




แผลกดทับเป็นปัญหาที่เกิดจากการที่ผิวหนังถูกกดทับมาเป็น เวลานานอย่างต่อเนื่อง
จนทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยง ผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก
ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะเป็น รอยแดง และมีการเกิดแผลบริเวณผิวหนัง
ซึ่งมักพบได้บ่อยใน ตำแหน่งผิวหนังที่อยู่ติดกับกระดูก โดยปัญหาแผลกดทับเหล่านี้
เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือ ตนเองได้มักพบเจอ
ตำแหน่งที่เกิดแผลกดทับ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่บริเวณ
- บริเวณด้านหลังศรีษะและบริเวณหู
- บริเวณไหล่
- บริเวณข้อพับแขน
- บริเวณก้น
- บริเวณสะโพก
- บริเวณเข่า
- บริเวณข้อเท้า
- บริเวณไหล่
- บริเวณข้อพับแขน
- บริเวณก้น
- บริเวณสะโพก
- บริเวณเข่า
- บริเวณข้อเท้า
ระดับของแผลกดทับ
ระดับที่ 1 ผิวหนังจะยังไม่เกิดการฉีกขาด จะเกิดเพียงแค่รอยแดงเฉพาะที่
ระดับที่ 2 บริเวณแผลกดทับผู้ป่วยจะสูญเสียชั้นผิวหนังบางส่วนจน มองเห็นชั้นผิวหนังแท้ และอาจจะพบลักษณะของตุ่มน้ำใส หรือตุ่ม น้ำใสที่แตกได้
ระดับที่ 3 ผู้ป่วยจะสูญเสียชั้นผิวหนังทั้งหมดจนมองเห็นชั้นไขมัน บริเวณที่มีไขมันมากมักจะเกิดแผลลึก และอาจพบโพรงใต้ ขอบแผล หรือโพรงแผล
ระดับที่ 4 ผู้ป่วยจะสูญเสียชั้นผิวหนัง และชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังทั้งหมด จะมองเห็นหรือสัมผัสเนื้อเยื่อพังผืด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกหรือกระดูกอ่อนในบริเวณพื้นแผลได้
ปัจจัยการเกิดแผลกดทับ
- ขาดการเคลื่อนไหวเช่น นอนติดเตียงตลอดเวลาหรือ ไม่สามารถขยับได้ ทำให้ร่างกายถูกกดทับเป็นเวลานาน เลือดไหลเวียนได้ไม่เพียงพอ
- ผิวแห้งเพราะขาดความชุ่มชื้นตามวัย
- ปัญหาโภชนาการไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหา สุขภาพจิตร่วมด้วย และผู้ที่ขาดสารอาหารและคนกลืน อาหารลำบาก
- ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อมขณะนอนหลับ
- ผิวหนังถูกเสียดสีจากเนื้อผ้าหรือมีการอับชื้น
- ผิวหนังถูกเสียดสีจากเนื้อผ้าหรือมีการอับชื้น
วิธีการป้องกันการเกิดแผลกดทับ
- การจัดท่าทาง การปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอช่วยป้องกันการเกิด แผลกดทับได้ดี
- โภชนาการ การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารจำพวกโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ อย่างหลากหลายจะช่วยป้องกันผิวหนังถูกทำลายและช่วยให้อาการป่วย หายเร็วขึ้น
- ความสะอาดผิวหนัง ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับ ควรหมั่นตรวจ ผิวหนังของตนเองว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติใด ๆ หรือไม่
- พฤติกรรมอื่น ผู้ที่สูบบุหรี่ควรเลิกพฤติกรรมดังกล่าว เนื่องจากการสูบบุหรี่จะลดระดับ ออกซิเจนในเลือด และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ
ที่มา : https://www.pobpad.com
https;//www.99healthmart.com
ที่มาภาพประกอบ : macrovector - Freepik , Knightime designs, Zuki, hxiyjo
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare










Tags