การนอนหลับเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ความสําคัญของการนอนหลับ

 

การนอนหลับเป็นแก้วสารพัดนึกด้านสุขภาพ เพราะการขาด การนอนหลับที่พอเพียงทําให้ป่วยเป็นโรคได้ทุกระบบอวัยวะ เป็นโรค ได้กว้างขวาง ทั้งมะเร็ง การติดเชื้อ โรคจิตประสาท รวมทั้งทําให้ตายก่อนวัยอันควรและตายกะทันหันได้ด้วย


1. งานวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการนอนหลับกับระบบภูมิคุ้มกันโรคพบว่า การนอนหลับ ที่ไม่พอเพียงทําให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคเสียการทํางาน ซึ่งมีผลมาก และมีผลทันที งานวิจัยให้อดนอน 4 ชั่วโมง เพียง 1 คืน พบว่า ทําให้จํานวนและการทํางานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Natural killer (NK) cell ลดลงไปถึง 70% NK cell นี้เป็นกําลังสําคัญของระบบภูมิคุ้มกันโรคประเภทคุ้มกันได้ทันที (Innate immunity) หากระบบนี้ทํางานได้น้อยลงจะทําให้ติดเชื้อง่ายและเป็นมะเร็งง่าย งานวิจัยเปรียบเทียบการเติบโตและแพร่กระจายของมะเร็งในหนูพบว่าหนูที่อดนอนมีอัตรา เติบโตของก้อนมะเร็งเพิ่มขึ้น 200% และเกิดมะเร็งแพร่กระจายเร็วขึ้น ข้อมูลในคนบ่งชี้ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการนอนไม่หลับกับการเป็นมะเร็งลําไส้มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็ง เต้านมมากขึ้นองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การทํางานเป็นกะ เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง


2. การนอนหลับช่วยให้สมองเรียนรู้จดจําได้ดีขึ้น งาน วิจัยพบว่า หากอดนอน ทั้งก่อนและหลังการเรียนรู้จะลดลง 40% งานวิจัยเลื่อนเวลาเปิดโรงเรียนตอนเช้าให้ช้าลง 1 ชั่วโมง ที่รัฐมินนิโซตาพบว่า ทําให้เด็กมีการเรียนรู้ที่วัดโดยคะแนนสอบดีขึ้น มีพฤติกรรมที่วัดโดยอัตราการลงโทษทางวินัยดีขึ้น มีสุขภาพจิต ที่วัดโดยการส่งต่อไปรักษากับจิตแพทย์และนักจิตบําบัดลดลง และมีอัตราตายจากอุบัติเหตุบนถนนลดลง

3. การนอนไม่หลับมีผลต่อฮอร์โมนและพลังชีวิต งานวิจัยให้อดนอนพบว่า ฮอร์โมนเพศชายในเลือดลดลงไปเหลือระดับเท่าผู้มีอายุมากกว่า 10 ปี


4. การอดนอนเป็นตัวกระตุ้นการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทุกปีที่มีการขยายเวลา กลางวัน (Day light saving) ในฤดูใบไม้ผลิ ในวันนั้นอุบัติการณ์เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจะเพิ่มขึ้น 24% และจะกลับลดลง 21% ในวันประกาศลดเวลากลางวันในฤดูใบไม้ร่วง

5. การนอนหลับเปลี่ยนพันธุกรรมของคน งานวิจัยให้อดนอน เหลือคืนละ 6 ชั่วโมง นาน 7 วัน พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในยีน 611 ชุด โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงยีนก่อโรคเรื้อรัง ให้ทํางานมากขึ้น (Up regulated) อีกครึ่งหนึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงยีนป้องกันโรคให้ทํางานน้อยลง (Down regulated)

 

คนปกติควรได้นอนหลับวันละกี่ชั่วโมง

คนผู้ใหญ่ปกติต้องการการนอนหลับคืนละ 7-8 ชั่วโมง การสํารวจเมื่อ ค.ศ. 1942 พบว่า คนอเมริกันนอนหลับเฉลี่ย วันละ 7.9 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันนี้อัตราการนอนหลับเฉลี่ยลดเหลือ 6.5 ชั่วโมงต่อคืน โดยสาเหตุที่คนปัจจุบันนี้มีโอกาสนอนหลับน้อยอาจเกิดจากหลายสาเหตุรวมกัน

เช่น

  1. การต้อง ทํางานมาก ทํางานหลายอาชีพ
  2. การต้องเดินทางไปกลับจากบ้านกับที่ทํางานนาน
  3. การต้องใช้เวลา อยู่กับหน้าจอมาก
  4. การมีความคิดวิตกกังวลมาก
  5. การกลัวมีภาพลักษณ์ว่าเป็นคนขี้เกียจถ้านอนมาก
  6. การใช้สารช่วยนอนหลับซึ่งกลับทําให้นอนหลับได้น้อยลง
  7. การใช้สารกระตุ้นซึ่งมีผลให้นอนหลับได้น้อยลง

การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกายในรอบวัน

รอบของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในแต่ละวัน โดยมีฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ

คอร์ติซอล (Cortisol) อะดรีนาลิน (Adrenaline) และ เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนทําให้ตื่น จะปล่อยออกตอน ใกล้รุ่ง แล้วปล่อยมากที่สุดตอนกลางวัน แล้วหยุดปล่อยเมื่อใกล้ 21.00 น. อะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นฮอร์โมนกดให้ง่วง (Sleep presser) จะเริ่มปล่อยออกมาเมื่อเริ่มตื่นแล้วสะสมจนถึงจุดสูงสุดเมื่อ ประมาณ 21.00 น. ทําให้ง่วง เมื่อหลับแล้ว การหลับลึกจะช่วยเคลียร์ ฮอร์โมนตัวนี้ออกไปหมด การงีบตอนบ่ายหรือเย็นใกล้เวลานอนมีข้อเสีย คือหากได้หลับลึก ร่างกายจะเคลียร์อะดีโนซีนทิ้งไปหมด ไม่มีอะไรมากดให้นอนหลับตอนกลางคืน

เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนให้เกิดการหลับ สร้าง จากต่อมไพเนียลจากการได้เห็นแสงอาทิตย์ตอนกลางวันแล้วเริ่มปล่อย ออกมาตอน 21.00 น. จนถึงรุ่งเช้า

 

(ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ และพญ.พิจิกา วัชราภิชาต, 2566, “Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี สุขภาพดีได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง”, หน้า 143-145)

 

สอบถามข้อมูล | นัดชมสถานที่

สาขาลาดพร้าว 71

สาขาสุขุมวิท 107

สาขาพัทยา

สาขาราชพฤกษ์

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab