เข่าโก่งผิดรูป ภัยจากโรคกระดูก ที่ไม่ควรมองข้าม!!

เข่าโก่งผิดรูป รักษาได้ ไม่ทรมานอีกต่อไป...

   

    เข่าโก่ง นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในสังคมไทย สาเหตุหลักส่วนใหญ่เกิดเนื่องมาจากการเสื่อมของกระดูกและข้อของร่างกายโดยเฉพาะที่ตำแหน่งบริเวณข้อเข่า สาเหตุที่ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่ปล่อยให้เกิดอาการจนเกิดการผิดรูปของข้อเข่าเพราะความกลัวต่อการผ่าตัดรักษา กลัวว่าหลังการผ่าตัดแล้วจะเดินไม่ได้ บางครั้งได้ยิน มาจากเพื่อนบ้านว่าอย่าไปผ่าตัดแก้ไขเลยเดี๋ยวผ่าเสร็จกลับมาก็เดินไม่ได้ ส่วนใหญ่โรคข้อเข่าเสื่อม ถ้านั่งอยู่ไม่ได้ เดินลงน้ำหนักผู้ป่วยมักจะไม่มีความเจ็บปวด อาการปวดส่วนใหญ่มักจะเกิดในช่วงขณะที่เดิน ถ้าขาโก่งมาก ๆ จะทำให้ผู้ป่วยเดินลำบาก เดินเซ มีโอกาสหกล้มได้บ่อยขึ้นเพราะสมดุลการทรงตัวของร่างกายเสียไป ทำให้มีโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักจากการล้มเพิ่มมากขึ้น 

    สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะเบื้องต้นนั้นสามารถให้การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลีกเลี่ยงการนั่งคุกเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ การลดน้ำหนักของร่างกายอย่างน้อยประมาณร้อยละ 5 ของน้ำหนักปัจจุบัน การหลีกเลี่ยงการยกของหนัก รวมทั้งการใช้ยาลดปวด ยาลดอักเสบ การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่าเพื่อลดการอักเสบและอาการปวด ซึ่งได้ผลดีในโรคข้อเข่าเสื่อมระยะเบื้องต้น ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมานานจนทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตลอดเวลาในขณะที่เดินลงน้ำหนัก หรือเดินขึ้นบันได ร่วมกับอาการของข้อเข่าที่ผิดรูป มีข้อเข่าโก่ง หรือข้อเข่าฉิ่งมาก จนมีผลต่อการเดินและสมดุลของร่างกาย และเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของอาการปวดหลัง ร่วมกับอาการปวดร้าวลงตะโพก หรือต้นขา เพราะการที่ผู้ป่วยมีขาโก่งมาก ๆ ทำให้เวลาเดินผู้ป่วยจะเดินตัวเอียง ยิ่งทำให้กระดูกสันหลังมีการเสื่อมมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลัง ในบางครั้งทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทร่วมด้วยจึงมีอาการปวดร้าวลงตะโพกและขา เมื่อมีอาการปวดเข่า และขาโก่งผิดรูปมากแล้ว การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนับว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อแก้ไขความผิดปกติ 

     ในปัจจุบันการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้าใจ การผ่าตัดเปลี่ยน  ข้อเข่าเทียม คือการผ่าตัดเอาส่วนของผิวกระดูกบริเวณข้อเข่าที่ไม่ดีออก รวมทั้งกระดูกงอกส่วนเกินที่เกิดจากกระบวนการเสื่อม มีการตัดแต่งกระดูกเพื่อแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้น แล้วใช้วัสดุโลหะข้อเข่าเทียมครอบกระดูกในส่วนที่ตัดแต่งแล้ว วัตถุประสงค์ในการผ่าตัดรักษาข้อเข่าเสื่อมเพื่อให้ผู้ป่วยมีข้อเข่าที่สามารถกลับมาใช้งานได้เหมือนปกติ แก้ไขการผิดรูปของข้อเข่า และที่สำคัญคือแก้ปัญหาเรื่องอาการปวดข้อเข่าเรื้อรัง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น สามารถเคลื่อนไหว และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นสุข นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยเดินได้เป็นปกติ ไม่เซ ลดความเสี่ยงต่อการล้มที่จะเป็นสาเหตุ ของกระดูกตะโพกหัก และข้อเข่าเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานตลอดไป 

     เนื่องจากการพัฒนาทั้งในเรื่องของการดูแลเรื่องอาการปวดหลังผ่าตัดโดยแพทย์วิสัญญีที่จะช่วยควบคุม อาการปวดหลังผ่าตัดโดยการวางสายเพื่อให้ยาชาและยาแก้ปวดไว้ที่ตำแหน่งช่องว่างในโพรงกระดูกสันหลัง หรือในตำแหน่งของเส้นประสาทที่บริเวณต้นขา เพื่อให้มีการปลดปล่อยยาชาและยาแก้ปวดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมอาการปวดหลังผ่าตัด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการปวด และสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าข้างที่ผ่าตัดได้เร็วยิ่งขึ้น และสามารถเดินลงน้ำหนักได้ ภายใน 2 วันหลังการผ่าตัด ทำให้ผลการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการผ่าตัดได้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก และลดความทุกข์ทรมาน จากอาการปวดให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างดี นอกจากนี้วิธีการนี้ยังช่วยลดผลข้างเคียงจากการให้ยาแก้ปวดมอร์ฟีน เข้าทางเส้นเลือดที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะได้มาก 

   สำหรับเทคนิคการผ่าตัดนั้นขนาดของแผลผ่าตัดไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการลดอาการปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด ในบางครั้งการผ่าตัดด้วยขนาดแผลที่เล็กมาก จะทำให้มีการดึงรั้งของแผลมากยิ่งขึ้น ทำให้เนื้อเยื่ออ่อนรอบ ๆ บริเวณที่ผ่าตัดมีการบาดเจ็บมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดมากหลังการผ่าตัด การผ่าตัดด้วยแผลปกติจะช่วยให้แพทย์ผู้ผ่าตัดสามารถแก้ไขการผิดรูปของข้อเข่า และวางตำแหน่งของข้อเทียมได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

 

แหล่งที่มา : https://d.dailynews.co.th/article/256719

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 

สำหรับใครที่สนใจ หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมในการรักษาฟื้นฟูกับ KIN
สามารถติดต่อได้ที่  
 โทร : 02-096-4996 กด 1 , 091-803-3071 , 095-884-2233
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab