วิธีรักษาโรคพาร์กินสัน ด้วยการทำกายภาพบำบัด
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่มีอาการเกร็ง เคลื่อนไหวช้า และเกิดอาการสั่น ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่าการสั่นที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นอะไรเดี๋ยวก็หาย แต่จริง ๆ แล้ว อาการสั่นนี้ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจทำให้ในอนาคตของเราใช้ชีวิตลำบากได้ เพราะโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เกิดจากความเสื่อมของบริเวณสมองส่วนกลางและระบบประสาท มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 65 ปี ผู้ป่วยควรพบแพทย์ตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการ เพราะสาเหตุของโรคพาร์กินสันนั้น ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจมีผลจากสาเหตุอื่นได้ ที่พบบ่อย ๆ คือ การทานยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยาแก้อาการอาเจียน ยารักษาความผิดปกติของจิตบางชนิด ดังนั้น จึงควรรีบตรวจ เพราะโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ควรรีบรักษาก่อนจะลุกลามไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยบางรายมีอาการคล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แต่แตกต่างกันตรงสามารถรักษาให้ขาดหายได้เรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า กลุ่มโรคพาร์กินสันเทียม มักพบในผู้ป่วยที่ใช้ยาบางชนิด (โดยเฉพาะยารักษาโรคจิต) (ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์)
โรคพาร์กินสัน ที่สามารถสังเกตได้
- มือไม้สั่น
- กล้ามเนื้อเกร็ง ปวด หรือเกิดเป็นตะคริว
- ทรงตัวไม่ดี
- เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลง
- เดินลำบาก หมุนตัวลำบาก การเดินผิดปกติ
- มีอาการสั่นขณะนั่งพัก ลุกขึ้นยืนลำบาก
- ความสามารถในการได้กลิ่นลดลงผิดปกติ
- นอนไม่หลับ ถึงหลับแต่ก็นอนหลับไม่สนิท
- พลิกตัวไม่ได้ พริกตัวลำบากเวลานอน
- มีอาการทางจิต เกิดอาการซึมเศร้า
- เขียนหนังสือตัวเล็กลง
- มีอาการขยับแขนขารุนแรงขณะหลับ
- ความจำไม่ดี คิดอะไรช้าลง
การรักษาโรคพาร์กินสัน
- การรับประทานยา เพื่อเพิ่มปริมาณสารเคมีโดปามีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยแพทย์จะพิจารณาการให้ยาตามอาการผู้ป่วย
- การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ
- การผ่าตัด มักใช้กับผู้ป่วยที่ยังมีอาการไม่หนักมาก หรือผู้ที่มีอาการแทรกซ้อนจากการรับประทานยา โดยวิธีการผ่าตัดจะใช้วิธีฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อให้ไปกระตุ้นสมองเรียกว่า การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep brain stimulation)
(ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์)
วิธีรักษาโรคพาร์กินสัน ด้วยการทำกายภาพบำบัด
เป็นการรักษาที่เน้นไปทางการออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตใกล้เคียงคนปกติที่สุด
วิธีการมีดังนี้
- การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise) เช่น การเต้นแอโรบิก การเดินบนพื้นราบ การออกกำลังกายในน้ำ และการเดินสายพานโดยใช้อุปกรณ์พยุงเดิน
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise) เช่น การยกน้ำหนัก
- การออกกำลังกายแบบมีแบบแผน (Formalized patterned exercises) เช่น การเต้นรำ, การฝึกโยคะ (Yoga), การฝึกไทเก๊ก (Tai-Chi).
- การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching exercise) ควรใช้การยืดกล้ามเนื้อเป็นการอบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกาย
(ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ)
หากใครมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการ และการรักษาที่ไวที่สุด
หากใครสนใจรักษา
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สาขาลาดพร้าว 71
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
Kin Wellness
โทร : 084-993-6988 , 02-020-1171
LINE สอบถามรายละเอียด @KinClinic (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : https://lin.ee/vuwOSaC
สาขา รพ.ประสานมิตร ถนนพหลโยธิน (รับเฉพาะผู้ป่วยนอก)
โทร : 081-632-8188 / 083-441-1363
LINE สอบถามรายละเอียด @KinPrasanmit (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : https://lin.ee/UPfzPk7
สาขาสุขุมวิท 107
Kin Origin Sukhumvit 107 (เปิดบริการเดือนเมษายน 2023)
โทร : 065-909-2599 , 061-532-4909