เรื่องนักจิตวิทยา
สำหรับนักจิตวิทยานั้นก็จะเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือจิตใจผู้ป่วยในเรื่องของอาการหรือว่าการยอมรับทางด้านจิตใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
ก็จะใช้วิธีการคือพูดคุยสื่อสารแล้วก็ทำจิตบำบัดทางจิตวิทยาการให้คำปรึกษา
โดยก็เราก็จะเข้าไปหาผู้ป่วยแล้วก็ทำการสื่อสารแล้วก็ทราบว่าผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านจิตใจยังไง
ผู้ป่วยก็จะอธิบายหรือว่าเล่าเรื่องหรือระบายให้เราฟังและเราก็จะร่วมกันช่วยกันจัดการด้วยกัน
ภาวะทางด้านจิตใจอารมณ์และพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองที่พบบ่อย
1 ความเครียด
ความเครียดนี้ก็จะเกิดจากเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบในตัวเราแล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองเนี่ยเหตุการณ์ที่สำคัญคือที่เข้ามาก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย เขาก็อาจจะมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือว่าอาจจะพูดจาหรือว่าสื่อสารอาจจะได้ไม่ชัดเจน สิ่งเหล่านี้เนี่ยก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความเครียด ซึ่งความเครียดต่อการที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเนี่ยนอนไม่หลับ มีอาการหงุดหงิด บางคนก็จะมีความก้าวร้าว ดังนั้นเราอาจจะต้องเข้าใจด้วยว่าเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบมันมีความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเขาเช่นกัน
2 ความวิตกกังวล
ผู้ป่วยก็จะมีความคิดหรือว่าความคิดซ้ำ ในเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือว่าความคิดในเรื่องของอดีต เช่นในเรื่องอดีตที่ตัวเองสามารถที่จะเคลื่อนไหวตัวเองได้ตัวเองเคยแข็งแรง สามารถดูแลตัวเองได้ ส่วนความคิดในเรื่องของอนาคตก็จะเป็นเรื่องของเมื่อไหร่ตัวเองจะสามารถกลับมามีความปกติได้เหมือนเดิม แล้วก็มีร่างกายที่แข็งแรงสิ่งต่างๆเหล่านี้ในก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเนี่ยนอนไม่หลับหรือว่ามีความวิตกกังวลจนไม่สามารถทานอาหารได้แล้วก็อาจจะส่งผลต่ออารมณ์ในอนาคตซึ่งสิ่งไม่ว่าจากความเครียดและความวิตกกังวลนี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยยังไม่สามารถที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นคืนได้
3 ภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้านี้เกิดจากการที่สมองของผู้ป่วยเนี่ยอาจจะได้รับการกระทบกระเทือนหรือรอยโรคในสมองนั้นจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยหลังสารเคมีบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยมีผลต่อด้านอารมณ์ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการร้องไห้ตลอดเวลาหรือว่ามีอาการนอนไม่หลับเบื่อหน่ายซึมเศร้าและไม่อยากจะทำอะไร สิ่งเหล่านี้เนี่ยจะเป็นช่วงที่ผู้ป่วยเนี่ยเป็นใหม่ๆก็จะมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยคือยังไม่สามารถที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงของตัวเองตรงนี้ขึ้นได้ แล้วก็เป็นเรื่องของภาวะทางด้านสมองด้วย
4 การปรับตัว
ทางด้านจิตใจและอารมณ์ของการปรับตัวนี้มันก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน การปรับตัวของผู้ป่วยแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ก็ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพส่วนตัวแล้วก็ตัวบุคคลของผู้ป่วยเองว่าสามารถเผชิญปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นหรือว่าสิ่งที่เข้ามากระทบในชีวิตเขาได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนปัจจัยอื่นที่จะมาส่งผลต่อการปรับตัวของผู้ป่วยอีกก็คือเป็นเรื่องของสภาพแวดล้อม อย่างสภาพแวดล้อมในก็จะเป็นเรื่องของผู้ดูแลหรือว่าญาติผู้ป่วยก็ต้องจะส่งผลต่อการปรับตัวของผู้ป่วยด้วย รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ก็จะมีส่วนสำคัญในการที่จะให้ผู้ป่วยเนี่ยเข้าใจเรื่องของการปรับตัวของตัวเองด้วยเช่นกัน
หน้าที่หลักของนักจิตวิทยา
1. ความเข้าใจในเรื่องของโรค
โรคที่เราได้เผชิญหน้าอยู่ตรงนี้เนี่ยมันเป็นยังไงและผู้ป่วยในมีความเข้าใจเกี่ยวข้องกับโลกของตัวเองแค่ไหน เพื่อที่จะให้เขาเนี่ยได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองเป็นนั้นเขาจะพัฒนาหรือว่าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน เมื่อผู้ป่วยเข้าใจ เริ่มต้นตั้งเป้าหมายอาจจะเป็นการตั้งเป้าหมายร่วมกันกับผู้รักษาในการตั้งเป้าหมายระยะสั้นๆก่อน เช่นผู้ป่วยสามารถที่จะเคลื่อนไหวตัวเองในในบนเตียงได้ยังไงบ้าง หรือว่าถ้าทางด้านจิตใจเนี่ยผู้ป่วยก็อาจจะตั้งเป้าหมายสั้นๆเช่นวันนี้อาจจะมีเป้าหมายในชีวิตยังไงในช่วงสัปดาห์นี้เป็นต้น
2. การปรับปรุงและพัฒนา
เรื่องของการปรับปรุงและพัฒนาร่วมกัน เป็นเรื่องที่จะต้องมีการคุยกันระหว่างสหวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นผู้ดูแลนก็จะเป็นแพทย์พยาบาลนักกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดนักจิตวิทยา ว่ามีเป้าหมายในการวางแผนรักษาร่วมกันยังไงกับผู้ป่วยและบุคคลที่สำคัญบุคคลหนึ่งก็จะเป็นญาติผู้ป่วยหรือว่าผู้ดูแลที่จะให้เข้าใจว่าเรามีทิศทางในการพัฒนาและร่วมกันยังไงแล้วก็ผู้ป่วยจะมีศักยภาพทางด้านร่างกายแค่ไหนแล้วก็สภาพทางด้านจิตใจแค่ไหน
3 การเผชิญหน้า การเข้าสู่สังคม
เมื่อเขาพัฒนาและปรับปรุงตัวเองมาในระดับที่เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เข้าไปสู่สังคมแล้วเนี่ยเขาจะต้องพัฒนาทางด้านการเข้าหาและการสื่อสารกับบุคคลอื่น รวมทั้งการเคลื่อนไหวต่างๆที่จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น บางครั้งในผู้ป่วยอาจจะต้องใช้เครื่องช่วยพยุงช่วยเดินอย่างนี้
เมื่อเราเข้าใจกระบวนการทางด้านจิตใจและอารมณ์ผู้ป่วยแล้วเราก็ต้องเข้าใจเรื่องกระบวนการรักษาและการฟื้นฟูต่อไป เพื่อพัฒนาให้ผู้ป่วยมีศักยภาพที่จะสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงหรือว่าปกติมาก
สิ่งสำคัญผู้ป่วยอาจจะต้องเดินทางร่วมมือกันกับทุกๆฝ่ายโดยโดยสำคัญที่สุดคือญาติและผู้ดูแลผู้ป่วย อาจจะต้องคอยใส่ใจแล้วก็ตรวจสอบทั้งด้านร่างกายและจิตใจผู้ป่วยหากมีความผิดปกติหรือต้องการคำปรึกษาหรือว่าต้องการให้ผู้บุคลากรทางการแพทย์ช่วยเหลือเนี่ยอาจจะต้องเข้ามารับการปรึกษาหรือว่าทำการบำบัดร่วมด้วย
บริการใหม่
จิตบำบัด จิตวิทยาการปรึกษา
ปรึกษาทุกปัญหา
ภาวะเครียด ซึมเศร้า เบื่อหน่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ
ปัญหาสารเสพติด ความผิดทางอารมณ์ ภาวะหมดไฟการทำงาน
ปัญหาขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาบุคลิกภาพ ปัญหาด้านความจำ
บริการออนไลน์ ทุกวัน
ผ่าน Line : 0917139578 หรือ Tel. 0917139578
นักจิตวิทยาประจำศูนย์ KIN ทุกวันพุธ เวลา 09.00-18.00 น.
สามารถจองคิวล่วงหน้าได้ที่ Line : @kin.rehab
ลด 50 %
สำหรับออนไลน์ จาก 1,500 บาท เหลือ 750 บาท
สำหรับบริการที่คลินิก จาก 2,000 บาท เหลือ 999 บาท
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
ปรึกษาแพทย์ โทร 065-594-2989 โทรสอบถาม 091-803-3071 / 02-020-1171 / 095-884-2233
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
Pinterest : https://www.pinterest.com/kinrehabilitation
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Website : https://www.kinrehab.com
Tags