ยกแขนไม่ขึ้น ขยับแขนไม่ได้ สัญญาณของข้อไหล่ติด !

ยกแขนไม่ขึ้น ขยับแขนไม่ได้ สัญญาณของข้อไหล่ติด !

“ ข้อไหล่ ” เป็นข้อต่อที่สำคัญของร่างกาย ข้อไหล่ประกอบด้วย กระดูกหัวไหล่ (Humerus) และกระดูกหัวไหล่ (Glenoid) ลักษณะทางกายภาพคล้ายกับลูกกอล์ฟบนแท่น ความมั่นคงของข้อไหล่จึงต้องอาศัยเยื้อหุ้มข้อไหล่ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อโดยรอบเพื่อให้สามารถขยับได้ตามต้องการ

 

ข้อไหล่ติดคืออะไร ?
ภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ และมีการขยับข้อไหล่ได้น้อยลง เช่น ไม่สามารถยกไหล่ได้สุดหรือไขว้หลังได้สุด และถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเป็นมากขึ้นจนขยับได้น้อยลง หรือไม่สามารถขยับได้เลย พบได้ประมาณ 2-3% ในช่วงอายุ 40-60 ปี และเกิดกับผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย

 

4 อาการเบื้องต้นของภาวะข้อไหล่ติด

  1. มีอาการเจ็บ หรือปวดขณะยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ
  2. มีอาการเจ็บ หรือปวดในขณะเคลื่อนไหวหัวไหล่
  3. มีอาการเจ็บ หรือปวดเอื้อมมือไปรูดซิปข้างหลัง ใส่เสื้อผ้าลำบาก
  4. มีอาการปวดตอนกลางคืน

สาเหตุของภาวะข้อไหล่ยึดติด
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบ และหนาตัวของเยื้อหุ้มข้อเป็นผังผืด ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง มักเกิดจากการทำงานหนัก และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การใช้งานซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เช่น การนั่งพิมพ์งานเป็นระยะเวลานาน หรือท่าทางที่เคลื่อนไหวข้อไหล่ซ้ำๆ ก่อให้เกิดการเสียดสี และอักเสบของเอ็น และกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ ในผู้สูงอายุจะมักมีอาการเสื่อมจากการใช้งานมากเกินไป

 

ระยะของภาวะข้อไหล่ติด แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะปวด Freezing (ระยะการปวดจะอยู่ที่ 2 - 9 เดือน)

ควรรักษาด้วยการกินยาแก้ปวด หรือทำกายภาพบำบัดที่ถูกวิธี ไม่ควรใช้วิธีการนวด เพราะอาจจะทำให้มีการบาดเจ็บหรืออักเสบเพิ่มมากขึ้น

  1. ระยะติดแข็ง Frozen (ระยะเวลาปวดจะอยู่ที่ 4 - 12 เดือน)
    รักษาโดยการทำกายภาพบำบัด การยืดกล้ามเนื้อ และการออกำลังกาย
  2. ระยะฟื้นตัว Thaming (ระยะเวลาปวดจะอยู่ที่ 5 เดือน - 2 ปี )
    รักษาโดยการทำกายภาพบำบัด ออกกำลังกาย และดัดไหล่ภายใต้ยาสลบการผ่าตัด (หากไม่ดีขึ้นภายใน 4 - 6 เดือน)

การรักษาภาวะข้อไหล่ติด
ปัจจุบันมีการรักษาได้หลายวิธี ทั้งการใช้ยาต้านการอักเสบ การผ่าตัด หรือแม้แต่การรักษาด้วยกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด และการขยับดัดดึงข้อไหล่ รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อรักษาช่วงการเคลื่อนไหว (Range of motion)

อาการปวด เน้นลดอาการปวดโดยการทานยาลดปวด ลดอักเสบ

ระยะข้อยึดติด เน้นเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว ท่าทางการบริหาร

วิธีแนะนำ : คือให้พบนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจ และประเมินอาการเพื่อวางแผน และให้แนวทางการรักษาตามระยะของโรค จะช่วยทำให้อาการเป็นปกติเร็วขึ้น

 

การดูแลตัวเองที่บ้าน
- ประคบเย็น
- ประคบร้อน
- ออกกำลังกายข้อไหล่
- ยืดกล้ามเนื้อข้อไหล่
- ไม่นอนทับข้างที่มีอาการปวด

สอบถามข้อมูล
และจองคิว Kin Wellness

 

 
KIN Wellness
เวชศาสตร์ชะลอวัยและความงาม โรคเข่าข้อ จิตบำบัด แพทย์แผนจีน กายภาพบำบัด
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 8 อาคาร T3 Residence ปากซอยนาคนิวาส 20 ลาดพร้าว 71 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
แผนที่เดินทาง : https://shorturl.asia/IvCJR
 
 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab