การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุด้านสังคม และวัฒนธรรม
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุด้านสังคม และวัฒนธรรม
สังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุไม่ได้มีแค่ร่างกาย และจิตใจที่เปลี่ยนแปลงเพียงอย่าเดียว แต่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายทางสังคม และวัฒนธรรม รวมไปถึงเทคโนโลยีที่เร็วจนตามแทบไม่ทัน อาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกแปลกแยกในสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สูญเสียบทบาทเดิม และเผชิญความโดดเดี่ยวจากการจากไปของคนใกล้ชิด หรือการย้ายถิ่นของลูกหลาน เราในฐานะลูก หรือหลาน จะรับมือปัญหาเรื่องนี้อย่างไรดี มาทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และวิธีรับมือกันกับบทความนี้กันค่ะ

การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นก้าวแรกสู่การหาวิธีสนับสนุน และดูแลผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถปรับตัว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมที่เปลี่ยนแปลง มาดูกันว่าเราจะรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้อย่างไร

1. จากหัวหน้าครอบครัว สู่ผู้ที่ต้องพึ่งพา
ก่อน:
คุณตาเป็นคนตัดสินใจทุกอย่างในบ้าน
ตอนนี้: ลูกๆ เป็นคนจัดการเรื่องส่วนใหญ่
วิธีรับมือ:
  • ให้คุณตามีส่วนร่วมในการตัดสินใจบ้าง เช่น เลือกเมนูอาหารมื้อเย็น
  • ขอคำปรึกษาจากคุณตาในเรื่องที่ท่านเชี่ยวชาญ
2. ความเหงาเมื่อลูกหลานจากไป
ก่อน: บ้านคึกคักมีลูกหลานอยู่พร้อมหน้า
ตอนนี้: ลูกๆ ย้ายไปทำงานในเมือง บ้านเงียบเหงา
วิธีรับมือ:
  • สอนคุณยายใช้วิดีโอคอลคุยกับหลานๆ
  • นัดทานข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาทุกวันอาทิตย์



3. เมื่อคนรุ่นใหม่มองว่าผู้สูงอายุตามโลกปัจจุบันไม่ทัน

ก่อน:
ทุกคนฟังความเห็นผู้ใหญ่
ตอนนี้: วัยรุ่นคิดว่าคุณปู่คุณย่าไม่เข้าใจโลกสมัยใหม่
วิธีรับมือ:
  • ให้ผู้สูงอายุเล่าประสบการณ์ชีวิตของตัวเอง
  • ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ เช่น ปลูกผักด้วยกัน พูดคุยกันหลังกินข้าว

4. ประเพณีเก่าๆ กำลังจางหาย
ก่อน:
ทุกคนรอคอยงานบุญประจำปี
ตอนนี้: คนรุ่นใหม่สนใจงานคอนเสิร์ต หรืองานอดิเรกที่ตัวเองชอบมากกว่า
วิธีรับมือ:
  • จัดงานรื่นเริงที่ผสมผสานวัฒนธรรมเก่า-ใหม่
  • ให้ผู้สูงอายุสอนทำขนมไทยโบราณแก่เด็กๆ
  • กลับไปหาผู้สูงอายุช่วงเทศกาลต่าง ๆ



5. เทคโนโลยีก้าวไกล ตามไม่ทัน
ก่อน: คุณยายเก่งเรื่องจดจำเบอร์โทรศัพท์
ตอนนี้: ทุกอย่างอยู่ในสมาร์ทโฟน คุณยายใช้ไม่เป็น
วิธีรับมือ:
  • ลูกหลานสอนคุณยายใช้แอพง่ายๆ เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก
  • พาไปอบรมการใช้สมาร์ทโฟนสำหรับผู้สูงอายุ


6. วิธีทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า

  • ชมเมื่อท่านทำอะไรได้ดี
  • ชวนทำกิจกรรมที่ท่านชอบ เช่น ทำอาหาร ปลูกต้นไม้
  • ถามความเห็นท่านในเรื่องสำคัญๆ
  • พาไปเจอเพื่อนๆ วัยเดียวกัน
  • จัดบ้านให้ท่านอยู่สบาย ปลอดภัย


ครอบครัวควรดูแลผู้สูงอายุยังไง:

  • ใส่ใจสุขภาพท่าน พาไปหาหมอตามนัด
  • ทำอาหารที่ท่านชอบและมีประโยชน์
  • ช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายตามสมควร
  • ให้ความเคารพ พูดคุยด้วยความนุ่มนวล
  • ทำบ้านให้ปลอดภัย เช่น ติดราวจับในห้องน้ำ

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถรับมือได้ด้วยความเข้าใจและการสนับสนุนที่เหมาะสม การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า มีส่วนร่วมในสังคม และได้รับการดูแลอย่างดีจากครอบครัว จะช่วยให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขในบั้นปลายชีวิต

สอบถามข้อมูล | นัดชมสถานที่

สาขาลาดพร้าว 71

สาขาสุขุมวิท 107

สาขาพัทยา

สาขาราชพฤกษ์

 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab