การเปลี่ยนแปลงร่างกายในผู้สูงอายุ (ด้านร่างกาย)

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ

 

          การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ด้านใหญ่ๆ คือการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ และ การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมละวัฒนธรรม

จะขอกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย วัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และสรีระวิทยาของระบบต่างๆดังนี้

  • ผม เป็นสิ่งแรกของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเจนภายนอก เนื่องจากเนื้อเยื่อที่หนังศีรษะจะเหี่ยวย่น ประกอบกับการไหลเวียนของโลหิตไม่ดี เส้นผมได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้เส้นผมเปลี่ยนจากเดิมเป็นสีขาว มีลักษณะแห้งเปราะและร่วงง่าย
  • ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ กระดูกจะบางลงเปราะและแตกง่าย เนื่องจากมีการเสื่อมสลายของแคลเซียมในกระดูกและขาดวิตามินดี จากการไม่ได้รับประโยชน์จากแสงแดด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่ควบคุมาหาร น้ำไขข้อลดลงเป็นเหตุให้กระดูกเคลื่อนที่ มาสัมผัสกัน เกิดการเสื่องของข้อทำให้ข้ออักเสบเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ทำให้มีอาการปวดตามข้อ เช่น ข้อเข่าและข้อสะโพก เป็นต้น
  • ระบบไหลเวียนโลหิต ในผู้สูงอายุความสามารถในการทำงานของหัวใจมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ กล้ามเนื้อหัวใจมีแคลเซียมมาเกาะมากขึ้น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง เป็นผลทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้น้อยมาก โดนเฉพาะอวัยวะส่วนลาย เช่น แขน ขา และเท้า ผู้สูงอายุจงเกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลมได้บ่อย นอกจากนี้หลอดเลือดของผู้สูงอายุจะตีบแคบทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
  • ระบบทางเดินหายใจ สมรรถภาพการทำงานของปอดจะลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกล้ามเนื้อหน้าอก กระดูกซี่โครงและสันหลัง ทำให้การเคลื่อนไหวของทรวงอกถูกจำกัด ประกอบกับความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อของปอดและหลอดลมลดลงทำให้ปอดขยายตัวได้ไม่ดี ปริมาณของอากาศตกค้างในปอดมากขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เป็นผลทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ ผู้สูงอายุจึงมักหอบเหนื่อยง่าย และมีโอกาสที่เสมหะจะคั่งค้างในปอดได้
  • ระบบทางเดินอาหาร ฟันของผู้สูงอายุไม่แข็งแรง เคลือบฟันบางลงแตกง่าย เหงือกที่หุ้มคอฟันร่น เซลล์สร้างฟันลดลง เซลล์บริเวรหลอดอาหารเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวองหลอดอาหารลดลง กล้ามเนื้อหูรูดปริเวรปลายหลอดอาหาร หย่อนตัวและทำงานช้าลง เป็นเหตุให้อาหารมนกระเพาะอาหารสามารถย้อนกลับขึ้นมา กล่องรับรสจะหดตัวและการเลือกในรสอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้กลิ่นและรสไม่มีผลต่อความอยากอาหาร
  • ระบบขับถ่าย การขับถ่ายปัสสาวะเกิดการเสื่อมหน้าที่ ทำให้ไตขับถ่ายของเสียได้น้อยลง ปัสสาวะน้อยเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง ผู้สูงอายุบางรายอาจปัสสาวะขัดโดยเฉพาะในผู้ชายจากต่อมลูกหมากโต ส่วนในเพศหญิงอาจมีการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนเนื่องจากการคลอดบุตรหลายคน ผู้สูงอายุ จะท้องผูกจากระบบย่อยอาหารที่ไม่ปกติ และร่างกายมีกิจกรรมต่างๆน้อยลง
  • ระบบผิวหนัง เมื่อบุคคลมีอายุสูงขึ้นผิวหนังจะเหี่ยวและแห้ง เนื่องจากจำนวนน้ำในเซลล์ไขมันใต้ผิหนังลดน้อยลง และการไหลเวียนของโลหิตลดลงผิวหนังจึงแห้งหยาบ หย่อนยานและบาง ปรากกฎรอยย่นและตกกระมากขึ้น จำนวนต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังจะลดลง ทำให้รับความรู้สึก อุณหภูมิ การสั่นสะเทือน ความเจ็บปวดที่ผิวหนังลดลง ระดับความทนทานต่อความเจ็บปวดสูงขึ้น ทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ง่าย
  • ระบบประสาทและประสาทสัมผัส ความสามารถของศูนย์กลางควบคุมประสาทลดลง ประสิทธิภาพการสั่งงานของสมองลดลง เพราะการเสื่อมของเซลล์สมอง การตอบสนองต่อปฏิกิริยาต่างๆ ลดลง ความคิด ความจำ ความว่องไวในการสั่งงานต่างๆ โดยทั่วไปของร่างกายช้าลง ความจำเสื่อมโดยเฉพาะเรื่องราวใหม่ๆ แต่สามารถจำเรื่องต่างๆ ในอดีตได้ดี การมองเห็นไม่ดี ระบบประสาทตากล้ามเนื้อตาและแก้วตาจะเสื่อมสภาพลงโดยทั่วไปสายตาจะยาวขึ้น ความไวต่อแสง การกะระยะทางลดประสิทธิภาพลง สมรรถภาพของการได้ยินเสื่อมลง เพราะมีการเสื่อมของเยื่อประสาทตอนในเยื่อแก้วหูแข็งตัวมกขึ้น คนสูงอายุจึงไม่สามารถจะได้ยินเสียงสูงได้ คือ เกิดอาการหูตึงเสียงพูดของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปเพราะมีการเสื่อมของกล้ามเนื้อกล่องเสียงประสาทที่เกี่ยวข้องกับการสมดุลของการทรงตัวก็เสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
  • ระบบสืบพันธุ์ เพศชายต่อมลูกหมากมักโตขึ้น แต่เพศหญิงรังไข่มักจะฝ่อเล็กลง มีน้ำหนักเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของวัยสาว ปีกมดลูกหดเหี่ยว เยื่อบุภายในมดลูกจะบางลงแต่ยังสามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นของฮอร์โมนได้ดี ปากมดลูกเหี่ยวมีขนาดเล็ก ไม่มีเมือกหล่อเลี้ยง ช่องคลอดมีภาวะเป็นด่าง อวัยวะสีบพันธุ์ภายนอกเหี่ยวย่น เพราะไขมันใต้ผิวหนังลดลง
  • ระบบต่อมไร้ท่อ มีกรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมสภาพ พบว่าต้อมใต้สมองทำงานลดลงเป็นผลทำให้ต่อมไร้ท่ออื่นๆ ซึ่งถูกควบคุมโดยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองทำหน้าที่ได้ลดลงด้วย เกิดอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย การผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ได้น้อยทำให้พฤติกรรมทั่วไปในผู้สูงอายุเชื่องช้าได้ ต่อมหมวกไตผลิดฮอร์โมนคอร์ติซอลได้น้อย จึงเป็นผลให้เกิดอารมณ์เคลียดและหงุดหงิดได้ง่าสย ส่วนตับอ่อนการทำงานจะลดลง มีการหลังอินซูลินออกมาน้อย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุสูงขึ้นอาจเกิดโรคเบากวานในผู้สูงอายุได้

 

อ้างอิงจากหนังสือ ครอบครัวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม นันทมงคลชัย

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

สามารถติดต่อ KIN Rehabilitation & Homecare ศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองของเราได้ตามช่องทางด้านล่าง

 

 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab