จากการทดลองหนึ่ง ในปี 1992 โดย Hans Baumgartner, Pennsylvania State University นักศึกษาจำนวน 73 คน แต่ละคนได้รับโจทย์ให้ทำโดยไม่กำหนดเวลา
เพลงไหนที่ทำให้ผู้สูงอายุนึกถึงอดีตความทรงจำของตัวเองได้ มากที่สุด
ใน 73 คนที่สำรวจ มีเพียง 3 คนที่นึกไม่ออกว่ามีเพลงไหนที่ทำให้นึกถึงความทรงจำพิเศษ คนที่เหลือมีเพลงในความทรงจำหมด โดยจำแนกชนิดของความทรงจำได้ ดังนี้
- 64% นึกถึงความสัมพันธ์ในอดีตหรือปัจจุบัน ทั้งคนรักและเพื่อน (เช่นเดตครั้งแรก หรืองานปาร์ตี้ วาระพิเศษที่เกี่ยวกับเพื่อน)
- 26% ความรักปัจจุบัน
- 17% ความรักในอดีต
- 21% การใชัเวลากับเพื่อนฝูง
- 9% การท่องเที่ยว การเดินทาง
- 27% อื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ หรือคอนเสิร์ต การตายของคนในครอบครัว ความทรงจำวัยเด็ก ฯลฯ
ปี 2014 คณะนักวิจัยของภาควิชาจิตวิทยาที่ Washington University นำโดยศาสตราจารย์ Henry Roediger III อธิบายว่า เสียงเพลงนั้นประกอบด้วยจังหวะและเนื้อร้องที่มีการสัมผัสอักษร จึงทำงานร่วมกันในการช่วยกระตุ้นศักยภาพของสมองส่วนที่เรียกว่า "ฮิปโปแคมปัส" และเนื้อเยื้อสมองส่วนหน้าที่รับผิดชอบด้านการกระตุ้นและเรียบเรียงความทรงจำให้สามารถดึงความทรงจำต่างๆ ออกมาได้ง่ายขึ้น นั่นคือเหตุผลว่าทำไมบางครั้งเราจึงไม่สามารถเอ่ยปากร้องเพลงใดออกมาได้จนกว่าจะได้ยินจังหวะดนตรีเพลงนั้นขึ้นมาเสียก่อน
นักวิจัยชี้ว่าสมองส่วนที่ตอบสนองต่อเสียงเพลงนั้นวิวัฒนาการมาก่อนสมองส่วนที่เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ด้านภาษา และนักวิจัยหลายคนยังเชื่อว่ามนุษย์พัฒนาเสียงเพลง ดนตรี และการเต้นรำขึ้นมาเพื่อช่วยในการดึงข้อมูลบางอย่างออกจากความทรงจำ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยของศาสตราจารย์ David Rubin แห่งมหาวิทยาลัย Duke ที่ชี้ว่า วรรณกรรมสำคัญของโลก เช่น มหากาพย์ Iliad และ Odyssey รวมทั้งนิยายพื้นบ้านหลายประเทศ ถูกถ่ายทอดต่อๆ กันมาโดยใช้วิธีบอกเล่าผ่านบทกวีที่มีสัมผัสสระอักษร และจังหวะเหมือนเสียงเพลง เพื่อให้สามารถถ่ายทอดผ่านยุคสมัยต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ
ศาสตราจารย์ Henry Roediger III สรุปว่า มนุษย์สามารถฝึกฝนพัฒนาสมองให้สามารถจดจำสิ่งต่างๆ และเรียกความทรงจำได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการเรียนรู้ที่จะจดจำสิ่งต่างๆเป็นจังหวะดนตรี นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเด็กเล็กในอเมริกาแทบทุกคนจึงต้องถูกฝึกฝนให้จดจำอักษรภาษาอังกฤษเป็นจังหวะดนตรี









