ดวงตากับผักและผลไม้บำรุง

ดวงตากับผักและผลไม้บำรุง

โรคที่ทำให้การมองเห็นของผู้คนเสื่อมลง คือ โรคจอประสาทตาเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุ (age-related macular degeneration) หรือโรค AMD ที่เป็นสาเหตุหลักของการตาบอดและความบกพร่องทางสายตาอย่างรุนแรงและถาวร สาเหตุอื่นที่พบบ่อยคือ สายตายาวตามอายุ ต้อกระจก ต้อหิน และเบาหวานขึ้นจอตา

โรคตาที่มีหลักฐานพิสูจน์ว่าวิตามินในอาหารการกินพอช่วยป้องกันได้ คือ โรคจอประสาทตาเสื่อม AMD ส่วนปัญหาสายตายาวสั้นหรือเอียงนั้น ไม่ต้องไปร้านอาหาร ตรงไปร้านตัดแว่นเลยดีกว่าจ้ะ

คนไม่ได้เป็นโรค AMD หรือแค่เกือบจะเป็น หรือเป็นโรคอ่อนๆ การกินวิตามินหรือสังกะสีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (แบบเม็ดเสริมที่กินนอกเหนือจากการกินอาหารตามปกติ) นั้น ไม่มีประโยชน์เพิ่ม เพราะประโยชน์จะเกิดกับคนกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น คนที่เป็นโรคนี้ในระดับกลางๆอยู่เดิม เพื่อช่วยลดระดับความเสี่ยงของการลุกลามให้โรคนี้ไม่เป็นหนักขึ้น [1] คือก่อนกินควรให้แพทย์วินิจฉัยโรคก่อน

ตัวอย่างเช่น เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีรอยโรคที่เห็นได้ที่จอประสาทตา (รอยขนาดกลางหรือใหญ่หรือมีการฝ่อให้เห็นในตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง) จึงจะให้การรักษาโดยให้กินวิตามินเป็นยาทุกวัน เช่นด้วยสูตร AREDS2 (ประกอบด้วยวิตามินซี 500 มก. วิตามินอี 400 หน่วยสากล ลูทีน 10 มก. ซีแซนทีน 2 มก. สังกะสีออกไซด์ 80 มก. และทองแดงแบบ cupric oxide 2 มก.) อันเป็นคำแนะนำที่เป็นผลจากการศึกษาวิจัย [1] และ “ไม่ใช่คำแนะนำสำหรับคนทั่วไป และไม่ใช่สำหรับคนเป็นโรค AMD แบบอ่อนๆด้วยซ้ำ” ขอย้ำ!! คือต้องมีระดับหนึ่งของการเป็นโรคจึงคุ้มกินคุ้มเสี่ยง

เพราะการกินวิตามิน ‘แบบไม่รู้จุดเหมาะสม’ ก็มีอันตรายได้ด้วย!! ตัวอย่างจากสูตร AREDS1 (สูตรแรกก่อนสูตร 2) ที่มี ‘เบต้าแคโรทีน’ ผสมอยู่ ต่อมาพบว่า มีผลทำให้ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น แต่ถ้าในผู้ไม่สูบ ก็อาจกินสูตรดั้งเดิมที่มี เบต้าแคโรทีน ได้ เป็นต้น

“อาหารที่ดีต่อสุขภาพสายตา (มักสีส้มเหลืองเขียว)”

ในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรค AMD ไม่ควรไปซื้อยาเม็ดวิตามินมากินเพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดของโรคนี้

อย่างไรก็ตาม ด้วยประโยชน์ด้านสุขภาพอื่นๆที่เห็นชัดเจน ทุกคนที่มีลูกตาควรกินอาหารธรรมชาติที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ‘ผลไม้ ผักใบเขียว ปลา และถั่ว’ โดยเฉพาะพวกที่มีแคโรทีนอยด์ ลูทีน ซีแซนทีน และสังกะสีสูง [1] รวมทั้งที่มีสารอื่นๆ เช่น วิตามินเอ ซี อี โอเมก้า และไนเตรท เป็นประจำ เพราะวิตามินสดย่อมอร่อยและพิษภัยน้อยกว่าพวกวิตามินเม็ดสังเคราะห์อย่างแน่นอน

วิตามินเอ

๐ ฝรั่งมักบอกว่าแครอทเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับดวงตา คนไทยมักบอกให้กินผักบุ้งจะได้ตาหวาน

๐ รูปแบบ preformed (เรตินอล) มักได้จากสัตว์ เช่น ตับ ไต ไข่แดง เนย

๐ รูปแบบ provitamin (เบต้าแคโรทีน) มักได้จากพืช เช่น ผักใบเขียว มันเทศ แครอท

๐ แหล่งอื่นๆ เช่น เนื้อวัว กุ้ง ปลา นมเสริมวิตามินเอ ฟักทอง ผักโขม มะม่วงวิตามินซี

๐ ผลไม้สด เช่น ฝรั่ง มะนาว บร็อคโคลี่ พริกหวาน ผักโขม สตรอเบอร์รี่ มะเขือเทศ กะหล่ำดาววิตามินอี

๐ น้ำมันพืช ผักใบเขียว ธัญพืช ถั่วต่างๆโอเมก้า

๐ กินปลา โดยเฉพาะปลาทะเลที่มีไขมันมาก รวมถึงกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โอเมก้า 3 และ 6ลูทีน

๐ มีเยอะในผักโขม กินดิบ (แบบสด) จะได้ปริมาณลูทีนสูงสุดเมื่อเทียบกับเอาไปทอดต้มและนึ่ง

๐ กินผักโขมแบบปั่นหรือในคั้นน้ำผลไม้ (พวกน้ำปั่นสมู้ตตี้) จะช่วยปล่อยลูทีนจากใบมากขึ้น ดังนั้น ให้หั่นเป็นเส้นๆเมื่อจะเพิ่มผักโขมลงในสลัดหรือแซนด์วิช ไนเตรท

๐ มีในผักใบเขียวและหัวบีท

๐ การศึกษาเชิงสังเกต ค.ศ. 2018 พบว่าลดความเสี่ยงของการเป็นโรค AMD ระยะเริ่มแรกลงได้

การวิจัยเชิงพฤติกรรมการกินของคนอายุ 49 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 2,000 คน ในช่วง 15 ปี และเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยโรค AMD ในกลุ่ม พบว่า คนที่กินผักมีไนเตรท 100-142 มก. ต่อวัน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค AMD ระยะเริ่มต้นลงได้ 35% เทียบกับคนที่กินผักมีไนเตรท < 69มก. ต่อวัน แต่ถ้ากินผักมากถึงจุดหนึ่ง เช่น > 142 มก. ต่อวัน ก็ไม่มีประโยชน์อันใดเพิ่ม [3]

แปลก!! ที่การกินผลไม้ ผลิตภัณฑ์นม เนื้อวัว และเนื้อไก่ ที่มีไนเตรทอยู่ด้วยนั้น กลับไม่พบว่าจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค AMD ลงได้ในทำนองเดียวกันกับการกิน ‘ผักใบเขียว’ นี้

ไนเตรทเป็นสารตั้งต้นของไนตริกออกไซด์ในร่างกาย ที่จะถูกปล่อยจากเซลล์บุหลอดเลือดเล็กๆในลูกตา เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังจอตา (เรตินา) อันจะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรค AMD ได้

หากจำกันได้ ยาไวอะกร้าได้ช่วยให้ร่างกายของผู้ใช้มีสารไนตริกออกไซด์เพิ่มขึ้น จึงมีเลือดไปหล่อเลี้ยงเพื่อทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวและแก้ไขภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ อย่างไรก็ตาม บทความนี้ ขอให้ท่านให้ความสำคัญกับการกินผักใบเขียวเพียงเพื่อให้สายตาดีขึ้นได้ก่อนเป็นสำคัญ

ในขณะที่ยังไม่มีวิธีรักษาโรค AMD นักวิจัยเชื่อว่าผู้สูงวัยสามารถป้องกันโรคนี้ได้ โดยการเพิ่มผักใบเขียวที่มีไนเตรทสูงลงไปในอาหาร ผักอื่นๆที่มีผลการศึกษา ได้แก่ ผักกาดหอม ผักคะน้า ผักคึ่นช่าย และกะหล่ำปลี

ดูข้อมูลเพิ่มเติม
 
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 โทร 091-803-3071 / 02-020-1171 / 095-884-2233
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab