เรารู้อะไรบ้างกับ โอไมครอน (Omicron)?

สายพันธุ์โอไมครอนยังน่ากังวลอยู่หรือไม่? 

นักวิชาการทั้งในและต่างประเทศหลายท่านออกมาให้ความเห็นว่าสายพันธุ์โอไมครอนไม่น่ากังวลอย่างที่คิด ถึงแม้จะมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง แต่อาการของผู้ติดเชื้อไม่รุนแรง แต่นักวิชาการบางท่านเห็นว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุป เพราะการระบาดในช่วงแรกเกิดขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง การเสียชีวิตมักเกิดขึ้น 2-3 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ และพื้นที่นั้นอาจเคยมีภูมิคุ้มกันจากการระบาดก่อนหน้าหรือการฉีดวัคซีนมาก่อน

สหราชอาณาจักรเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เริ่มพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มขึ้น ล่าสุด วันที่ 10 ธันวาคม 2564 มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ 448 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเป็น 1,265 ราย แต่ต้องหมายเหตุว่าเป็นจำนวน ‘ผู้ติดเชื้อยืนยัน’ (Confirmed Case) ซึ่งได้รับการยืนยันด้วยการตรวจสายพันธุ์แล้วเท่านั้น ในขณะที่ยังมีผู้ที่เชื้อที่ไม่ได้ตรวจหาสายพันธุ์อีกจำนวนหนึ่ง ทำให้ยอด ‘ผู้ติดเชื้อจริง’ ในสหราชอาณาจักรน่าจะสูงมากกว่านี้

(10 ธันวาคม) สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UKHSA) ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอนว่า ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคของอังกฤษ ซึ่งประเมินจากการตรวจหาสายพันธุ์และการตรวจไม่พบยีนสไปค์ (S-gene target failure: SGTF) ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของสายพันธุ์โอไมครอนได้ นอกจากนี้ยังตรวจพบสายพันธุ์โอไมครอนในระบบน้ำทิ้ง แสดงว่ามีการระบาดในชุมชนแล้ว

ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติของสายพันธุ์โอไมครอน มีดังนี้

  • การแพร่เชื้อ: ความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในครอบครัว (Household transmission) เพิ่มขึ้นเป็น 3.2 เท่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตา อัตราการติดเชื้อในผู้สัมผัส (Secondary attack rate) เพิ่มขึ้นเป็น 2.1 เท่า โดยเฉพาะผู้สัมผัสในครอบครัว มีอัตราการติดเชื้อ 21.6% ในขณะที่สายพันธุ์เดลตามีอัตราการติดเชื้อเพียง 10.7% 
  • ความรุนแรง: ปัจจุบันยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อที่รักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต แต่มีข้อควรระวังในการแปลผลคือผู้ติดเชื้อได้รับการวินิจฉัยเร็วและการดำเนินโรคมีช่วงเวลาระหว่างการติดเชื้อและการรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต ส่วนโอกาสติดเชื้อซ้ำในผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนเพิ่มขึ้น 3-8 เท่า
  • ประสิทธิผลของวัคซีน: ข้อมูลจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนยับยั้งไวรัสลดลง 20-40 เท่า ในขณะที่สายพันธุ์เดลตายับยั้งได้ลดลงอย่างน้อย 10 เท่า แต่ภูมิคุ้มกันจะสารถยับยั้งได้มากขึ้นเมื่อฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด mRNA 
  • นอกจากนี้ยังมีข้อมูลประสิทธิผลจริงของวัคซีนในการ ‘ป้องกันการติดเชื้อ’ พบว่า วัคซีน AstraZeneca 2 เข็มมีประสิทธิผล 0% ส่วนวัคซีน Pfizer 2 เข็มมีประสิทธิผลประมาณ 30% แต่การฉีดวัคซีน Pfizer เข็มที่ 3 มีประสิทธิผลระหว่าง 70-75% ไม่ว่าวัคซีน 2 เข็มแรกจะเป็นยี่ห้อ AstraZeneca หรือ Pfizer ก็ตาม

 

ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คิดเป็น 0.35 เท่าต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก 3 วัน UKHSA คาดการณ์ว่าด้วยอัตราการเพิ่มขึ้นนี้จะทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อใกล้เคียงสายพันธุ์เดลตาในช่วงกลางเดือนธันวาคม สายพันธุ์โอไมครอนยังน่ากังวลอยู่หรือไม่? เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่ระหว่างนี้การเตรียมความพร้อมเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะการฉีดวัคซีน 2 เข็มแรกสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน และแผนการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในปีหน้า

ที่มาข้อมูล : TheStandard

KIN Clinic คลินิกกายภาพบำบัด
 โทร 084-993-6988 / 02-020-1171
line LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
 แผนที่เดินทาง : shorturl.at/gknEH
 
Kin Origin Healthcare
สาขา Sukhumvit 107
 
สาขา Ramintra
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
 
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab