โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดไหลเข้าไปในเนื้อสมองหรือเกิดจากการอุดตันและแตกลงของหลอดเลือด ทำให้เลือดสมองไปเลี้ยงส่วนนั้นลดลง โรคหลอดเลือดสมองตีบ และ โรคหลอดเลือดสมองแตก นั้น จะทำให้เซลล์สมองถูกทำลายหรือตายไป
โรคหลอดเลือดสมองมีผลต่อผู้ป่วยได้อย่างไร
เนื่องจากสมองควบคุมร่างกาย ผลของโรคหลอดเลือดจึงขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมองส่วนที่ถูกทำลาย ทำให้เกิดปัญหากับการทำงานของร่างกายตามปกติ เช่นการกิน การเล่น การเคลื่อนไหว ความรู้สึก การได้ยิน การพูด การกลั้นอุจจาระปัสสาวะ ก็ได้รับผลกระทบ ผู้ดูแลผู้ป่วยควรเผ้าระวังและติดตามการฟื้นตัวของผู้ป่วยด้วย
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอาจมีปัญหาเรื่องการหมดแรงของกล้ามเนื้อ การคิด หรือการควบคุมอารมณ์ หรืออาจมีอาการซึมเศร้า
การฟื้นฟูคืออะไร (Rehabilitation)
การฟื้นฟู คือขบวนการเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเสียหายของสมองอันเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดด้วยการช่วยเหลือและฝึกออกกำลังกายแบบพิเศษ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสามารถฟื้นฟูความสามารถที่เสียไป หรือเรียนรู้วิธีใหม่เพื่อปฏิบัติภารกิจประจำวันได้
บางครั้งจะมีการช่วยเหลือแบบมืออาชีพเฉพาะทางเพื่อฟื้นฟูการพูดและฟื้นฟูภาษาโดยนักบำบัดทางด้านการพูดและการใช้ภาษา (Speech and language - therapist) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเคลื่อนไหว และการควบคุมกล้ามเนื้อ (Physiotherapist) หรือเพื่อช่วยให้ปฏิบัติภารกิจประจำวัน เรียกว่านักอาชีวบำบัด (Occupational therapist)
ผู้ดูแลผู้ป่วยจะช่วยการฟื้นฟูได้อย่างไร
การฝึกหัดปฏิบัติควรทำเป็นกิจวัตร และควรจัดเวลาช่วงสั้นๆ สำหรับการเรียนรู้ความชำนาญด้านต่างๆอย่างเป็นประจำ
ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญทั้งต่อตัวผู้ป่วยและผู้ดูแล การพัฒนาอาจจะดูช้า ควรให้กำลังใจและชมเชยผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอแม้ผู้ป่วยอาจสามารถทำภารกิจได้เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้ดี
ผลต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดจะพึ่งพาผู้ดูแลมากโดยเฉพาะในระยะแรก ในบางรายอาจต้องพึ่งตลอดไป ดังนั้นผู้ดูแลอาจจะต้องทำงานในส่วนที่ผู้ป่วยทำเช่นธุรกิจการเงิน ขับรถ ซื้อของ ทำอาหาร เป็นต้น
การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตัว
การปรับเปลี่ยนเครื่องใช้ จะทำให้การใช้ชีวิตหลังเกิดโรคหลอดเลือดง่ายขึ้นหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เครื่องมือพิเศษต่างๆ เช่น บันไดเลื่อน ชั้นลงแทนบันได ใช้ฝักบัวแทนอ่างอาบน้ำ และ จัดเตรียมที่จับยึดติดกำแพงในห้องน้ำ
ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ
ผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ซ้ำอีก แต่ความเสี่ยงจะลดลงโดยการเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต วิธีการกิน การรับประทาน การควบคุมความดันเป็นเรื่องสำคัญ
แหล่งข้อมูลที่สำคัญ คือ แพทย์ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย อย่าลังเลที่จะถามปัญหาจากแพทย์
ขอบคุณข้อมูลแปลจาก พ.ญ.กฤษณี กาญจนพันธ์ (โรงพยาบาลราชวิถี)
ขอบคุณภาพประกอบ ac-illust.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร : 02-096-4996 กด 1 , 091-803-3071 , 095-884-2233
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinrehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinrehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
Pinterest : https://www.pinterest.com/kinrehabilitation
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Website : https://www.kinrehab.com
Tags