4 สาเหตุหลักของการปวดคอ
- กระดูกต้นคอเสื่อม เป็นผลจากอายุที่เพิ่มขึ้น และการใช้งานหนักในบางอาชีพ
- การบาดเจ็บที่บริเวณคอ เช่น กระดูกคอหัก, หมอนรองกระดูกเคลื่อน, เอ็น และกล้ามเนื้อรอบข้อต่ออักเสบ
- จากการการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้อ เช่น รูมาตอยด์
- อิริยาบถที่ผิดสุขลักษณะ เช่น นอนผิดท่า, ท่าทางการทำงานที่ต้องก้มเงยบ่อยๆ หรือใช้กล้ามเนื้อคอมาก, ขับรถนาน เป็นต้น
อาการที่พบ
- มีอาการปวดตื้อที่ศีรษะ หรือท้ายทอย
- ปวดคอ อาจเป็นร่วมกับการปวดร้าวลงบ่า หัวไหล่ แขน สะบัก
- มีอาการชาที่แขน หรือที่นิ้วมือ และอาจพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนร่วมด้วย
- คอเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าปกติ และมีอาการเจ็บร่วมด้วย
- บางครั้งอาจพบจุดกดเจ็บที่กล้ามเนื้อต้นคอ และบ่า
เมื่อมีอาการปวดคอต้องทำอย่างไร
- การรักษาด้วยยาเพื่อลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด
- การรักษาทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการรักษาด้วยยา
- การประคบด้วยความร้อน หรือเย็นบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอที่ปวด
- การรักษาโดยใช้เครื่องมือที่ทำให้เกิดความร้อนลึก เช่น Ultrasound, Shortwave Diathermy
- การดึงคอ เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาทคอ และลดอาการเกร็งของต้นคอ
- การบริหารคออย่างถูกวิธี และเหมาะกับสภาพของอาการที่เป็น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการปวดคอ
- ไม่นอนหมอนสูงเกินไป
- ไม่สะบัดคอแรงๆ เพื่อแก้ความเมื่อย
- ไม่เกร็งคอทำงานในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
- จัดอุปกรณ์ในการทำงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ ให้เหมาะสมกับลักษณะรูปร่างของคนทำงาน ไม่สูง หรือต่ำเกินไป
หากปวดคอลักษณะนี้ ต้องรีบปรึกษาแพทย์ด่วน
หากอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดเรื้อรัง ถ้าอาการปวดมาจากกล้ามเนื้อจะไม่ค่อยก่อปัญหาอะไรมากนัก แต่เมื่อใดก็ตามที่อาการปวดรุนแรงมากขึ้น เหตุหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระดูกต้นคอเสื่อม แล้วเคลื่อนไปทับเส้นประสาท หรือไขสันหลัง อาการปวดชนิดนี้นับว่าเป็นอันตราย
การรักษาอาการปวดต้นคอได้อย่างไร
1. ทำกายภาพบำบัดและการนวด ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรงจนขยับคอลำบาก อาจต้องกระตุ้นกล้ามเนื้อโดยการประคบร้อน ประคบเย็น และการดึงคอ รวมถึงการบีบนวดที่ถูกวิธีก็ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อคอได้ นอกจากนี้ควรฝึกบริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดเรื้อรังด้วย
2. ใช้ยาบรรเทาอาการปวด โดยแพทย์จะให้ยาจากการประเมินจากความรุนแรงของอาการเป็นหลัก หากมีอาการปวดต้นคอไม่รุนแรงมาก อาจบรรเทาได้ด้วยการทานยาพาราเซตามอล แต่หากอาการปวดนั้นมีสาเหตุจากการอักเสบรุนแรง แพทย์อาจให้ยาลดการอักเสบร่วมด้วย อย่างไรก็ตามการรับประทานยาควรทานตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
3. ใส่เฝือกคอ เมื่อวินิจฉัยแล้วอาการปวดคอ จำเป็นต้องได้รับการดูแล ไม่ควรขยับคอมาก แพทย์จะแนะนำให้ใส่เฝือกเพื่อเป็นการช่วยพยุงคอ การใส่เฝือกคอชั่วคราวจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน
4. การผ่าตัด เป็นวิธีที่มีความเสี่ยง และจะใช้รักษาในผู้ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง เนื่องจากกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีอาการปวด คอ บ่า หรือไหล่ เป็นเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าอาการปวดคอดังกล่าวมีสาเหตุมาจากสาเหตุใด เพราะส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าอาการที่เป็นรุนแรงมากน้อยแค่ไหน บางรายอาจถึงขั้นเป็นหมอนรองกระดูกกดทับไขสันหลัง บางครั้งมาพบแพทย์เมื่อสาย ตอนที่โรคทวีความรุนแรงขึ้น เช่นมีอาการ เสียการทรงตัว หรืออาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย ควบคุมความสมดุลของร่างกายไม่ดี หกล้มง่าย หรือใช้มือทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้ เพราะควบคุมความละเอียดของกล้ามเนื้อไม่ได้ เป็นต้น จึงไม่อยากให้ประวิงเวลาในการมาพบแพทย์ เพราะคิดว่าอาการปวดคอที่เป็นๆ หายๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อันตรายอะไร แล้วรอจนเป็นมากแล้วถึงมาพบแพทย์ อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาได้
ขอขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
คอร์ส Office Syndrome ปวดคอ บ่า ไหล่
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id