"โรคหลอดเลือดสมองน่ารู้"
โดย กภ.อเนชา โหราศาสตร์ และ กภ.กาญจนา แก้วกอง
โดยมีหัวข้อเรื่องหลัก ดังนี้
- สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง
- ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
- ตำแหน่งและอาการที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร ?
โรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นอาการของแขน ขา หรือใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งชา อ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก
หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ อย่างทันทีทันใด
เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบ ตัน หรือแตก ทำให้เนื้อสมองขาดอาหารและออกซิเจน
เกิดภาวะเนื้อสมองเสียหาย
สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง
- หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) พบได้ประมาณ 70%
- หลอดเลือดสมองแตก(hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 30%
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้
- ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 140/90 mmHg ในผู้ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี, เป็นเบาหวาน หรือเป็นโรคไตวายเรื้อรัง และควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 150/90 mmHg ในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี
- โรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหารให้อยู่ระหว่าง 80 - 130 mg/dl หรือ น้ำตาลสะสม (HbA1C) ให้น้อยกว่า 7 เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดในร่างกาย
- คอเลสเตอรอลในเลือดสูง การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง จะทำให้ร่างกายมีค่าไขมันไม่ดี (LDL) ในเลือดสูงซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- โรคอ้วน ควรควบคุมน้ำหนักให้มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในช่วง 18.5 - 25 ซึ่งคำนวณโดยวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง
- การขาดการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 - 40 นาที เป็นจำนวน 3 - 4 ครั้ง/ สัปดาห์
- การสูบบุหรี่จัดและการดื่มสุราเป็นประจำ
- การใช้สารเสพติด
- การหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ผู้ที่มีประวัติหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ควรมาพบแพทย์เพื่อทำ sleep test ดูว่ามีออกซิเจนในเลือดต่ำในช่วงนอนหลับหรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้
- หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอตีบ พบในผู้ที่มีอายุมาก มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
- หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือมีลิ้นหัวใจผิดปกติ สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้
- ผู้สูงอายุ
- เพศชาย
- มีประวัติโรคหลอดสมองในครอบครัว
- มีประวัติเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
ปรึกษาแพทย์ โทร 065-594-2989 โทรสอบถาม 091-803-3071 / 02-020-1171
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
Pinterest : https://www.pinterest.com/kinrehabilitation
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Website : https://www.kinrehab.com
#live #Facebooklive #กายภายบำบัด #กิจกรรมบำบัด #Kinrehab
Tags