วูบ หน้ามืด หมดสติ อาจเป็นสัญญาณโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือ โรคหัวใจ !

วูบ หน้ามืด หมดสติ

อาจเป็นสัญญาณโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคหัวใจ !

 

   ภาวะวูบหมดสติ (Syncope) อาจเกิดได้กับทุกคนโดยไม่ทราบสาเหตุ บางครั้งมีอาการร่วมกับวิงเวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ แขนขาอ่อนแรงชั่วขณะ ซึ่งเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เนื่องจากระดับโลหิตในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้วอาการดังกล่าวมักจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่เกินนาที และฟื้นตัว รู้สึกตัวเหมือนปกติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของสมองหรือหัวใจ จึงอาจนำไปสู่การเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคหัวใจได้ และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการวูบ

  1. เกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น
  2. เกิดจากโรคประจำตัวของผู้ป่วย
  3. เกิดจากโรคบางอย่างที่มาจากหูชั้นใน

สาเหตุของภาวะวูบหมดสติ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  1. สาเหตุจากหลอดเลือด เช่น ภาวะขาดน้ำ ตกเลือด ได้รับยาขยายหลอดเลือดชนิดต่าง ๆ ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานไวผิดปกติ ทำให้หลอดเลือดขยายตัว
  2. สาเหตุจากหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ
  3. สาเหตุจากสมอง เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน ปวดศีรษะ ไมเกรน โรคลมชัก
  4. สาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หอบเหนื่อย เครียด ได้รับแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิด

 

อาการวูบที่ควรพบแพทย์

  1. วูบแล้วมีอาการหมดสติ
  2. วูบแล้วมีอาการชัก
  3. วูบแล้วมีอาการหน้าเบี้ยวร่วมด้วย
  4. วูบแล้วมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ

ป้องกันภาวะวูบหมดสติ ได้อย่างไร ?

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ดื่มน้ำในปริมาณที่พอดี
  3. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่อากาศร้อน หรือแออัด
  4. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  5. ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาความเสี่ยงของโรคหัวใจ และโรคทางสมอง

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการวูบ

  จะขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัย และความเสี่ยงของผู้ป่วยที่จะได้รับอันตรายจากอาการวูบ หรือโรคที่เป็นอยู่ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากหัวใจหรือมีความเสี่ยงเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต จำเป็นจะต้องตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด และวางแผนการรักษา เช่น     

1. การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ ในกรณีที่อาการวูบเกิดจากหัวใจเต้นช้ามากหรือหยุดชั่วขณะ

2. การจี้ประสาทหัวใจลัดวงจรในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ การขยายหรือการผ่าตัดแก้ไขหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือลิ้นหัวใจตีบตัน

 

ขอขอบคุณข้อมูล : รพ.ศิครินทร์, รศ.นพ.องค์การ เรืองรัตนอัมพร, อ. พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์

 

สามารถติดต่อ KIN Rehabilitation & Homecare ศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองของเราได้ตามช่องทางด้านล่าง

 

 
 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab