การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ (ด้านจิตใจ)

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ (ด้านจิตใจ)

 

   การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและครอบคลุมหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถเตรียมตัวและปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขในทุกช่วงเวลา

   ในด้านร่างกาย ผู้สูงอายุมักเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของระบบต่างๆ อาทิ การลดลงของมวลกล้ามเนื้อ ความหนาแน่นของกระดูกที่ลดลง ระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงระบบประสาทที่เสื่อมลง ทำให้การเคลื่อนไหวช้าลงและมีความเสี่ยงต่อการล้มสูงขึ้น นอกจากนี้ ระบบทางเดินอาหารและระบบปัสสาวะก็อาจทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมักประสบกับปัญหาท้องผูกและการควบคุมปัสสาวะที่ลดลง

   ในด้านจิตใจ การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นไปในทางลบ ซึ่งเป็นผลมาจากการสูญเสียในด้านต่างๆ ทั้งการสูญเสียคนรัก การเปลี่ยนแปลงบทบาทในครอบครัวและสังคม รวมถึงการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมที่เคยทำได้อย่างอิสระ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจนำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยว วิตกกังวล ซึมเศร้า และความรู้สึกไม่มั่นคง การรับรู้และเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถให้การสนับสนุนและดูแลได้อย่างเหมาะสม

   นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และจิตใจแล้ว ผู้สูงอายุยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การเกษียณอายุ การเปลี่ยนแปลงบทบาทในครอบครัว และการสูญเสียความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงและชุมชน อาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหงาและไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม การสนับสนุนทางสังคมและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุจะช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุได้

 

โดยรวมแล้ว การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุเป็นกระบวนการที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่การรับรู้และเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ รวมถึงการเตรียมตัวและปรับตัวอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขในทุกช่วงเวลา



การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ

         จะขอพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุด้านจิตใจ การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นไปในทางลบ และเป็นผลมาจากการสูญเสียในด้านต่างๆ ประกอบด้วย

 

1. การสูญเสีบุคคลอันเป็นที่รัก เนื่องจากเพื่อน บุคคลที่เป็นญาติสนิทหรือคู่ชีวิตต้องตายหรือแยกย้ายไปอยู่ที่อื่น ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกถูกพรากจากบุคคลอันก่อให้เกิดความเศร้าได้ง่าย
2. การสูญเสียสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ เนื่องจากถึงวัยที่จะต้องออกจากงาน ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ทางสังคมก็ลดน้อยลง เนื่องจากหมดภาระหน้าที่รับผิดชอบด้านการงาน ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกสูญเสียตำแหน่งหน้าที่ รู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า นอกจากนี้ยังส่งผลให้ผู้สูงอายุขาดความผูกพันธ์ที่เคยมีต่อสังคม ขาดรายได้หรือรายได้ลดลง สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุต้องพยายามปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
3. การสูญเสียสัมพันธภาพในครอบครัว เนื่องจากในวัยนี้บุตรธิดามักจะมีครอบครัวกันแล้ว โดยเฉพาะลักษณะของสังคมปัจจุบันที่ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากกว่าเป็นครอบครัวขยาย ทำให้ความสัมพันธ์รหว่างพ่อแม่ที่เป็นผู้สูงอายุกับบุตรหลานของตนลดลง ทำให้ผู้สูงอายุอาจต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว เกิดความรู้สึกว้าเหว่และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าน้อยลง

    

เมื่อพูดถึงรูปแบบของครอบครัว จะขออธิบายเพิ่มเติม โดยรูปแบบของครอบครัวสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

  1. รูบแบบครอบครัวดั้งเดิม (Traditional Family Pattern) ซึ่งได้แก่
    • ครอบครัวเดี่ยว หมายถึง ครอบครัวที่ประกอบด้วยคน 2 รุ่น คือ รุ่นพ่อ-แม่ และรุ่นลูก ครอบครัวเดี่ยว มีลักษณะที่เป็นสากล สามารถพบเห็นในทุกกลุ่มของสังคม เนื่องจากคนหนุ่มสาวในปัจจุบันมีการย้ายถิ่นฐานไปทำงาน การคลุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และมีความคาดหวังในชีวิตสูงขึ้น ทั่งยังต้องการความเป็นอิสระ อีกทั้งในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร การขนส่ง ทำให้ครอบครัวเดี่ยวในปัจจุบันยังสามารถคงความสัมพันธ์กับครอบครัวเดิมของตนได้สามารถให้ความช่วยเหลือหรือขอรับความช่วยเหลือจากญาติพี่น้องได้ ครอบครัวนี้จึงมีมากที่สุดในสังคมไทย
    • ครอบครัวขยาย เป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ประกอบด้วยครอบครัวเล็กๆ หลายครอบครัว อาจอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกัน หรือปลูกแยกเป็นหลังๆ แต่ยังคงอยู่ในบริเวรเดียวกัน อาจเป็นครอบครัวที่รวมญาติ พี่น้อง สองถึงสามรุ่น อยู่ภายใต้การปกครองของผู้อาวุโสในบ้าน เป็นครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่น
  2. รูปแบบครอบครัวที่แตกต่างจากเดิม (Nontraditional Variant Family Pattern) ได้แก่ ครอบครัวที่มีลักษณะเหล่านี้ คือ
    • คู่สามีภรรยา อยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงาน และยังไม่ตัดสินใจว่าจะครองคู่ต่อไปในอนาคต
    • คู่สามีภรรยา ที่อยู่ร่วมกันโดนไม่ได้จดทะเบียนสมรส ด้วยเหตุผลใดก็ตามพร้อมด้วยบุตร
    • ครอบครัว Gay หรือ Lesbian เป็นครอบครัวที่บุคคลเพศเดียวกันอยู่ร่วมกันฉันท์สามี ภรรยา
    • ครอบครัวคอมมูน เป็นครอบครัวที่อยู่ร่วมกันหลายๆ ครอบครัวและไม่ใช่เครือญาติอยู่ร่วมกันในครัวเรือนเดียวกัน มีผลประโยชน์ร่วมกัน แบ่งปันและให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
  • 4. การสูญเสียสมรรถภาพทางเพศ นับเป็นการสูญเสียทางจิตใจที่สำคัญ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงทางสรีระเคมีของร่างกายทำให้ไม่สามารถสนองความต้องการทางเพศได้ ทั้ง ๆ ที่ยังมีความต้องการทางเพศอยู่ นอกจากนั้นเหตุผลทางสังคมและวัฒนธรรมโดยเฉพาะเจตคติของสังคมที่มีต่อเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม นับว่าเป็นสิ่งที่ขัดขวางความต้องการทางเพศและมีผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุมาก

สรุปคือ ผลกระทบดังกล่าวของการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ คือ ผู้สูงอายุจะเกิดความรู้สึกกังวล กลัวตาย เหงา ว้าเหว่ หดหู่ ซึมเศร้า สิ้นหวัง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง ขาดความมั่นคงทางจิตใจ

 

อ้างอิงจากหนังสือ ครอบครัวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม นันทมงคลชัย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

สามารถติดต่อ KIN Rehabilitation & Homecare ศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองของเราได้ตามช่องทางด้านล่าง

 

 
 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab