วันนี้จะขอมาพูดถึงความต้องการของผู้สูงอายุ ความต้องการของผู้สูงอายุนั้น มีลักษณะที่ร่วมกันอยู่หลายประการ เริ่มจากความต้องการในด้านการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของร่างกายในเรื่องปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม ความต้องการด้านเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงความต้องการที่จะสนองต่อปัญหาสุขภาพและการดำรงชีวิตประจำวัน ในการดูแลผู้สูงอายุ
Maslow ได้จำแนกความต้องการของมนุษย์จากพื้นฐานความต้องการต่ำสุดไปถึงสูงสุดตามลำดับขั้น ดังนี้
- ความต้องการพื้นฐานทางร่างกาย (Physiological Needs) เป็นความต้องการพื้นฐานขั้นแรกที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย เพื่อบำบัดความหิวกระหายต่อร่างกายทำให้ร่างกายคงสภาพอยู่ได้ ความต้องการนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม
- ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) คือความต้องการที่จะได้รับการป้องกันภัยอันตรายจากการคุกคามอย่างมั่นคงปลอยภัยทางร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สิน และผลประโยชน์ เช่น วัยเด็กต้องการการป้องกันคุ้มครองจากผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ต้องการความมั่นคงในอาชีพการงาน เป็นต้น
- ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Love and Belonging Needs) ได้แก่ ความต้องการที่จะเป็นที่รัก ได้รับความรักจากบุคคลอื่น รวมทั้งการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนในสังคม เช่น ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนในสังคม ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว การเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมสมาคมต่างๆ รวมถึงความต้องการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของสิ่งที่คนมีอยู่
- ความต้องการมีคุณค่า หรือเกียรติยศ ชื่อเสียง (Esteem or Status Needs) เป็นความต้องการให้ผู้อื่นยกย่อง ยอมรับ นับถือในความสามารถของตนและเห็นว่าตนมีคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม
- ความต้องการความสำเร็จหรือสมหวังในชีวิต (Salf-actualization Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นผู้มีศักยภาพและพึงพอใจในความสำเร็จของตนเอง การตัดสินใจได้ด้วยตนเองและสามารถบรรลุแห่งชีวิตของตนเองได้ เพื่อการเป็นโดยสมบูรณ์ สมหวังความปรารถอันเป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์
ศรีทับทิม (รัตนโกศล) พานิชพันธ์ ได้นำเสนอความต้องการของผู้สูงอายุออกเป็นด้านๆ ดังนี้
- ความต้องการการสนับสนุนจากครอบครัว
- ความต้องการด้านการประกันรายได้ เพื่อช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข และมีความมั่นคงในบั้นปลายชีวิต
- ความต้องการมีชีวิตร่วมในชุมชน โดยเฉพาะการมีส่วนในกิจกรรมต่างๆ ทางสังคม
- ความต้องการที่จะลดความพึ่งพิงคนอื่นให้น้อยลง
- ความต้องการทางสังคม ในด้านการเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและสังคม
- ความต้องการทางร่างกายและจิตใจ
- ความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือในยามเจ็บป่วย
สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งความต้องการของผู้สูงอายุ ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1. ความต้องการท้างด้านร่างกายของผู้สูงอายุ ประกอบด้วยความต้องการดังนี้
- ต้องการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์
- ต้องการมีผู้ช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด
- ต้องการที่อยู่อาศัยที่สะอาด อากาศดี สิ่งอวดล้อมดี
- ต้องการอาหารการกินที่ถูกสุขลักษณะตามวัย
- ต้องการมีผู้ดูแลช่วยเหลือให้การพยาบาลอย่างใกล้ชิดเมื่อยามเจ็บป่วย
- ต้องการได้รับการตรวจสุขภาพ และการรักษาพยาบาลที่สะดวกรวดเร็ว และทันท่วงที
- ต้องการได้รับบริการรักษาพยาบาลแบบให้เปล่าจากรัฐ
- ความต้องการได้พักผ่อน นอนหลับอย่างเพียงพอ
- ความต้องการบำรุงรักษาร่างกาย และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
2. ความต้องการทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และสังคมจะทำให้จิตใจของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปด้วย ผู้สูงอายุจะปรับจิตใจ และอารามณ์ไปตามการเปลี่ยนแปลงของร่างและสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีการปรับปรุงและพัฒนาจิตใตของตัวเองให้เป็นไปในทางที่ดีงามมากขึ้น สามารถควบคุมจิตใจได้ดีกว่าหนุ่มสาว ดังนั้น เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ความสุขุมเยือกเย็นจะมีมากขึ้น แต่การแสดงออกและความต้องการด้านจิตใจของผู้สูงอายุแต่ละบุคคล จะขึ้นอยู่กับลักษณะ การศึกษา ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตที่ผ่านมา
3. ความต้องการทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ ประกอบด้วยความต้องการดังนี้
- ต้องการได้รับความสนใจจากผู้อื่น
- ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว สังคมและหมู่คณะ
- ต้องการช่วยเหลือสังคมและมีบทบาททางสังคมตามความถนัด
- ต้องการการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจากครอบครัวและสังคม ทังทางด้านความเป็นอยู่ รายได้ และบริการจากรัฐ
- ต้องการมีชีวิตร่วมในชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนและสังคม
- ต้องการลดการพึ่งพาคนอื่นให้น้อยลง
- ต้องการการประกันรายได้ และประกันความชราภาพ
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีความต้องการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและเศรษฐกิจ เป็นพื้นฐานเช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ประสบการ์ และบทบาทของแต่ละบุคคลที่ผ่านมา ดังนั้นการที่จะทำความเข้าใจผู้สูงอายุได้อย่างชัดเจนมากขึ้น นอกจากจะศึกษาในลักษณะของการเปลี่ยนแปลง และความต้อการด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุแล้ว ผู้ศึกษาควรมีการเลือกใช้แนวคิดและทฤษฎีเป็นกรอบแนวทางในการอธิบายผู้สูงอายุ ดังที่จะได้มีการกล่าวถึงในลำดับต่อไป
อ้างอิงจากหนังสือ ครอบครัวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม นันทมงคลชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล