถ้าเป็นมากอาจหมดสติหรือเสียชีวิตได้
2.2.1 ผู้ป่วยที่มีผนังหลอดเลือดใหญ่ที่ฐานสมองไม่แข็งแรงร่วมกับมีความดันสูงมานาน ความดันสูงนี้จะค่อยๆ ดันให้ผนังหลอดเลือดโตเป็นกระเปาะ โตขึ้นเรื่อยๆ ผนังหลอดเลือดบางลงเรื่อยๆ และในที่สุดก็จะแตกออก
2.2.2 หลอดเลือดพอการแต่กำเนิดที่มีจำนวนมาก ขดไปมาและขนาดใหญ่กว่าปกติ (AVM) บริเวณผิวสมอง ซึ่งเป็นตั้งแต่กำเนิด เมื่อโตขึ้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแตกได้ในที่สุด
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id