กิจกรรมบำบัด การปรับอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก
 
 
กิจกรรมบำบัด การปรับอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก
การปรับอาหารเป็นส่วนหนึ่งสำคัญของการ รักษาภาวะกลืนลำบาก มีวัตถุประสงคเ์พื่อปรับลักษณะของอาหารให้ เหมาะสมกับระดับความสามารถการกลืนของผู้ป่วย โดยแบ่งลักษณะ อาหารออกเป็น 4 ระดับดังนี้
 
อาหารระดับ 1 อาหารปั่นข้น มีลักษณะเป็นเนื้อเดียว มี ส่วนผสมของของเหลวน้อยมาก เหมาะสำ หรับผู้ป่วยที่ไม่ สามารถเคี้ยวอาหารแข็งหรือกลืนอาหารเหลวได้ มักใช้สำหรับผู้ป่วยเริ่มฝึกกลืน โจ๊กปั่นข้น ข้าวสาลี น้ำสลัด เนื้อสัตว์ปั่น
 
อาหารระดับ 2 อาหารเหลวข้นมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว อาหาร ชนิดนี้จะมีส่วนผสมของของเหลวมากกว่าชนิดแรกแต่ไม่ถึงกับ เหลวเป็นน้ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความสามารถเคี้ยวอาหารไดเ้ล็กน้อย และยังไม่สามารถกลืนอาหารที่มีเนื้อเหลวมากได้ ข้าวโอ๊ต มักกะโรนีหรือก๋วยเตี๋ยวปั่น ไข่ลวก เนื้อบดปั่นเป็นเนื้อเดียว เนื้อปลา สังขยา เยลลี่
 
อาหารระดับ 3 อาหารอ่อนย่อยง่าย ลักษณะเป็นอาหารอ่อน เคี้ยวง่าย มีเนื้อผสมได้หลายชนิด ไม่แข็งจนเกินไป หากมีชิ้น ใหญ่ควรบดหรือสับหยาบ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ยังเคี้ยวอาหาร ได้ไม่เต็มที่ และกลืนของเหลวได้เล็กน้อย ข้าวต้มข้น มักกะโรนี สปาเก็ตตี้ ไข่ต้ม เนื้อสัตวตุ๋นเปื่อย แพนเค้ก โยเกิรต์ ผลไม้กระป๋อง
 
อาหารระดับ 4 อาหารปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารแข็งที่กลืนยาก เช่น อาหารทอดกรอบ ถั่วหรือเมล็ด พืช ขนมปังกรอบ เป็นต้น เพราะอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอ สำลักได้
 
สิ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับอาหารของผู้ป่วยที่มีปัญหากลืนลำบาก

1.รสชาติของอาหาร ต้องไม่มีรสจัดและกลิ่นฉุนมากเกินไปอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอมากขึ้น และสำลักได้ เช่น เครื่องปรุงประเภทน้ำส้มสายชู
2. อณุหภูมิของอาหาร อาหารร้อนและอาหารเย็น จะช่วยกระตุ้นการ กลืนได้ดีกว่าอาหารในอุณหภมูิห้องแต่ควรระวังในผู้ป่วยที่มีปัญหาการ รับความรู้สึกช้าอาจทำให้เกิดแผลในปากได้
3. ลักษณะเนื้ออาหาร ควรมีเนื้อข้น ลักษณะเกาะตัวเป็นก้อนในปาก เนื้ออาหารไม่แตกกระจาย จะช่วยให้กลืนได้ง่ายยิ่งขึ้น
4. อาหารที่กระตุ้นใหเ้กิดเสมหะ อาหารประเภทที่มีนมเป็นส่วนประกอบ อาจทำ ให้เสมหะเหนียวข้นส่งผลให้กลืนลำบากมากยิ่งขึ้น
 
สนใจสอบถามข้อมูล
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร. 0802400426 / 091 803-3071 / 0-2020-1171
สอบถามบริการของ KIN  แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แผนที่ไป KIN (คิน) http://bit.ly/2VvPDq6
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.kinrehab.com/
FaceBook(Inbox) : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab