ข้อไหล่ติด (Frozen Shonlder) อาการ / สาเหตุ / แนวทางการรักษา / การดูแลและบรรเทาอาการบาดเจ็บ
ข้อไหล่ติด (Frozen Shonlder) อาการ / สาเหตุ / แนวทางการรักษา / การดูแลและบรรเทาอาการบาดเจ็บ
 

 

ข้อไหล่เป็นข้อต่อที่สำคัญของร่างกาย ข้อไหล่ประกอบด้วย กระดูกหัวไหล่ (Humerus) และกระดูกหัวไหล่ (Glenoid) ลักษณะทางกายภาพคล้ายกับลูกกอล์ฟบนแท่น ความมั่นคงของข้อไหล่จึงต้องอาศัยเยื้อหุ้มข้อไหล่ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อโดยรอบเพื่อให้สามารถขยับได้ตามต้องการ

ข้อไหล่ติดคืออะไร ?
ภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่และมีการขยับข้อไหล่ได้น้อยลง เช่น ไม่สามารถยกไหล่ได้สุดหรือไขว้หลังได้สุด และถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเป็นมากขึ้นจนขยับได้น้อยลงหรือไม่สามารถขยับได้เลย พบได้ประมาณ 2-3% ในช่วงอายุ 40-60 ปี และเกิดกับผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย

อาการเบื้องต้นของข้อไหล่ติด
มีอาการเจ็บหรือปวดในขณะเคลื่อนไหวหัวไหล่ มีอาการเจ็บหรือปวดขณะยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ มีอาการเจ็บหรือปวดเอื้อมมือไปรูดซิปข้างหลัง ใส่เสื้อผ้าลำบาก มีอาการปวดตอนกลางคืน

สาเหตุของข้อไหล่ยึดติด
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบและหนาตัวของเยื้อหุ้มข้อเป็นผังผืด ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง มักเกิดจากการทำงานหนักและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การใช้งานซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เช่น การนั่งพิมพ์งานเป็นระยะเวลานาน หรือท่าทางที่เคลื่อนไหวข้อไหล่ซ้ำๆ ก่อให้เกิดการเสียดสีและอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ ในผู้สูงอายุจะมักมีอาการเสื่อมจากการใช้งานมากเกินไป

การวินิจฉัยอาการไหล่ติด
แพทย์จะสอบถามอาการ และตรวจร่างกายทั่วไปจากนั้นจะตรวจดูคอและไหล่ ดูการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของข้อต่อบริเวณนั้น รวมไปถึงการกดหัวไหล่ เพื่อประเมินการปวดของผู้ป่วย ในกรณีที่ไม่สามารถสรุปผลได้แน่ชัด แพทย์อาจมีการตรวจอย่างอื่นให้แหน่ชัด เช่น

การตรวจเลือด (Blood Test)
การเอกซเรย์ (X-ray)
การเอกซเรย์ด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetio Resonance Imaging : MRI )
การตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy)

ระยะของภาวะไหล่ติด
ระยะปวด Freezing (ระยะการปวดจะอยู่ที่ 2-9 เดือน)
ควรรักษาด้วยการกินยาแก้ปวด หรือทำกายภาพบำบัดที่ถูกวิธี ไม่ควรใช้วิธีการนวดเพราะอาจจะทำให้มีการบาดเจ็บหรืออักเสบเพิ่มมากขึ้น

ระยะติดแข็ง Frozen (ระยะเวลาปวดจะอยู่ที่ 4-12 เดือน)
รักษาโดยการทำกายภาพบำบัด การยืดกล้ามเนื้อและการออกำลังกาย

ระยะฟื้นตัว Thaming (ระยะเวลาปวดจะอยู่ที่ 5 เดือน-2 ปี )
รักษาโดยการทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกาย และดัดไหล่ภายใต้ยาสลบการผ่าตัด(หากไม่ดีขึ้นภายใน 4-6 เดือน)

การรักษา
ปัจจุบันมีการรักษาได้หลายวิธีทั้งการใช้ยาต้านการอักเสบ การผ่าตัด หรือแม้แต่การรักษาด้วยกายภาพบำบัด ซึ้งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดและการขยับดัดดึงข้อไหล่ รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อรักษาช่วงการเคลื่อนไหว (Range of motion)

อาการปวด เน้นลดอาการปวดโดยการทานยาลดปวด ลดอักเสบ

ะยะข้อยึดติด เน้นเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว ท่าทางการบริหาร

วิธีแนะนำ : คือให้พบนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจและประเมินอาการเพื่อวางแผนและให้แนวทางการรักษาตามระยะของโรค จะช่วยทำให้อาการเป็นปกติเร็วขึ้น

ท่าออกกำลังกายสำหรับโรคไหล่ติด

1. ท่าออกกำลังกายระยะปวด
1.1 ยืนดันขอบประตู
1.2 ยืนก้มตัวย่อเข่า
1.3 ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อข้อไหล่
1.4 ท่ายืดกล้ามเนื้อใหญ่ด้านหลัง
1.5 ท่ายืนคว่ำมือถือไม้เท้าทั้งสองข้าง
1.6 วางแขนข้างที่มีอาการปวดไว้บนโต๊ะ

2. ท่าออกกำลังกายระยะติดแข็ง
2.1 ยืนกางแขน แขนข้างที่เจ็บให้ศอกงอ 90 องศา
2.2. ยืนให้แขนข้างที่เจ็บไขว่ไปด้านหลังระดับสะโพก
2.3 ท่ายืนหันหน้าเข้าฝาผนังฃ
2.4 นั่งคว่ำหน้าเหยียบแขนบนโต๊ะ
2.5 ท่าดันแขนยกตัวขึ้น
2.6 ยืนดันศอกเข้ากำแพง

3. ท่าออกกำลังกายระยะฟื้นตัว
3.1 ออกทำลังกายสะบักด้วยยางยืด
3.2 ออกกำลังกายรอบสะบักด้วยยางยืด
3.3 ออกกำลังกายรอบสะบักด้วยลูกตุ้มถ่วงน้ำหนัก

การดูแลตัวเองที่บ้าน
- ประคบเย็น
- ประคบร้อน
- ออกกำลังกายข้อไหล่
- ยืดกล้ามเนื้อข้อไหล่
- ไม่นอนทับข้างที่มีอาการปวด

 

สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร. 091-803-3071 / 02-020-1171
สอบถามบริการของ KIN  แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.kinrehab.com
 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab