ตำแหน่งที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง

ตำแหน่งที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง

  1. สมองใหญ่ (Cerebrum) อยู่ด้านบนสุดและมีขนาดใหญ่สุด แบ่งได้เป็น 5 ส่วน

      1.1 สมองใหญ่ส่วนหน้า (Frontal lobe) ทำหน้าที่สั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวโดยสมองข้างขวาสั่งให้ร่างกายซีกซ้ายเคลื่อนไหว และสมองข้างซ้ายสั่งให้ร่างกายซีกขวาเคลื่อนไหว ถ้าสมองส่วนนี้หรือเส้นประสาทที่ส่งต่อเนื่องไปยังร่างกายเสียหายหรือหยุดทำงาน ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงด้านตรงข้ามรวมทั้งใบหน้าด้านตรงข้ามจะเบี้ยวไปด้วย ถ้าเป็นมาก ขยับไม่ได้เลย เรียกว่า อัมพาตครึ่งซีก ถ้าพอขยับหรือยกแขนขาได้เรียกว่า อัมพฤกษ์ นอกจากนี้มีส่วนของการสั่งให้พูด (Broca area) อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้าข้างซ้าย (เป็นสมองข้างที่เด่นซึ่งในคนมักเป็นข้างซ้าย) ถ้าสมองส่วนนี้เสียไปผู้ป่วยพูดไม่ได้หรือถ้าเป็นไม่มาก ผู้ป่วยอาจพูดได้บางคำและพูดต่อเป็นประโยคไม่ได้
1.2 สมองใหญ่ส่วนข้าง (Parietal lobe) มีหน้าที่รับรู้การสัมผัส การเจ็บร้อนเย็น จากร่างกายซีกด้านตรงข้าม ถ้าผิดปกติจะมีการชาด้านตรงข้ามกับสมองที่มีปัญหา
1.3 สมองใหญ่ส่วนขมับ (Temporal lobe) มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับความจำ แต่มีส่วนที่สำคัญจุดหนึ่งทำหน้าที่แปลเสียงที่ได้ยิน เป็นภาษาและต้องอยู่ในสมองข้างที่เด่น (ข้างซ้าย) ถ้าสมองส่วนนี้เสีย ผู้ป่วยจะไม่เข้าใจเสียงที่ได้ยินว่าแปลว่าอะไร ทั้งที่เป็นภาษาไทยที่เคยรู้มาก่อน
1.4 สมองใหญ่ส่วนท้ายทอย (Occipital lobe) มีหน้าที่สำคัญคือการรับภาพที่ส่งมาทางตา ถ้าสมองส่วนนี้เสีย ผู้ป่วยจะมองไม่เห็นครึ่งซีกของลานสายตาของแต่ละตา ถ้าทดสอบโดยการผิดตา เมื่อเปิดตาพร้อมกันสองข้างผู้ป่วยจะมองไม่เห็นครึ่งซีกด้านตรงข้ามกับสมองที่เสีย
1.5 สมองใหญ่ส่วนใน (Insular lobe) มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมประสาทอัตโนมัติ ไม่มีความสำคัญในเรื่องของโรคหลอดเลือดสมอง

  1. แกนสมอง (Brain stem) เป็นส่วนของสมองที่สายใยประสาทจากสมองลงมาไขสันหลังและจากไขสันหลังขึ้นไปยังสมอง และควบคุมการทำงานของเส้นประสาทสมองจำนวน 12 คู่
    นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานการทรงตัวกับสมองเล็ก ถ้ามีความผิดปกติ มีการอ่อนแรงของแขนขา การชา เห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัด เดินเซ กินแล้วสำลัก เวียนศรีษะบ้านหมุน
    ถ้าเป็นมากอาจหมดสติโดยไม่รู้ตัว
  2. สมองเล็ก (Cerebellum) อยู่ด้านหลังสุดทำหน้าที่ประสานสมองส่วนต่างๆ ทำงานสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะด้านการเคลื่อนไหว ถ้าสมองส่วนนี้เสียการทำหน้าที่ จะทำให้มีอาการเวียนศรีษะบ้านหมุน เดินเซ ทรงตัวไม่ได้ พูดไม่ชัด แต่ไม่มีอาการอ่อนแรง

                   

ตำแหน่งของเนื้อสมอง

 

ตำแหน่งของหลอดเลือดสมอง

Middle Cerebral Artery (MCA)

  • สมองใหญ่ส่วนหน้า
  • สมองใหญ่ส่วนข้าง
  • สมองใหญ่ส่วนขมับ
  • Basal ganglion
  • Internal capsule
  • Thalamus 
  1. มีอาการอ่อนแรงด้านตรงข้าม บริเวณ ใบหน้า แขน ลำตัว และขา
  2. มีการสูญเสียความรู้สึกด้านตรงข้าม บริเวณ ใบหน้า แขน ลำตัว และขา
  3. ผู้ป่วยจะพูดได้ลำบาก พูดทวนคำไม่ได้ บอก ชื่อสิ่งของไม่ได้ แต่เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด 
  4. ผู้ป่วยพูดเองไม่ได้อ่านออกเสียงดัง หรือบอกชื่อวัตถุไม่ได้แต่ผู้ป่วยเข้าใจภาษาทุกอย่าง ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน รวมทั้งรู้จักสิ่งของแต่พูดไม่ออกหรือพูดได้บ้างแต่ทำเสียงสูงต่ำไม่ได้ หรือผู้ป่วยอาจพูดได้แต่ช้า10-15คำ/วินาที พูดสั้นๆได้แต่คำว่า ใช่ ไม่ใช่ และคำพูดที่ไม่ต้องกลั่นกรอง เช่น คำสบถ สาบาน คำหยาบ มักเกิดร่วมกับอัมพาตของใบหน้า อัมพาตครึ่งซีกมีอแพรกเซีย (apraxia เป็นความผิดปกติในการกระทำการเคลื่อนไหว ที่ซับซ้อนไม่สามารถทำได้ตามต้องการทั้งที่ผู้ป่วยเข้าใจคำสั่ง กล้ามเนื้อไม่อ่อนแรงการรับความรู้สึกเป็นปกติ )
  5. ผู้ป่วยจะไม่สามารถเข้าใจคำและประโยคทั้งการเขียนและการพูด ผู้ป่วยจะพูดได้คล่อง แต่ไม่เข้าใจคำพูดของตนเอง หรือไม่รู้ว่าตนเองพูดผิด สามารถพูดได้คล่องกว่าปกติ (Jargon aphasia) แต่ไม่มี ความหมายพูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์ และไม่เหมาะสม สามารถคัดลอกคำพูดหรือประโยคได้
  6. การมองเห็นภาพครึ่งซีก หมายถึง ภาวะที่ตาทั้งสองข้างเห็นภาพแหว่งครึ่งซีกไป โดยภาพที่หายไป จะถูกแบ่งโดยแกนในแนวตั้งกลางลําตัว และภาพจะแหว่งไปในด้านเดียวกันทั้งสองตา
  7. การเคลื่อนไหวของตาผิดไปจากแนวปกติ
  8. มีปัญหาการเดิน

 

Anterior Cerebral Artery (ACA)

  • สมองใหญ่ส่วนหน้า (ด้านใน)
  • สมองใหญ่ส่วนข้าง (ด้านใน)
  • สมองใหญ่ส่วนขมับ
  • Basal ganglion
  • Internal capsule
  • Thalamus
  1. มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อด้านตรงข้าม โดยขาอ่อนแรงกว่าแขน
  2. มีการสูญเสียการรับความรู้สึกด้านตรงข้าม โดยขาอ่อนแรงกว่าแขน
  3. มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะ
  4. การตอบสนองปฏิกิริยาสะท้อนด้วยการกำมือ
  5. สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว ภาวะที่ผู้ป่วยตื่นบางส่วนหรือตื่นรู้ตัวดี สามารถจดจําและคิดได้ทราบได้จากการที่ผู้ป่วย สามารถมาบอกเล่าภายหลังโดยผู้ป่วยไม่ สามารถ ขยับร่างกายและออกเสียงได้
  6. ความผิดปกติของทักษะทางระบบสั่งการ (Motor skill) ทำให้ไม่สามารถมีการเคลื่อนไหว หรือ ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยได้เรียนรู้หรือทำได้มาก่อน โดยไม่ได้เกิดจากการอ่อนแรง การเสียความรู้สึก
  7. ความไม่สามารถที่จะระบุวัตถุโดยการลูบคลำด้วยมืออย่างเดียว โดยไม่ใช้ความรู้สึกทางอื่น ๆ
  8. มีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อขา แบบควบคุมไม่ได้

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 

 

Posterior Cerebral Artery (PCA)

  • สมองส่วนท้ายทอย
  • สมองใหญ่ส่วนขมับ
  • แกนสมองส่วน (mid brain)
  • Optic radiation
  • เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3
  • Thalamus
  1. มีการสูญเสียการรับความรู้สึก
  2. chorea คือ การเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่อง ไม่เป็นจังหวะและไม่มีแบบแผนที่แน่นอน
  3. hemiballism คือ การเคลื่อนไหวที่คล้าย chorea แต่จะรุนแรงกว่า คล้ายการแกว่งของต้นแขนและต้นขา
  4. อาการปวดจะเกิดขึ้นเอง (spontaneous pain) โดยไม่ต้องมีตัวกระตุ้นหรือถ้ามีตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ปวด/ความรู้สึกสัมผัสที่ผิดปกติ
  5. มีอ่อนแรงด้านตรงข้าม และ มีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ความผิดปกติของเส้นประสาทสมองอาจทําให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อตาที่เลี้ยงด้วย เส้นประสาทสมองเส้นนั้นๆ หากลูกตาทั้งสองข้างไม่สามารถกลอกไปร่วมกันได้อย่างปกติ ผู้ป่วยจะมี อาการตามัวหรือเห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยตาสองข้างพร้อมกันได้ เส้นประสาทสมองคู่ที่สามหรือสี่ผิดปกติภาพซ้อนจะซ้อนกัน อยู่ในแนวตั้ง
  6. การมองเห็นภาพครึ่งซีก ด้านตรงข้าม
  7. การมองเห็นภาพครึ่งซีก ทั้งสองข้าง
  8. ภาวะสูญเสียความเข้าใจภาษาจากการอ่านและแยกสี

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab