ครอบครัวกับการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ

ครอบครัวกับการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ

 

การเห็นคุณค่าตนเองในผู้สูงอายุ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถเผชิญกับปัญหา อุปสรรค์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ทำให้ยอมรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดความสุขในชีวิตต่อไป


แหล่งที่มาของความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

แนวคิดของ Coopersmith กล่าวถึง แหล่งที่มาของความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่สามารถส่งผลถึงความสำเร็จของบุคคลไว้ 4 ประการ คือ

  1. การมีความสำคัญ (Significance) หมายถึง การรู้สึกว่าตนเองได้รับการยอมรับการเอาใจใส่ ได้รับการแสดงความรักและความชื่นชม การเคารพนับถือจากบุคคลอื่น 
  2. การมีความสามารถ (Competence) หมายถึง การรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถในการปฏิบัติงานต่างๆ ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ
  3. การมีคุณค่าความดี (Virtue) หมายถึง การรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ยึดมั่นต่อการปฏิบัติตามหลักศีลธรรม จรรยาและข้อพึงปฏิบัติหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับทางสังคม
  4. การมีอำนาจ (Power) หมายถึง การรู้สึกว่าตนเองสามารถควบคุมพฤติกรรมของตน สามารถจัดการกับสิ่งที่มาคุกคามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในแต่ละบุคคลให้ลดต่ำลง เพื่อลดความวิตกกังวลและช่วยรักษาสมดุลยภาพส่วนบุคคล


ปัจจัยที่มีอิทธิต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

ปัจจัยที่มีลักษณะเฉพาะของบุคคล

  1. ลักษณะทางกายภาพ (Physical attributes) ลักษณะทางกสยภาพที่มีผลต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ได้แก่ ความสวยงาม น้ำหนัก ความสูงและคุณสมบัติต่างๆ ที่เอื้อต่อความสำเร็จในการทำกิจกรรมที่มีคุณค่าแก่บุคคลเหล่านั้น เช่น ความเข้มแข็ง สิ่งเหล่านี้ประเมินได้จากครอบครัวและกลุมเพื่อน โดยบุคคลที่มีลักษณะทางกายที่น่าดึงดูด จึงมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูง
  2. สมรรถนะโดยทั่วไป ความสามารถและการปฏิบัติงาน (General capacity, ability, and performance) เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญกับการเห็นคุณค่าในตนเอง เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการบรรลุผลสำเร็จทั้งด้านการศึกษาและการงานบุคคลที่มีสติปัญญามักสร้างงานที่มมีคุณภาพ จึงทำให้บุคคลเหล่านั้นเห็นคุณค่าในตนเองสูงขึ้น
  3. ภาวะทางอารมณ์ (Affective states) ภาวะทางอารมณ์ของบุคคล มีความสัมพันธ์กับการประเมินตนเองอย่างมาก บุคคลที่ประเมินตนเองว่าด้อยค่าไม่มีความสามารถและไม่มีความสำคัญ มักจะมีพื้นฐานจากการมีความเศร้า มีอารมณ์เฉยเมยไม่แสดงออก บุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเองต่ำ จึงมีอาการเก็บกดทางอารมณ์ มีความวิตกกังวล ขาดความสุขและวิตกกังวลต่ออนาคต สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่น และการยอมรับตนเองลดลง แตกต่างจากบุคคลที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูง ก็จะมีลักษณะเปิดเผย มีความสุขและวิตกกังวลน้อยกว่า 
  4. ปัญหาต่างๆ และโรคภัยไข้เจ็บ (Problem and pathology) ผู้ที่มีปัญหาต่างๆ และมีโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต หรือความเจ็บป่วยที่มีสาเหตุมาจากด้านจิตใจ จะส่งผลให้การมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง เนื่องจากปัญหาเหล่านี้จจะทำให้บุคคลรู้สึกอ่อนแอไร้คุณค่าและขาดความสุข ในทางตรงกันข้าม หากบุคคลสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง พึ่งพาตนเองได้ จะเชื่อมั้นในความแข็งงแรงของร่างกายรับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพดี สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้เพิ่มสูงขึ้น 
  5. ค่านิยมส่วนบุคคล (Self-value) ค่านิยมส่วนบุคคลอาจถูกกำหนดโดยสังคมที่บุคคลเหล่านั้นอาศัยอยู่ แต่โดยทั่วไปจะให้คุณค่าต่อสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างกัน และเมื่อให้คุณค่ากับสิ่งใดก็จะกำหนดให้สิ่งนั้นเป็นมาตรฐานในการตัดสินคุณค่าของตนเอง
  6. ความมุ่งหวัง (Aspirations) การตัดสินคุณค่าของตนเอง เป็นผลจากการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของตนกับมาตรฐานที่ตั้งไว้ หากความสามารถหรือการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดความสำเร็จตามที่มุ่งหวัง จะทำให้ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงขึ้น คนที่มีทัศนคติดีต่อตนเอง มักจะตั้งความหวังไว้สูงและสามารถทำให้บรรลุความมุ่งหวังได้มากกว่าบุคคลที่มีทัศนคติที่มีต่อตนเองในด้านลบ บุคคลที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนองต่ำจะไม่เชื่อในความสามารถของตน จึงตั้งความมุ่งหวังไว้ต่ำและไม่ใช่ความพยายามเท่าที่ควร


ครอบครัวกับการส่งเสริมความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ

   จากที่กล่ามาจะเห็นได้ว่าความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกตัวของผู้สูงอายุ ดังนั้นหัวข้อนี้จึงได้นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ

บทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

  1. บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ สุขภาพผู้สูงอายุ โดยเริ่มจากการดูแลเรื่องการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในเรื่องอาหารการกิน การแต่งตัว การทำความสะอาดร่างกาย การใช้ห้องน้ำห้องส้วมการเคลื่อนไหวร่างกายภายในบ้าน การออกกำลังและการทำกิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกเหงา เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
  2. บทบาทของครอบครัวในการดูแลอาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ คือ จัดเตรียมและประกอบอาหารให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และโคประจำตัวที่เป็น และพยายามชักชวนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการเลือกรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ โดยอาหารควรเป็นอาหารที่หลากหลาย ย่อยง่าย เน้นอาหารที่มีโปรตีน และมีกากใยสูง
  3. บทบาทของครอบครัวในการให้ความช่วยเหลือ ดูแลผู้สูงอายุ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การให้เงินใช้จ่าย รับผิดชอบดูแลค่าใช้จ่ายในบ้าน เช่น ค่ากับข้าว ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารักษาพยาบาล หรือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ สำหรับการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในบ้าน 
  4. บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุตามบรรทัดฐานและค่านิยมที่ดีของวัฒนธรรมไทยคือปรนนิบัติดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุทั้งยามปกติและยามเจ็บป่วย รวมไปถึงเยี่ยมเยียนพูดคุยและให้กำลังใจ 
  5. บทบาทของครอบครัวในการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุโดยการจัดบ้าน  สภาพแวดล้อมบรรยากาศภายในบ้านและรอบๆ บ้าน จัดหาเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเหมาะกับการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ และมีคนในครอบครัวคอยให้กำลังใจสม่ำเสมอจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองได้

อ้างอิงจากหนังสือ : ครอบครัวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม นันทมงคลชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

 

KIN Nursing Home มีความมุ่งมั่นในการให้บริการที่ดีที่สุดเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ และมีความสุข

สอบถามข้อมูล | นัดชมสถานที่

สาขาลาดพร้าว 71

สาขาสุขุมวิท 107

สาขาพัทยา

สาขาราชพฤกษ์

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab