ฝุ่นร้าย PM2.5 ทำลายเงียบ
พวกคุณรู้หรือไม่ว่า 9 ใน 10 ของประชากรบนโลก กำลังเผชิญกับมลภาวะอากาศที่เป็นพิษ (?) ซึ่งเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO) กำหนดไว้ ทั้งนี้ WHO ในแต่ละปีมีผู้คนประมาณ 7 ล้านคนเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศอีกด้วย มลพิษทางอากาศที่มีอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในปีพ.ศ. 2561 มีพื้นที่ 28 แห่งจาก 53 แห่ง (ใน 29 จังหวัด) ที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินมาตรฐานในบรรยากาศของประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กและพื้นที่เมืองทั้ง 53 แห่ง และยังมีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินค่าตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร
ประชาชนใช้ผ้าปิดจมูกเพื่อปกป้องตัวเองจากฝุ่นละอองในเมืองหลวง
PM2.5 ที่คุกคามพวกเรามาจากไหน?
PM2.5 มาจากทั้ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การเผาในที่โล่งและอุตสาหกรรมการผลิต ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น ดังนั้น การปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่างๆ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลและการผลิตทางอุตสาหกรรม เมื่อเกิดการรวมตัวกันในบรรยากาศ
ฝุ่น PM2.5 ทำร้ายตัวเราอย่างไร?
ฝุ่น PM2.5 ถูกพิจารณาว่าเป็นมลพิษที่มีผลกระทบกับสุขภาพมากที่สุดในบรรดามลพิษทางอากาศโดยทั่วไป เนื่องด้วยขนาดที่เล็กมากของ PM2.5 ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของ เส้นผมมนุษย์สามารถเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรงของมนุษย์ได้ และจากนั้นก็ไปทั่วร่างกาย เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทต่อเด็ก คนสูงวัยและกลุ่มประชากรเสี่ยงในสังคมได้รับผลกระทบมากที่สุด
ฝุ่น PM2.5 ถูกพิจารณาว่าเป็นมลพิษที่มีผลกระทบกับสุขภาพมากที่สุดในบรรดามลพิษทางอากาศโดยทั่วไป เนื่องด้วยขนาดที่เล็กมากของ PM2.5 ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของ เส้นผมมนุษย์สามารถเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรงของมนุษย์ได้ และจากนั้นก็ไปทั่วร่างกาย เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทต่อเด็ก คนสูงวัยและกลุ่มประชากรเสี่ยงในสังคมได้รับผลกระทบมากที่สุด
จากการศึกษาโดย Institute for Health and Evaluation, University of Washington สนับสนุนโดย ธนาคารโลก พบว่า มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆเนื่องจากมีส่วนประกอบของสาร เคมีหลายชนิดทั้งที่เป็นสารระคายเคืองไปจนถึงสารก่อมะเร็งจึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง สำหรับก๊าซโอโซนเป็นสารระคายเคืองปอด ทำให้ปอดติดเชื้อง่าย จึงเป็นปัจจัยร่วมอันก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
การเข้าถึงอากาศสะอาดเป็นสิทธิของทุกคน กรีนพีซเรียกร้องให้กรมควบคุมมลพิษยกระดับค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไปของประเทศไทยให้เป็นไปตามเป้าหมายสูงสุดตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก เพื่อปกป้องสุขภาพและชีวิตของประชาชน
#Greenpeace
Tags