การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ (ด้านสังคมและวัฒนธรรม)

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุด้านสังคมและวัฒนธรรม

 

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ การเปลี่ยนแปลงไม่เพียงเกิดขึ้นในด้านร่างกายและจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในด้านสังคมและวัฒนธรรมอย่างมากมายอีกด้วย สังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทำให้ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับการปรับตัวที่ท้าทาย การที่ต้องอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้สูงอายุอาจรู้สึกแยกตัวออกจากสังคมหรือสูญเสียบทบาททางสังคมที่เคยมี การสูญเสียเพื่อนสนิทหรือคู่สมรสยิ่งทำให้ความรู้สึกโดดเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงในครอบครัว เช่น ลูกหลานย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่หรือการเกิดความขัดแย้งในครอบครัว ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางจิตใจของผู้สูงอายุ

 

ทางด้านวัฒนธรรม การลดบทบาทของกิจกรรมทางศาสนา และวัฒนธรรมที่เคยมีส่วนร่วม ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าขาดส่วนสำคัญในชีวิต การขาดกิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้พวกเขารู้สึกเหงา แต่ยังทำให้ความรู้สึกของการมีส่วนร่วมในชุมชนลดลง การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่มาพร้อมกับการพัฒนาและเทคโนโลยีใหม่ๆ อาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถปรับตัวได้ทันและถูกทอดทิ้ง

 

การเข้าใจและรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถให้การสนับสนุนและดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข

 

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ

  จะขอกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรม ในขณะที่จำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจพร้อมๆ กัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพสังคมแบบดั้งเดิมเป็นทันสมัยขึ้นระบบการผลิตจากการเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบครอบครัวและเครือญาติ ครอบครัวมีขนาดเล็กลง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลกระทบต่อผู้สู้งอายุดังนี้

1) การเปลี่ยนแปลงสถานภาพสังคม จากผู้ที่เคยหาเลี้ยงครอบครัวมาเป็นผู้พึ่งพาอาศัย สูญเสียอำนาจและบทบาททางสังคมที่เคยมี การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองหมดความสำคัญ คิดว่าตนเองเป็นปัญหาหรือภาระแก่ผู้อื่น

  จากหัวข้อนี้จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุรู้สึกว่าคุณค่าของตัวเองลดลง การที่จะมองเห็นคุณค่าในตัวเองเกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกของผู้สูงอายุ เราจึงจะขอพูดถึงแนวทางในการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาและเสริมสร้างให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งแนวทางในการส่งเสริมความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองโดยทั่วไปรวมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุสามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้

  1. ให้คำแนะนำและคำชมเชยแกตนเองโดยตรง
  2. สร้างความสำเร็จให้กับตนเองด้วยการทำสิ่งต่างๆอย่างเต็มกำลังความสามารถ มีความขยันอดทนในการทำงานเพื่อพิสูจน์ตนเอง
  3. ลดความเศร้าในชีวิตลง บุคคลที่คาดหวังในชีวิตมากเกินไปจะมีแต่ความทุกข์ วิตกกังวลใจ หาความสุขไม่ได้ เพราะจิตใจจะมีแต่ความโลภและความเห็นแก่ตัว
  4. ตั้งจุดมุ่งหมายของชีวิตและการทำงานตามสภาพความเป็นจริง มิใช่วาดภาพว่าจะต้องเป็นคนเก่งที่สุดตลอดเวลา
  5. ตระหนักถึงข้อดีของตนเอง และยอมรับในข้อบกพร่องที่มีอยู่
  6. ให้ความเป็นกันเองกับบุคคลอื่น การที่ให้ความเป็นมิตรกับบุคคลอื่นอย่างสม่ำเสมอ ย่อมจะได้รับการยอมรับและการไว้วางใจจากคนในสังคมนั้น

บทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

  1. บทบาทของครอบครัวในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยเริ่มจากการดูแลเรื่องการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในเรื่องอาหารการกิน การแต่งตัว การทำความสะอาดร่างกาย การใช้ห้องน้ำห้องส้วมการเคลื่อนไหวร่างกายภายในบ้าน การออกกำลังและการทำกิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกเหงา เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
  2. บทบาทของครอบครัวในการดูแลอาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ คือ จัดเตรียมและประกอบอาหารให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และโคประจำตัวที่เป็น และพยายามชักชวนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการเลือกรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ โดยอาหารควรเป็นอาหารที่หลากหลาย ย่อยง่าย เน้นอาหารที่มีโปรตีน และมีกากใยสูง
  3. บทบาทของครอบครัวในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การให้เงินใช้จ่าย รับผิดชอบดูแลค่าใช้จ่ายในบ้าน เช่น ค่ากับข้าว ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารักษาพยาบาล หรือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ สำหรับการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในบ้าน
  4. บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุตามบรรทัดฐานและค่านิยมที่ดีของวัฒนธรรมไทยคือปรนนิบัติดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุทั้งยามปกติและยามเจ็บป่วย รวมไปถึงเยี่ยมเยียนพูดคุยและให้กำลังใจ
  5. บทบาทของครอบครัวในการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุโดยการจัดบ้าน สภาพแวดล้อมบรรยากาศภายในบ้านและรอบๆ บ้าน จัดหาเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเหมาะกับการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ และมีคนในครอบครัวคอยให้กำลังใจสม่ำเสมอจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองได้

 

   สรุป ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสำหรับผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงก็จะนำไปสู่การมีความสุขและสามารถใช้ชีวิตปกติสุขในสังคมได้ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในผู้สูงอายุนั้น เกิดจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวของผู้สูงอายุเอง รวมถึงปัจจัยด้านสังคมรอบข้าง ดังนั้นครอบครัวจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ โดยเริ่มจากการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเคารพนับถือตนเอง ให้คุณค่าในตัวเอง ช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด  มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมทุกครั้งที่มีโอกาส นอกจากนั้น หากกรณีที่ผู้สูงอายุเกิดการเจ็บป่วยหรืออยู่ในภวะพึ่งพิง ครอบครัวควรมีวิธีการดูแลที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกที่ดี มีกำลังใจและนำไปสู่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่ดีต่อไป

2) การถูกทอดทิ้ง จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้เกิดการขยายตัวหรือการเติบโตของชุมชนเมือง ระบบการผลิตเปลี่ยนจากการเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป คนหนุ่มสาวมารย้ายถิ่นเพื่อประกอบอาชีพในเมือง การดูแลผู้สูงอายุ บ้างครั้งอาจทิ้งผู้สูงอายุไว้ข้างหลังทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกถูกทอดทิ้ง ซึ่งทำให้เกิดความว้าเหว่

3) การเสื่อมความเคารพ สมัยก่อนผู้สูงอายุได้รับการเคารพนับถือจากผู้อ่อนอาวุโสในฐานะผู้มีประสบการณ์ ในปัจจุบันค่านิยมเหล่านี้เปลี่ยนไป ผู้สูงอายุถูกมองว่าเป็นคนไม่ทันเหตุการณ์

 

จากสิ่งที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ความเสื่อมถอยของร่างกายมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมถอยทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ สังคม และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ส่วนหนึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสูงอายุซึ่งจะได้กล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

   ดังนั้น เมื่อผู้สูงอายุมีอายุเพิ่มขึ้น ร่างกายที่แข็งแรงจะค่อยๆเสื่อมสภาพตามกาลเวลาทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุปัญหาหนึ่งเมื่อเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิต และอาจนำไปสู่ปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิตต่อไป

อ้างอิงจากหนังสือ ครอบครัวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม นันทมงคลชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุด้านสังคมและวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถจัดการและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข นี่คือวิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรม:

1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน

- กิจกรรมทางสังคม: สนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้น เช่น งานเทศกาล การประชุมหมู่บ้าน หรือกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ
- กิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรม: ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่ผู้สูงอายุเคยเข้าร่วม เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่ามีส่วนร่วมและยังคงมีบทบาทในชุมชน

2. การสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในครอบครัว

- การสนับสนุนจากครอบครัว: ครอบครัวควรให้การสนับสนุนทางอารมณ์และทางสังคม โดยการจัดเวลาเยี่ยมเยือนและทำกิจกรรมร่วมกัน
- การสื่อสารที่ดี: การพูดคุยและสื่อสารอย่างต่อเนื่องช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้งและยังคงเป็นส่วนสำคัญของครอบครัว

3. การพัฒนาเทคโนโลยีและการศึกษา

- การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่: สนับสนุนการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การใช้สมาร์ทโฟน การใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถติดต่อสื่อสารกับครอบครัวและเพื่อนฝูงได้ง่ายขึ้น
- การศึกษาและการฝึกอบรม: จัดการอบรมและเวิร์กช็อปเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิธีการใช้งานให้กับผู้สูงอายุ

4. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

- การปรับปรุงบ้านและสภาพแวดล้อม: การปรับปรุงบ้านและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การติดตั้งราวจับในห้องน้ำ การจัดพื้นที่ให้สะดวกในการเดิน
- การจัดกิจกรรมในบ้าน: การจัดกิจกรรมในบ้านเช่นการเล่นเกม การอ่านหนังสือ หรือการดูแลสวน ทำให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมและไม่รู้สึกเหงา

5. การสนับสนุนจากองค์กรและสถาบัน

- องค์กรสังคม: การสนับสนุนจากองค์กรสังคมที่ให้บริการและกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยให้พวกเขามีส่วนร่วมในสังคมและได้รับการสนับสนุนทางจิตใจ
- สถาบันการแพทย์และการดูแลสุขภาพ: การดูแลสุขภาพที่ดีจากสถาบันการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

 

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม และวัฒนธรรมของผู้สูงอายุเป็นกระบวนการที่ต้องการการสนับสนุนจากหลายฝ่าย การเข้าใจ และให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้สูงอายุจะช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่มีความสุข และมีคุณค่าในทุกช่วงวัย

 

สามารถติดต่อ KIN Rehabilitation & Homecare ศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองของเราได้ตามช่องทางด้านล่าง

 

 
 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab