Facebook Live “กายภาพบำบัด และ กิจกรรมบำบัดคืออะไร”
 
 “กายภาพบำบัด และ กิจกรรมบำบัดคืออะไร”
  จะมาพูดคุย “การแนะนำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดว่า คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร มีบทบาทในคนไข้กลุ่มไหนบ้าง”
  โดย  กบ. วริศรา นวประภากุล และ กภ. ธุวนนท์ ชาญกิจจา
 

นักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด

นักกายภาพบำบัด (Physical therapist) วิชาชีพกายภาพบำบัดเป็นสาขาวิชาหนึ่งในการแพทย์ปัจจุบันซึ่งทำการตรวจประเมิน วินิจฉัย และบำบัดความบกพร่องของร่างกายได้ซึ่งเกิดจากตัวโรคหรือเกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติรวมถึงการป้องกันการแก้ไขฟื้นฟูความเสื่อมของร่างกายด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดหรือว่าอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดโดยใช้วิธีตามหลักวิทยาศาสตร์

กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษากับนักกายภาพบำบัด ได้แก่

1 . กลุ่มกายภาพระบบกระดูกกล้ามเนื้อ
 
  • กลุ่มประเภท ออฟฟิศซินโดรม มีอาการปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดข้อมือ นั่งนาน ๆ ปวดหลัง สามารถมาพบนักกายภาพได้เพื่อแนะนำการลดอาการเป็นออฟฟิศซินโดรม
  • กลุ่มผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีความเสื่อมเพิ่มขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น อาจจะมีกระดูกพรุน มีข้อเข่าเสื่อม การพบนักกายภาพบำบัดสามารถปรึกษาเพื่อออกกำลังกาย เพื่อชะลอความเสื่อม ลดความเสี่ยง เพราะผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะล้มสูงเนื่องจากตัวกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงด้วย การพบนักกายภาพบำบัดส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ดีดั่งเดิม สามารถเข้าสังคมได้ ถ้าอายุมากขึ้นแต่ว่ายังทำกิจกรรมร่วมกับสังคมได้ก็สามารถทำให้Happyได้
  • กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดหรือกลุ่มผู้พิการ เช่นตัดขาไม่ว่าจะเป็นจากอุบัติเหตุ หรือจากเบาหวาน เริ่มจากการตัดขา ผู้พิการตัดขาต้องใช้ขาเทียมไม่ใช่ว่าตัดขาแล้วสามารถใส่ขาเทียมเดินได้เลยเราจะต้องมีการเตรียมพร้อมก่อน เตรียมตัวต่อขาให้สวยเพื่อที่จะใส่อุปกรณ์เทียมได้ เตรียมกล้ามเนื้อให้พร้อมสามารถใช้งานได้ นอกจากนั้นถ้าได้อุปกรณ์ถ้าได้อุปกรณ์เทียมมาแล้วก็ต้องฝึกเดินเพื่อให้คุ้นชินกับอุปกรณ์เทียม นั่นเป็นหน้าที่ของนักกายภาพบำบัดเหมือนกันนอกจากผ่าตัดผู้พิการแล้วก็ยังมีการผ่าตัดแบบเปลี่ยนหัวเข่า ผ่าปรับแต่งเอ็นกล้ามเนื้อ หัวไหล่ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกก็ต้องได้รับการฟื้นฟูเนื่องจากการผ่าตัดพวกนี้จะมีการผ่าตัดไปโดนกล้ามเนื้อบางจุดทำให้ต้องได้รับการฟื้นฟูด้วยเพื่อที่จะกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม
  • กลุ่มนักกีฬา นักกายภาพบำบัดมีส่วนร่วมทั้งก่อน-หลังของการแข่ง และ ระหว่างการแข่ง ก่อน-หลัง การแข่งนักกายภาพบำบัดสามารถเข้าไปรักษาเสริมสร้างป้องกันให้นักกีฬาไม่มีอาการบาดเจ็บได้ แล้วก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของนักกีฬาได้อีกด้วย เนื่องจากการซ้อมของนักกีฬาจะเป็นการซ้อมแบบซ้ำ ๆ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บได้ง่ายเพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรผิดปกติสักนิดเดียวแต่ว่าเกิดการทำซ้ำ ๆ ก็สามารถบาดเจ็บได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
2 . กายภาพบำบัดระบบประสาท (Neurological PT)
    ระบบประสาทคืออะไรบ้าง เช่น โรคหลอดเลือดสมองถ้ามีอาการเป็นแล้วอาจจะทำให้เกิดการอ่อนแรงครึ่งซีกทำให้การใช้ชีวิตประจำวันผิดปกติ อาจจะไม่สามารถนั่ง หรือ ทรงตัวได้เลย นักกายภาพบำบัดมีหน้าที่เข้าไปฝึกตรงนั้นว่าทำอย่างไรที่จะนั่ง ยืน เดิน ใช้ชีวิตประจำวันได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

กลุ่มต่อมาคือ ผู้พิการครึ่งท่อน โดยส่วนใหญ่จะเกิดที่ไขสันหลังไม่ว่าจะเป็นจากอุบัติเหตุหรือว่าจากโรคก็ได้เหมือนกันโดยที่เป้าหมายของกลุ่มระบบประสาทคือ การให้ผู้ป่วยสามารถกลับเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดีที่สุด มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

3 . กายภาพบำบัดในเด็ก (Pediatric PT)

    คือ เด็กที่อาจจะมีอาการพิการทางสมองทำให้พัฒนาการล่าช้าไม่ว่าจะเป็นออทิสติก หรือว่าเด็กที่พัฒนาล่าช้าเองไม่ได้เกิดจากโรคก็สามารถให้นักกายภาพบำบัดเข้าไปช่วยการกระตุ้นพัฒนาการได้

4 . กายภาพบำบัดระบบหายใจและหัว (Cardiopcl monary PT)

    เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคปอด หรือ ผู้ป่วยติดเตียงเพราะนักกายภาพบำบัดมีเทคนิคการเพิ่มการขยายตัวของทรวงอกหรือการขับเสมหะ ระบายเสมหะ ถ้าเป็นตัวอย่างเช่นในผู้ป่วยติดเตียง การนอนติดเตียงทำให้มีเสมหะคั่งค้างอยู่ในปอด ปกติเราจะสามารถขับออกมาได้เอง แต่ถ้าผู้ป่วยติดเตียงอาจจะไม่มีแรงมากพอก็สามารถช่วยขับเสมหะได้ ระบายเสมหะได้ เพราะการมีเสมหะคั่งค้างในปอดทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคปอดอักเสบได้ นอกจากนี้ระบบหายใจ หัวใจ ก็จะรวมถึงการฟื้นฟูหลังการผ่าตัดหัวใจ หลังจากที่ผ่าตัดเสร็จแล้วเราก็ต้องทำกายภาพบำบัดก่อนคือการฟื้นฟู ออกกำลังกาย ค่อย ๆ ปรับความหนักของกิจกรรมขึ้นไปก่อนที่จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ดั่งเดิม ซึ่งใช้เวลานานต่อให้ช่วงแรกอาจจะไม่นานกลับบ้านไปแล้วก็ยังต้องนัดพบนักกายภาพบำบัดอยู่เรื่อย ๆ เพื่อที่จะปรับตัวกิจกรรมต่อไปเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

5 . นักกายภาพบำบัดในคลินิกความงาม

เครื่องมือทางกายภาพบำบัดหลาย ๆ อย่าง สามารถใช้ในคลินิกความงามได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอัลตราซาวน์ เครื่องเลเซอร์ ที่สามารถใช้ลดอาการปวด บางอย่างขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของเครื่องทำให้ไปใช้ในทรีตเม้นท์ของหน้าได้

 

นักกิจกรรมบำบัด (Occupalional Therapist)

กิจกรรมบำบัดวิชาชีพทางการแพทย์แขนงหนึ่งโดยผู้ที่สามารถประกอบอาชีพนี้ได้จะต้องจบการศึกษาด้านกิจกรรมบำบัดมาโดยตรงหรือวิทยาศาสตร์บัณฑิต

กิจกรรมบำบัดคืออะไร ? ( Occpational therapy : OT )

ความหมายของกิจกรรมบำบัดคือการใช้กิจกรรมเป็นสื่อกลางในการบำบัดรักษาให้ผู้รับบริการสามารถกลับมาทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การเข้าสังคม การอาบน้ำ ทานข้าว หรือกิจวัตรประจำวันเป็นต้น

บทบาทและหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัด

นักกิจกรรมบำบัดจะทำงานกับผู้รับบริการหลัก ๆ 4 ประเภท ได้แก่

  1. ผู้สูงอายุ (ฝ่ายสูงอายุ)
  2. เด็ก
  3. ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
  4. ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและสังคม

ประเภทที่ 1 ผู้ที่ความบกพร่องทางร่างกาย

ประเภทผู้รับบริการในฝ่ายกาย คือ ผู้ป่วยโรคพาร์คินสัน ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมือ แขน และ โรครูมาตอยด์ หน้าที่นักกิจกรรมบำบัดในฝ่ายกาย คือ กระตุ้นการดูด การเคี้ยว การกลืน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่จะไม่สามารถกลืนได้ กลืนลำบาก มีการฝึกพูดเบื้องต้น ฝึกการทำงานของแขนและมือให้สามารถทำกิจวัตรประจำวัน ฝึกผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการรับรู้ การเข้าใจ ฝึกทักษะในการทำกิจวัตรประจำวันทั่วไป เช่น การใส่เสื้อผ้า ให้สามารถทำได้ด้วยตนเองให้มากที่สุด ดัดแปลงอุปกรณ์ช่วยและอุปกรณ์เสริมในการทำกิจวัตรมีการแนะนำและปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมตามความสามารถของผู้รับบริการ เช่น การปรับสภาพบ้านให้เหมาะสม

ประเภทที่ 2 ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต สังคม และอารมณ์

ประเภทผู้ป่วยที่รับบริการ

  • ผู้ป่วยจิตเภท (Schizoprenia)
  • ผู้ป่วยอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder)
  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Depressive disorder)
  • ผู้ป่วยหลงผิด (Delusion)
  • ผู้ป่วยติดยาเสพติด (Drug abuse)

หน้าที่นักกิจกรรมบำบัด การให้คำปรึกษาทางกิจกรรมบำบัด เช่น การจัดเวลาให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนติดยาเสพติอาจทำให้จัดเวลาไม่ถูกต้อง อาจจะไม่มีเวลาดูแลตัวเอง เช่น การอาบน้ำ ทานข้าว ทำให้ตารางกิจกรรมของผู้ป่วยหมดไป หรือไม่ถูกต้อง นักกิจกรรมบำบัดจะทำการฝึกทักษะ ปรับกิจกรรม ปรับพฤติกรรมในการดูแลตัวเองโดยบางคนอาจจะต้องไปทำงาน นักกิจกรรมบำบัดก็ทำหน้าที่ช่วยฝึกทักษะเมื่อจำเป็นต่อการกลับไปทำงาน ช่วยฝึกทักษะในการมรีส่วนร่วมกับสังคม นอกจากนี้ยังมีการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีความรับรู้ ความเข้าใจที่ผิดปกติไปทำให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้

ประเภทที่ 3 เด็ก (ฝ่ายเด็ก)

ประเภทของผู้ป่วยที่รับการบริการในฝ่ายเด็ก

  • เด็กคลอดก่อนกำหนด (Preterm baby)
  • เด็กสมาธิสั้น (ADHD)
  • เด็กออทิสทิก (ASD)
  • เด็กที่มีภาวะสมองพิการ ( CP)
  • เด็กที่มีภาวะเรียนรู้ช้า (LD)
  • เด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น (Blindness/Low vision)
  • เด็กที่บกพร่องทางการมองได้ยิน (Deafress)

บทบาทหน้าที่หน้าที่ของนักกิจกรมบำบัดในฝ่ายเด็ก

คัดกรองพัฒนาการเด็ก และกระตุ้นพัฒนาพัฒนาการของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า กระตุ้นทักษะการสื่อสาร ทักษะการปรับตัว และมีส่วนร่วมในสังคม ฝึกทักษะในการทำกิจวัตรประจำวัน เตรียมความพร้อมทักษะในการเรียนและการดัดแปลงอุปกรณ์ในการทำทำกิจวัตรประจำวัน

ประเภทที่ 4 ฝ่ายสูงอายุ

ประเภทผู้รับบริการในฝ่ายสูงอายุ ซึ่งพักอยู่ใน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

  • ผู้สูงอายุปกติทั่วไป นักกิจกรรมบำบัดจะทำหน้าที่ในการป้องกันสมองเสื่อม ป้องกันการหกล้ม วางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุ เป็นต้น
  • ผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

บทบาทและหน้าที่ในฝ่ายสูงอายุ

ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ฝึกทักษะในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รักษา หรือชดเชยความบกพร่องผู้ที่มีปัญหาด้านการรับรู้ ความคิด และความเข้าใจที่ผิดปกติ มีการปรับสภาพแวดล้อม เช่น สภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมและปลอดภัย จัดกลุ่มกิจกรรม เพื่อค้นหากิจกรรมที่เหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุ เวลาที่เราเกษียณอายุเราก็ต้องหากิจกรรมที่เราชอบหรือให้ความสนใจเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าหรือโรคต่าง ๆ ที่เกิดตามมาได้นักกิจกรรมบำบัดจะหากิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจและจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุ

เปรียบเทียบคร่าว ๆ ของความแตกต่างหรือความเหมือนของนักกายบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด

นักกายภาพบำบัด

เน้นการรักษาที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ หรือเคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์ทางการกายภาพบำบัดเช่น การเดิน การนั่ง การยกแขน เป็นต้น

นักกิจกรรมบำบัด

เน้นการรักษาในหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ความคิด ความเข้าใจ หรือจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม ผ่านกิจกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมมากกว่าการแก้ไขความพิการ

ดูข้อมูลเพิ่มเติม
 
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 ปรึกษา​แพทย์​ โทร​ 065-594-2989 โทรสอบถาม 091-803-3071 / 02-020-1171 
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab