ปวดคอ คอตึงขณะทำงาน รักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด
คอ ประกอบไปด้วยกระดูกคอ 7 ชั้นเรียงต่อกัน หมอนรองกระดูก เอ็นยึดระหว่างกระดูก เส้นประสาท และกล้ามเนื้ออาการปวดคอเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานจากกิจวัตรประจำวัน และการทำงานทำให้มีการเคลื่อนไหวในส่วนของคอมาก อาจทำให้มีอาการปวดคอ โดยเฉพาะผู้ที่นั่งทำงานในสำนักงาน หรือออฟฟิศนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มือพิมพ์แป้นพิมพ์ต่อเนื่องหลายชั่วโมง การนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ซึ่งถ้าดูแลรักษาและปฏิบัติตนไม่ถูกวิธี จะทำให้อาการปวดคอรุนแรงมากขึ้น
   ลักษณะอาการปวดคอที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์บ่อยมาก อาจปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดเรื้อรัง ถ้าอาการปวดมาจากกล้ามเนื้อ จะไม่ค่อยก่อปัญหาอะไรมาก แต่ถ้าปวดรุนแรงมากเพราะหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระดูกต้นคอเสื่อมแล้วเคลื่อนไปทับเส้นประสาท หรือไขสันหลัง อาการปวดชนิดนี้  ถือว่าเป็นอันตราย

4 สาเหตุหลักของการปวดคอ

  1. กระดูกต้นคอเสื่อม เป็นผลจากอายุที่เพิ่มขึ้น และการใช้งานหนักในบางอาชีพ
  2. การบาดเจ็บที่บริเวณคอ เช่น กระดูกคอหัก, หมอนรองกระดูกเคลื่อน, เอ็น และกล้ามเนื้อรอบข้อต่ออักเสบ
  3. จากการการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้อ เช่น รูมาตอยด์
  4. อิริยาบถที่ผิดสุขลักษณะ เช่น นอนผิดท่า, ท่าทางการทำงานที่ต้องก้มเงยบ่อยๆ หรือใช้กล้ามเนื้อคอมาก, ขับรถนาน เป็นต้น

อาการที่พบ

  • มีอาการปวดตื้อที่ศีรษะ หรือท้ายทอย
  • ปวดคอ อาจเป็นร่วมกับการปวดร้าวลงบ่า หัวไหล่ แขน สะบัก
  • มีอาการชาที่แขน หรือที่นิ้วมือ และอาจพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนร่วมด้วย
  • คอเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าปกติ และมีอาการเจ็บร่วมด้วย
  • บางครั้งอาจพบจุดกดเจ็บที่กล้ามเนื้อต้นคอ และบ่า

 

เมื่อมีอาการปวดคอต้องทำอย่างไร
  • การรักษาด้วยยาเพื่อลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด
  • การรักษาทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการรักษาด้วยยา
  • การประคบด้วยความร้อน หรือเย็นบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอที่ปวด
  • การรักษาโดยใช้เครื่องมือที่ทำให้เกิดความร้อนลึก เช่น Ultrasound, Shortwave Diathermy
  • การดึงคอ เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาทคอ และลดอาการเกร็งของต้นคอ
  • การบริหารคออย่างถูกวิธี และเหมาะกับสภาพของอาการที่เป็น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ
 

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการปวดคอ

  • ไม่นอนหมอนสูงเกินไป
  • ไม่สะบัดคอแรงๆ เพื่อแก้ความเมื่อย
  • ไม่เกร็งคอทำงานในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
  • จัดอุปกรณ์ในการทำงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ ให้เหมาะสมกับลักษณะรูปร่างของคนทำงาน ไม่สูง หรือต่ำเกินไป

หากปวดคอลักษณะนี้ ต้องรีบปรึกษาแพทย์ด่วน
หากอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดเรื้อรัง ถ้าอาการปวดมาจากกล้ามเนื้อจะไม่ค่อยก่อปัญหาอะไรมากนัก แต่เมื่อใดก็ตามที่อาการปวดรุนแรงมากขึ้น เหตุหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระดูกต้นคอเสื่อม แล้วเคลื่อนไปทับเส้นประสาท หรือไขสันหลัง อาการปวดชนิดนี้นับว่าเป็นอันตราย

การรักษาอาการปวดต้นคอได้อย่างไร

1. ทำกายภาพบำบัดและการนวด ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรงจนขยับคอลำบาก อาจต้องกระตุ้นกล้ามเนื้อโดยการประคบร้อน ประคบเย็น และการดึงคอ รวมถึงการบีบนวดที่ถูกวิธีก็ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อคอได้ นอกจากนี้ควรฝึกบริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดเรื้อรังด้วย

2. ใช้ยาบรรเทาอาการปวด โดยแพทย์จะให้ยาจากการประเมินจากความรุนแรงของอาการเป็นหลัก หากมีอาการปวดต้นคอไม่รุนแรงมาก อาจบรรเทาได้ด้วยการทานยาพาราเซตามอล แต่หากอาการปวดนั้นมีสาเหตุจากการอักเสบรุนแรง แพทย์อาจให้ยาลดการอักเสบร่วมด้วย อย่างไรก็ตามการรับประทานยาควรทานตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

3. ใส่เฝือกคอ  เมื่อวินิจฉัยแล้วอาการปวดคอ จำเป็นต้องได้รับการดูแล ไม่ควรขยับคอมาก แพทย์จะแนะนำให้ใส่เฝือกเพื่อเป็นการช่วยพยุงคอ การใส่เฝือกคอชั่วคราวจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน

4. การผ่าตัด เป็นวิธีที่มีความเสี่ยง และจะใช้รักษาในผู้ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง เนื่องจากกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้ว

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีอาการปวด คอ บ่า หรือไหล่ เป็นเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าอาการปวดคอดังกล่าวมีสาเหตุมาจากสาเหตุใด เพราะส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าอาการที่เป็นรุนแรงมากน้อยแค่ไหน บางรายอาจถึงขั้นเป็นหมอนรองกระดูกกดทับไขสันหลัง บางครั้งมาพบแพทย์เมื่อสาย ตอนที่โรคทวีความรุนแรงขึ้น เช่นมีอาการ เสียการทรงตัว หรืออาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย ควบคุมความสมดุลของร่างกายไม่ดี หกล้มง่าย หรือใช้มือทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้ เพราะควบคุมความละเอียดของกล้ามเนื้อไม่ได้ เป็นต้น จึงไม่อยากให้ประวิงเวลาในการมาพบแพทย์ เพราะคิดว่าอาการปวดคอที่เป็นๆ หายๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อันตรายอะไร แล้วรอจนเป็นมากแล้วถึงมาพบแพทย์ อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาได้

ขอขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน

 

คอร์ส Office Syndrome ปวดคอ บ่า ไหล่ 

 
 - ตรวจ antigen 1 ครั้ง 
 - ตรวจ ประเมินทางกายภาพบำบัดครั้งแรก 300 บาท
 - Shockwave  1500 ช็อค / Laser 10 นาที (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
 - Ultrasound 10 นาที
 - Hot pack / แผ่นเย็น 10 นาที
 - Execise program 10 นาที
 
รายครั้ง 1,500 - 2,000 บาท
คอร์ส 5 ครั้ง แถม 1 ครั้ง  6,000 บาท
ระยะเวลาใช้คอร์ส 6 เดือน

 

KIN Clinic คลินิกกายภาพบำบัด
โทร 084-993-6988 / 02-020-1171
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
แผนที่เดินทาง : shorturl.at/gknEH
 
KIN Origin Healthcare
สาขา Sukhumvit 107
 
สาขา Ramintra
 
 
 
 
แผนที่ kin
KIN Clinic กายภาพบำบัด 
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 8 อาคาร T3 Residence ปากซอยนาคนิวาส 20 ลาดพร้าว 71 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
 
KIN Clinic กายภาพบำบัด ด้านหน้า
KIN Clinic กายภาพบำบัด เคาน์เตอร์ตอนรับ
คิน คลีนิคกายภาพบำบัด นาคนิวาส 20 เคาน์เตอร์ตอนรับ
kin คลีนิคกายภาพบำบัด ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
KIN Clinic กายภาพบำบัด นาคนิวาส 20 วัดอุณหภูมิ
คิน คลีนิคกายภาพบำบัด ปวดคอ บ่า ไหล่
KIN Clinic กายภาพบำบัด นาคนิวาส 20
คิน คลีนิคกายภาพบำบัด
 
 
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab