FakeNews และ เคล็ดลับป้องกันข่าวปลอม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Fake news 
ชัวร์ หรือ มั่ว เชื่อถือได้ขนาดไหน เราจะป้องกันสื่ออย่างไร ไม่ให้รับสารจน "เข้าใจผิด"ได้
 
ผู้สูงอายุตกเป็น ‘เหยื่อ’ ข่าวปลอมมากที่สุด! เพราะใส่ใจสุขภาพ
  ผู้สูงอายุในไทย 75% ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย โดยไม่รู้เท่าทัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุเพศหญิงตกเป็นเหยื่อสูงสุด เพราะใส่ใจสุขภาพ แต่ไม่อ่านฉลาก เชื่อโฆษณา โดยสื่อที่ผู้สูง อายุใช้งานมากที่สุด Line (52%) TV (24%) FaceBook (16%)

  ผลสำรวจในโครงการสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง : สร้างนักสื่อสารสุขภาวะที่รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ4 ผู้เข้า ร่วมโครงการรวม 300 คน ในพื้นที่กทม. สกลนคร เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช สุพรรณบุรี โดยพบว่า ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มวัย ที่มีการเผยแพร่ข่าวปลอม หรือส่งข่าวบิดเบือนมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบการบริโภคสื่อของผู้สูงอายุในเขตเมือง และ ชนบทที่ต่างกัน

  ผู้สูงอายุเขตเมืองเปิดรับไลน์ เฟซบุ๊ก และทีวี โดยมี จุดประสงค์เพื่อคลายเหงา หาข้อมูลสินค้าและบริการ แต่ไม่ใช้ ตรวจสอบข้อมูล

  ขณะที่ผู้สูงอายุในชนบท เป้าหมายการใช้งานไม่เฉพาะ เจาะจง เปิดทั้งวันเพื่อความบันเทิง ให้ความเชื่อถือสื่อทีวี มากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทีวีจานดำเป็นหลัก ซึ่งช่องทางนี้ เน้นการโฆษณาขายของ รองลงมาคือ สื่อบุคคล ปัญหาที่พบ ในการใช้สื่อของผู้สูงอายุในชนบท คือ หลงเชื่อโฆษณาทางทีวี เช่น อาหารเสริม เรื่องสุขภาพเชื่อข้อมูลจากคนบอกต่อ ซึ่ง ไม่ได้กลั่นกรอง ไม่ได้อ่านจนจบ ขาดทักษะการรับส่งข้อมูลด้วย ตนเอง

  ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะสนใจข้อมูลสุขภาพ และ ให้ความเชื่อถือกับสื่อทีวี สื่อบุคคล เพื่อนผู้สูงอายุด้วยกันและ ลูกหลาน

ผลการศึกษายังพบปัญหาอื่น ๆ ในการใช้สื่อดิจิทัล ของผู้สูงอายุ ได้แก่
- ใช้ยาก ซับซ้อน
- ตัดสินใจไม่ได้
- เสียความมั่นใจ กังวลใจ
- กดไลก์เพราะเกรงใจเพื่อน
- ข้อความยาว อ่านไม่จบ ส่งเลย
- ไม่รู้การตั้งค่าความปลอดภัย
- ไม่รู้เป็นมัลแวร์ (Malicious Software โปรแกรม ชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประสงค์ร้ายต่อคอมพิวเตอร์) ข้อมูลไหนควรส่งต่อหรือไม่
- การเรียนรู้จากโรงเรียนผู้สูงอายุ ทำสวัสดีวันจันทร์ เลยส่งเพื่อฝึกการใช้งาน

ปรากฏการณ์ส่งต่อข่าวปลอมมากที่สุดของผู้สูงอายุใน ไทยไม่ต่างไปจากผู้สูงอายุทั่วโลก

10 เคล็ดลับสังเกตข่าวปลอมโดยศูนย์ช่วยเหลือ Facebook
  1.สงสัยข้อความพาดหัว ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด และเครื่องหมายอัศเจรีย์ หากข้อความพาดหัวที่น่าตื่นตระหนกฟังดูไม่น่าเชื่อถือ ข่าวนั้นน่าจะเป็นข่าวปลอม
  2.สังเกตที่URL URL หลอกลวง หรือดูคล้าย อาจเป็นสัญญาณของข่าวปลอมได้ เว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากเปลี่ยนแปลง URL เพียงเล็กน้อยเพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริงคุณอาจไปที่เว็บไซต์เพื่อเปรียบเทียบ URL กับแหล่งข่าวที่มี
  3.สังเกตแหล่งที่มา ตรวจดูให้แน่ใจว่าเรื่องราวเขียนขึ้นโดยแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และมีชื่อเสียงด้านความถูกต้องหากเรื่องราวมาจากองค์กรที่ชื่อไม่คุ้นเคย ให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
  4.มองหาการจัดรูปแบบที่ไม่ปกติ เว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากมักมีการสะกดผิดหรือวางเลย์เอาต์ไม่ปกติ โปรดอ่านอย่างระมัดระวังหากคุณเห็นสัญญาณเหล่านี้
  5.พิจารณารูปภาพ เรื่องราวข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวิดีโอที่ไม่เป็นความจริง บางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริงแต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว คุณสามารถค้นหาเพื่อตรวจสอบได้ว่ารูปภาพเหล่านั้นมาจากที่ไหน
  6. ตรวจสอบวันที่ เรื่องราวข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์
  7. ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าถูกต้อง หากไม่มีหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีชื่อเสียง อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม
  8. ดูรายงานอื่น ๆ หากไม่มีแหล่งที่มาอื่น ๆ ที่รายงานเรื่องราวเดียวกัน อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอมหากมีการรายงานข่าวโดยหลายแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือได้มีแนวโน้มว่าข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง
  9. เรื่องราวนี้เป็นเรื่องตลกหรือไม่ บางครั้งอาจแยกข่าวปลอมจากเรื่องตลกหรือการล้อเลียนได้ยาก ตรวจสอบดูว่าแหล่งที่มาของข่าวขึ้นชื่อเรื่องการล้อเลียนหรือไม่ และรายละเอียดตลอดจนน้ำเสียงของข่าวฟังดูเป็นเรื่องตลกหรือไม่
  10. เรื่องราวบางเรื่องอาจตั้งใจเป็นข่าวปลอม ใช้วิจารณญาณเพื่อคิดวิเคราะห์เรื่องราวที่คุณอ่าน และแชร์เฉพาะข่าวที่คุณแน่ใจว่าเชื่อถือได้เท่านั้น

 

ที่มาภาพประกอบ : freepik.com

สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 ปรึกษา​แพทย์​ โทร​ 065-594-2989 โทรสอบถาม 091-803-3071 / 02-020-1171 
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
 
 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab