ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมองนั้นมีอะไรบ้าง?
1. อายุ
อายุมากขึ้นก็จะมีภาวะเสื่อมของเซลล์ตามร่างกายต่าง ๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดเกิดการเสื่อมอายุ เมื่อเส้นเลือดแข็งตัวจะทำให้เกิดการตีบ และตันได้
2. โรคประจำตัวอื่น ๆ ที่พบได้บ่อย
เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูงทำให้ไขมันไปพอกปูนในหลอดเลือด หรือผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัว หรือทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบ แคบลง สุดท้ายเส้นเลือดเกิดการตีบทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง
3. โรคอื่น ๆ
เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การทานยาบางชนิด การเกิดความเครียด สิ่งเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองได้
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
- บริเวณแขนขาชา อ่อนแรง หรือใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งชา
- เวียนศรีษะ เดินเซ การทรงตัวไม่ดี
- มีอาการสับสน มีภาวะพูดลำบาก
- ตามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนทันทีทันใด
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีภาวะกลืนลำบาก ปากเบี้ยว
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
1.การบำบัดด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (Transcranial Magnetic Stimulation) ในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรง หรือมีการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งชนิดหลอดเลือดสมองตีบ และแตกได้
2.การฝึกโดยกายภาพบำบัด เนื่องจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไม่สามารถควบคุมการทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกายได้ วิธีการทางกายภาพบำบัดก็จะมีวิธีการรักษา ดังนี้
- การจัดท่าทางในการนอน การนั่งทำกิจกรรมที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมให้การทำงานของกล้ามเนื้อและการรับรู้ความรู้สึกของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ การยึดติดของข้อต่อ ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ
- การออกกำลังกายเฉพาะส่วน จะช่วยปรับความตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงปกติ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความทนทานในการออกกำลังกายได้นานขึ้น และส่งเสริมให้มีรูปแบบการคลื่อนไหวที่ปกติ
- การฝึกการทรงตัวจะช่วยให้สามารถทำกิจกรรมในท่านั่ง ยืน หรือเปลี่ยนท่าต่างๆได้อย่างมั่นคง และลดความเสี่ยงในการหกล้มได้ เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่ความสามารถในการควบคุมและการรับรู้ความรู้สึกลำตัว แขนขาด้านใดด้านหนึ่งจะลดลง
การฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
โปรแกรมหลังการรักษาจะมุ่งไปที่การฟื้นฟูร่างกาย เพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมองจะขึ้นอยู่กับบริเวณเนื้อเยื่อสมองที่เสียหาย หากสมองส่วนขวาได้รับผลกระทบ จะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและความรู้สึกกับร่างกายฝั่งซ้าย และเช่นเดียวกันหากสมองส่วนซ้ายได้รับผลกระทบ จะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและความรู้สึกกับร่างกายฝั่งขวา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการพูด และความเข้าใจ
โดยการรักษาจะมุ่งไปที่การฟื้นฟูร่างกาย เพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพ การตรวจการกลืนอาหาร อรรถบำบัดมักจะใช้ในโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ขอขอบคุณข้อมูล : พญ.หทัยรัตน์ ผดุงกิจ , น.อ.นพ.อุดม สุทธิพนไพศาล ร.น.
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id