บริการพยาบาลดูแลที่บ้าน

 

KIN Home Care บริการหัตถการทางการพยาบาลที่บ้าน

 

ทำไมถึงต้องเปลี่ยนสายปัสสาวะ และเปลี่ยนสายอาหาร กับพยาบาล?

สายปัสสาวะ และสายอาหารเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะ หรือรับประทานอาหารได้ด้วยตัวเอง สายปัสสาวะจะถูกสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ส่วนสายอาหารจะถูกสอดเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อให้อาหาร และน้ำแก่ผู้ป่วย

การเปลี่ยนสายปัสสาวะ และสายอาหาร เป็นงานที่ต้องทำโดยพยาบาลที่มีความชำนาญ เนื่องจากต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ หรือบาดเจ็บต่อผู้ป่วย ไปดูอันตราย และอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น หากทำเองโดยไม่ได้รับการอบรม หรือไปโดยไม่รู้

 

การสายสวนปัสสาวะ

สำหรับผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะ หรือคาสายสวนปัสสาวะนั้น เกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติหรือมีปัญหาในการขับปัสสาวะ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถลุกมาทำธุระส่วนตัวเองได้ หรือผู้ป่วยหลังการผ่าตัดที่ต้องมีการใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อประเมินการทำงานของไต เป็นต้น จึงต้องมีการใส่สายสวนปัสสาวะ ซึ่งเป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะที่ปลอดเชื้อเข้าไปคาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางรูเปิดของท่อปัสสาวะ เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกจากกระเพาะปัสสาวะ ลงสู่ถุงปัสสาวะที่เป็นระบบปิด

 

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยจากการคาสายสวนปัสสาวะ

การใส่สายสวนปัสสาวะซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายอาจทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดอาการเจ็บหรือปวดระบบทางเดินปัสสาวะหรือบริเวณใต้สะดือได้
การใส่สายสวนปัสสาวะจะทำให้การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยทำได้อย่างจำกัด เพราะต้องระวังการไปกดทับสายสวนฯ จึงอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว อ่อนล้า และอ่อนเพลีย
สายสวนปัสสาวะอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อโรคจากภายนอกผ่านเข้าสู่ร่างกาย และทำให้ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้

 

การดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ

  ในการดูแลตัวผู้ป่วยและการดูแลสายสวนปัสสาวะเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสำหรับผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะจะต้องระมัดระวังในการป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ และในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลไม่ให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะอีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยที่มีการคาสายปัสสาวะ หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการใส่สายสวนปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อนและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใส่สายสวนฯ เพื่อระบายปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน คือ เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยมีอาการที่สังเกตได้เหล่านี้

  • มีไข้
  • ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือมีการตกตะกอน
  • ปัสสาวะมีกลิ่นฉุนผิดปกติ
  • อาจมีปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วย

และนอกเหนือจากนี้ผู้ป่วยอาจเกิดอาการระคายเคืองจากการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะทำให้เกิดอาการเจ็บและปวดบริเวณที่มีการเดินสายสวนปัสสาวะและอาจมีเลือดผสมปัสสาวะด้วยก็ได้ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันทีเพื่อประเมินอาการและทำการรักษา

 

การให้อาหารทางสายยาง

 

NG tube หรือ Nasogastric Tube หมายถึง การใส่ท่อสายยางผ่านระหว่างรูจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร ซึ่งมักใช้เป็นทางเลือกแรกเมื่อจำเป็นต้องให้อาหารในผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เองเพียงพอ และยังมีการทำงานของระบบทางเดินอาหารปกติ โดยมักให้ในระยะสั้นไม่เกิน 4 สัปดาห์

แต่หากจำเป็นต้อง ได้รับอาหารทางสายยาง นานเกินกว่า 4-6 สัปดาห์ ควรพิจารณาเปลี่ยนเป็นสายให้อาหารผ่านผนังหน้าท้อง (gastrostomy or PEG) เพื่อลดผลกระทบต่อเยื่อบุจมูกและคอจากการคาสายให้อาหารทางจมูกเป็นเวลานาน ลดโอกาสสำลัก และลดความถี่การเปลี่ยนสาย

 

ใครบ้างที่ควรให้อาหารทางสายยาง (NG tube) ?

  • ผู้ที่รับประทานอาหารทางปากไม่ได้ หรือทานได้น้อยกว่า 60% ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน นานติดต่อกันเกิน 3-7 วัน
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการกลืน และสำลักอาหาร
  • ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร
  • ผู้ที่ไม่รู้สึกตัว หรือไม่ยอมรับประทานทางปาก รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคทางจิตเวช เช่น Anorexia nervosa หรือ โรคสมองเสื่อม เช่น Dementia, Alzheimer, Stroke

 

ให้อาหารทางสายยางต้องให้อย่างไร?

  1. เวลาการให้อาหาร (Feeding) โดยทั่วไปแนะนำให้กำหนดเป็นมื้อ ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง หรือวันละ 4 มื้อ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
  2. ล้างมือให้สะอาด เช็ดมือให้แห้ง จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่ง หรือท่านอนหงายศีรษะสูงกึ่งนั่ง หากผู้ป่วยมีเสมหะให้ไอหรือดูดเสมหะออกให้หมดก่อนให้อาหารทุกครั้ง
  3. เช็กตำแหน่งของสาย ที่ขอบจมูกว่าอยู่ในตำแหน่งเดิมหรือไม่ รวมถึงเช็กสภาพพลาสเตอร์ยึดติดสายด้วย
  4. พับสายให้อาหารก่อนเปิดจุกสายทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ของเหลวไหลย้อนจากกระเพาะเมื่อเปิดจุก

ดูแลสายให้อาหารอย่างไรไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

ดูแลบริเวณจมูกและช่องปาก เช็ดจมูกด้วยน้ำเกลือทุกวัน ทำความสะอาดปากและฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยให้ผู้ป่วยแปรงฟัน บ้วนปาก ใช้สําลี ผ้าชุบน้ำ เช็ดให้สะอาด ถ้าไม่สามารถบ้วนปากเองได้ ให้เปลี่ยนตำแหน่งพลาสเตอร์เพื่อป้องกันแผลกดทับ และหมั่นสำรวจผิวหนังรอบๆ รูจมูกบ่อยๆ ว่ามีบาดแผลหรือไม่

  ควรปิดจุกสายยางให้แน่น เพื่อป้องกันอาหารจากกระเพาะอาหารไหลย้อนออกมา และภายหลังการให้อาหารควรเช็ดคราบอาหารที่ปลายจุกด้วยผ้าสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้มดขึ้นตรวจเช็กตำแหน่งของสายให้อยู่ตำแหน่งเดิมทุกครั้ง ก่อนเริ่มให้อาหาร ควรดูพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกควรให้ติดแน่น ระวังสายเลื่อนหรือหลุดออก ควรจำขีดความยาวของสายที่ขอบจมูก หรือบันทึกไว้ ถ้าสายผิดตำแหน่ง หรือเลื่อนหลุด ควรปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์

ข้อดีของการใส่ NG tube หรือการให้อาหารทางสายยาง

  • ใส่ง่ายและสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่แพง
  • ใช้เวลาใส่ไม่นาน ไม่ต้องมีการผ่าตัด สามารถไปเปลี่ยนสายให้ที่บ้านได้
  • ผู้ป่วยได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มที่ ตามที่ร่างกายควรได้รับ
  • ดูแลง่าย ไม่ต้องทำแผลทุกวัน

 

ข้อเสียของการใส่ NG tube หรือการให้อาหารทางสายยาง

  • ระคายเคืองจมูก และคอ ผู้สูงอายุบางรายอาจทนไม่ได้ และอาจดึง จนต้องใส่บ่อยๆ หรือต้องมัดมือเพื่อความปลอดภัย
  • สายยางเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งของกระเพาะอาหารได้ง่าย ทำให้ต้องใส่ใหม่
  • ต้องปลี่ยนสายบ่อย ทุก 2-4 สัปดาห์
  • เวลาใส่สายใหม่ทุกครั้ง อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ กระตุ้นการสำลัก หรืออาจทำให้ปอดอักเสบได้
  • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก NG tube อาทิ แผลกดทับของสายกับเนื้อบริเวณจมูก รูจมูก และไซนัสอักเสบ อาจเกิดหูอื้อ หูชั้นกลางอักเสบได้ หรืออาจมีอาหารบางส่วนย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาจนสำลักได้
  • บางรายอาจรู้สึกว่ากลืนน้ำลายได้ไม่ปกติ เจ็บคอ กินอาหารทางปากลำบาก ฝึกกลืนยากทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ภายนอก
เปลี่ยนสายให้อาหารทางจมูก(ธรรมดา)
1,600.-

เปลี่ยนสายให้อาหารทางจมูก(ซิลิโคนพิเศษ)

1,900.-

สวนล้างจมูก

1,600.-

เปลี่ยนถุงหน้าท้อง

1,600.-

เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ

2,200.-
 
 
ค่าบริการทำแผล (ไม่รวมค่าอุปกรณ์)
 

ระดับแผลเกรด 1-2 ไม่เกิน 10 cm (Size S)

1,200.-
 
 
ค่าบริการทำแผลรายคอร์ส
 

บริการทำแผลรายคอร์ส 10 ครั้ง ลด 10%

10,800.- (จากปกติ 12,000.-)

บริการทำแผลรายคอร์ส 20 ครั้ง ลด 20%

19,200.- (จากปกติ 24,000.-)

 

KIN Home Care
 
โทร : 091-803-3071 , 02-096-4996 กด 5
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id

ติดต่อเรา (Contact)

สนใจสอบถามข้อมูล และ ติดตาม KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare

Line

@Kinrehab

Call

091-903-3071

Call

02-096-4996 กด 5

Rehabilitation & Homecare

คลินิกกายภาพบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation)

KIN Rehabilitation

       "กายภาพบำบัด" เพื่อรักษาอาการปวดเรื้อรังรักษาหายได้โดยไม่ต้องใช้ยา บริการด้วยเครื่องมือทันสมัย เล... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลกายภาพบำบัด คินออริจิ้น Kin Origin Healthcare Center

KIN Rehabilitation

  Kin Origin Healthcare Center           ศูนย์ดูแลด้านสุขภาพเพื่อการฟื้นฟูร่างกายอย่างครบวงจร... 

อ่านต่อ...

เกี่ยวกับเรา

KIN Rehabilitation

เกี่ยวกับเรา (About Us)                         “KIN&... 

อ่านต่อ...

โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก

KIN Rehabilitation

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)                            ... 

อ่านต่อ...

ห้องเดี่ยว VIP

KIN Rehabilitation

ค่าบริการห้องพักห้อง เดี่ยว VIP (VIP Single Room)       สอบถามข้อมูล และจองคิวกายภาพบำบัด    ... 

อ่านต่อ...

บุคลากร แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา ทีมพยาบาล

KIN Rehabilitation

บุคลากร (Our Team)       แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ           แพทย์เฉพาะทางด้านโรคกระดูกและข้... 

อ่านต่อ...

ค่าบริการห้องพัก

KIN Rehabilitation

ค่าบริการห้องพัก (Room Rate) สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู และนัดดูสถานที่                 &... 

อ่านต่อ...

ติดต่อเรา

KIN Rehabilitation

ติดต่อ “KIN” (คิน)     KIN - Rehabilitation & Homecare อาคาร KIN Rehabilitation เลขที่ 6... 

อ่านต่อ...

คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก

KIN Rehabilitation

คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Clinic) คลินิกเฉพาะทางโรคสมอง และระบบประสาท ฟื้นฟูอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง ด้วยเทคโนโ... 

อ่านต่อ...

ห้องเดี่ยว Superior

KIN Rehabilitation

        ห้องเดี่ยว Superior Room ห้องพักชั้น 1    สิ่งอำนวยความสะดวก  SMART TV LED 40... 

อ่านต่อ...

โรคกระดูกทับเส้นประสาท

KIN Rehabilitation

โรคกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc)        สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ เมื่อหมอนรองกระดูกเกิดกา... 

อ่านต่อ...

เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่หน้าอก และปีกหลัง (Pec Deck)

KIN Rehabilitation

  เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ หน้าอก และปีกหลัง (Pec Deck) เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ หน้าอกและปีกหลัง เป็นการฝึกกล้าม... 

อ่านต่อ...
KIN Rehab