พรรคนี้เสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม

พรรคนี้เสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม

กายหยาบอยู่ออฟฟิศ กายทิพย์อยู่ KIN คลินิกกายภาพ

 

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

   โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง สามารถรักษาหายได้ ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่ากาย

 

สาเหตุหลักของโรคออฟฟิศซินโดรม
คือการใช้งานกล้ามเนื้องและข้อต่อที่ผิดไปจากภาวะปกติ เกิดจากการทำงานในพื้นที่จำกัดและขาดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ได้แก่
  1. นั่งไขว่ห้าง
  2. นั่งหลังงอ หลังค่อม
  3. นั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น
  4. ยืนแอ่นพุง/ยืนหลังค่อม
  5. สะพานกระเป๋าหนักข้างเดียว

 

พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม
ได้แก่ ความเครียด ทานอาหารไม่ตรงเวลา ทำงานหนักเกินไป และไม่ออกกำลังกาย

 

อาการที่พบได้บ่อยในออฟฟิศซินโดรม
  1. กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง
  2. เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ/ยกแขนไม่ขึ้น
  3. อาการปวด/ชาร้าวลงแขน
  4. ยืนแอ่นพุง/ยืนหลังค่อม

 

โรคออฟฟิศซินโดรมรักษาได้อย่างไร
ปัจจุบันการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีต่างๆ นั้นเป็นเพียงการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด เป็นการรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบหรือรักษาพังผืดในกล้ามเนื้อ ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ ที่จะมาบั่นทอนคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร

 

วิธีการรักษา ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

  1. การรักษาด้วยตัวเอง
    • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ควรนั่งติดกันเป็นเวลานาน ปรับเปลี่ยนท่านั่งให้เหมาะสม
    • การยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
    • การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง
  2. การรักษาทางกายภาพบำบัด
    • การรักษาทางกายภาพบำบัด
    • การรักษามือนักกายภาพบำบัด (Manual Technique)
    การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น
       • 
    อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)
       • การกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical stimulation)
       • เลเซอร์ (Laser)
       • คลื่นกระแทก (Shock wave)
       • คลื่นสั้น (Short wave)

การออกกำลังกายเพื่อการรักษา (Therapeutic exercise)
การรับคำแนะนำอื่นๆ เช่น การยืดกล้ามเนื้อ การปรับเปลี่ยนท่านั่งให้เหมาะสม การลดการทำงานของกล้ามเนื้อที่ไม่จำเป็น

3. แนวทางการรักษาทางด้านอื่น ๆ เช่น การนวด การฝังเข็ม การรับประทานยา
การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกของโรคนี้
เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ควรที่จะต้อง
  • ปรับที่พฤติกรรมการทำงาน ให้มีเวลาพัก
  • ปรับและจัดท่าทางการทำงานให้เหมาะสม
  • ยืดกล้ามเนื้อ
  • ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ฝึกผ่อนคลายความเครียด

สอบถามข้อมูล
และจองคิวกายภาพบำบัด

 

 
KIN Clinic คลินิกกายภาพบำบัด
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 8 อาคาร T3 Residence ปากซอยนาคนิวาส 20 ลาดพร้าว 71 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
แผนที่เดินทาง : https://shorturl.asia/IvCJR
 
KIN Origin Healthcare
สาขา Sukhumvit 107
 
สาขา Ramintra

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab