โรคอัมพาตคืออะไร

โรคอัมพาตคืออะไร?

 

  โรคอัมพาต (Stroke) นิยามโดยสมาคมหัวใจและสมาคมอัมพาตอเมริกา (AHA/ASA) ว่าคือ การตายอย่างถาวรของเนื้อเยื่อในระบบประสาทกลางเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งอาจมีอาการชัดเจน ทันที อย่างกรณีอัมพาตเฉียบพลันจากหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือเกิดอย่างเงียบๆ โดยไม่มีอาการ ให้เห็นเลย และครอบคลุมไปถึงภาวะเลือดตกในเนื้อสมองและในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมองด้วย

 

การวินิจฉัยอัมพาตเฉียบพลัน

   อัมพาตเฉียบพลัน (Acute stroke) เกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ มีลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือด ที่เป็นโรคหลอดเลือดตีบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว (Ischemic stroke) หรือมีเลือดออกในเนื้อสมองหรือ ในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง (Hemorrhagic stroke) ซึ่งสามารถวินิจฉัยทันทีด้วยตนเองที่บ้าน จากอาการสําคัญ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ซึ่งใช้ตัวย่อว่า BE FAST คือ

B - Balance สูญเสียการทรงตัว
E - Eyes ตามืด
F - Face หน้าเบี้ยว
A - Arm แขนอ่อนแรง ยกไม่ขึ้น
S - Speech พูดไม่ชัด
T - Time เตือนว่าต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็ว

 

การจัดการโรคอัมพาตเฉียบพลัน

เมื่อวินิจฉัยโรคอัมพาตเฉียบพลันด้วยตัวเองด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 อย่าง คือ เสียการทรงตัว ตามีต หน้าเบี้ยว แขนอ่อนแรง พูดไม่ชัด ขั้นตอนต่อไปคือการรีบไปโรงพยาบาล ทั้งนี้มีประเด็นสําคัญว่า

  • ต้องรีบ โดยนับเวลากันเป็นนาที ไม่ใช่เป็นชั่วโมง เพราะยิ่งลงมือรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดได้เร็วเท่าไร ยิ่งได้ผลดีมากเท่านั้น หากไปถึงโรงพยาบาลช้ากว่า 3-4 ชั่วโมง การรักษาจะไม่ได้ ผลดี และมีภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกสูง
  • ต้องมุ่งไปโรงพยาบาลทีมีขีดความสามารถตรวจสมองด้วยอุโมงค์คอมพิวเตอร์ (CT) ได้ เพราะการจะฉีดยาละลายลิ่มเลือดได้ ต้องตรวจ CT ฉุกเฉินเพื่อวินิจฉัยแยกภาวะเลือดออกในสมองก่อน ดังนั้นอย่าเสียเวลาไปโรงพยาบาลที่ไม่สามารถตรวจ CT สมอง
  • กรณีที่ไม่สะดวกที่จะไปโรงพยาบาลเอง ให้โทรศัพท์เรียกรถฉุกเฉินที่หมายเลข 1669 โดยแจ้งเป็น 9 ลําดับ ดังนี้
  1. ตั้งสติ โทร. 1669
  2. แจ้งว่ามีคนเป็นอัมพาตเฉียบพลัน โดยบอกอาการสําคัญ
  3. แจ้งที่อยู่และถนน ตรอก ซอย ที่จะเดินทางเข้ามารับอย่างละเอียด
  4. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง เพศ อายุ อาการ จํานวนผู้ป่วย
  5. บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย (หมดสติหรือไม่)
  6. บอกความเสี่ยงที่จะเกิดเรื่องซ้ําเติม เช่น กําลังขับรถ เป็นต้น
  7. บอกชื่อและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับของผู้แจ้งเหตุ
  8. ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นตามคําแนะนํา
  9. รอรถฉุกเฉินมารับ

 

อนึ่ง ประชาชนทั่วไปที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ควรดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน EMS 1669 ลงมาไว้ใน โทรศัพท์มือถือตัวเอง เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น เพียงแค่กดปุ่มเรียกรถในแอปพลิเคชัน รถพยาบาลของ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติก็จะวิ่งมาตาม Location ที่ใช้โทรศัพท์อยู่นั้นได้ทันที เป็นการประหยัดเวลาค้นหาสถานที่

 

การฟื้นฟูหลังการเป็นอัมพาต

  ความรู้ใหม่เรื่องนิวโรพลาสติกซิตี (Neuroplasticity) ซึ่งยืนยันว่าสมองส่วนที่เซลล์สมองตาย ไปแล้ว ร่างกายสามารถซ่อมแซมกลับมาได้ด้วยการให้เซลล์ดีๆ ข้างๆ งอกหน่อหรือกิ่งก้านกันใหม่ (Neurogenesis) แล้วไปเชื่อมต่อกัน (Rewiring) แทนเซลล์เก่า นี่เป็นความรู้ใหม่ที่แตกต่างจากความรู้เดิมที่วงการแพทย์เคยเชื่อกันว่าเซลล์สมองเป็นเซลล์ประเภทตายแล้วตายเลยไม่มีอะไหล่ ดังนั้นหลังเกิดอัมพาต ไม่ว่าจะรุนแรงเพียงใด สามารถฟื้นฟูให้กลับมาได้ ระดับหนึ่งทั้งสิ้น

การนําความรู้นี้มาประยุกต์ใช้สําหรับการฟื้นฟู หลังอัมพาต มีประเด็นสําคัญ 2 ประเด็น

ประเด็นที่ 1 การขยันทําซ้ำๆ การจะเกิดการเชื่อมต่อเซลล์ขึ้นใหม่นั้นต้องอาศัยการพยายามฝึก พยายามฝืนใช้ร่างกายส่วนที่เป็นอัมพาต โดยต้องพยายามทํามันบ่อยๆ ทําทักษะนั้นซ้ำๆ ซากๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทําทุกลมหายใจเข้าออกที่ใช้ชีวิตประจําวันอยู่ ทําเป็นหมื่นๆ ครั้ง การจะสร้าง การเชื่อมต่อใหม่ในสมองจึงจะได้ผลการรอไปทํากายภาพบําบัดที่โรงพยาบาลครั้งละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เท่านั้นไม่พอ ต้องขยันทําการฟื้นฟูตัวเองที่บ้านอย่างจริงจังทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา จึงจะได้ผล

ประเด็นที่ 2 การทําเอง อย่าหวังพึ่งคนอื่นหรือนักกายภาพบําบัด ผู้ป่วยต้องทําเอง ยกตัวอย่าง ง่ายๆ ช่วงหลังเป็นอัมพาตใหม่ๆ ขณะที่แขนขาข้างหนึ่งตายสนิท ผู้ป่วยต้องการการออกกําลังกายแบบ ธํารงพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ (Range of motion: ROM) หมายถึง การพยายามทําให้ข้อข้างที่เป็นอัมพาตซึ่งนิ่งสนิทไปแล้วมีการเคลื่อนไหวได้เต็มวงสวิงหรือเต็มพิสัยที่มันเคยเคลื่อนไหวได้ เพราะถ้า มันไม่ได้ขยับ นานไปข้อจะติด และหมดโอกาสที่จะขยับได้เป็นการถาวร ถ้าแขนหรือขานั้นมันพอขยับได้บ้าง วิธีที่ดีที่สุดคือเจ้าตัวตั้งใจพยายามขยับมันให้มากขึ้นๆ (Active ROM: AROM) แต่ถ้าหลังอัมพาตใหม่ๆ แขนหรือขานั้นเป็นอัมพาตไปแล้วสิ้นเชิง กระดิกกระเดี้ยเองไม่ได้เลย ที่ทําทั่วไปคืออาศัย นักกายภาพบําบัดจับโยก (Passive ROM: PROM) แต่เวลาที่นักกายภาพจะมาจับโยกให้เราเป็นเวลาที่น้อยนิดเหลือเกิน มันไม่พอที่ให้สมองได้เรียนรู้และสร้างการเชื่อมต่อใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ครั้นจะอาศัย คนอื่นเขาก็ล้วนมีทัศนคติว่าฉันไม่ใช่นักกายภาพ ฉันไม่ใช่หมอ ฉันไม่กล้าทํา ผู้ป่วยจึงต้องทําเอง โดยจับแขนขาข้างดีของตัวเองมัดไว้กับข้างไม่ดีให้มันช่วยพากันไป เรียกว่าวิธีออกกําลังกายแบบ Self-passive ROM (SPROM) ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ได้ผลดีที่สุด

(ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ และพญ.พิจิกา วัชราภิชาต, 2566, “Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี สุขภาพดีได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง”, หน้า 227-229)

 

หากต้องการหา ศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง KIN สนใจสอบถาม

สามารถติดต่อ KIN Rehabilitation & Homecare ศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองของเราได้ตามช่องทางด้านล่าง

 

 
 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab