ปัญหาภาวะเครียด วิตกกังวล จากความเจ็บปวด

ปัญหาภาวะเครียด วิตกกังวล จากความเจ็บปวด (Anxiety Disorder) 

 
 
 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้

30 - 50% ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง จะมีความปกติทางอารมณ์ เช่น โรคเครียด โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลตามมา ซึ่งอาการปวดเรื้อรัง หรือความปวดเรื้อรัง (Chronic pain) เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นนานกว่า 3 เดือน โดยอาจปวดเป็นพักๆ หรือปวดต่อเนื่องก็ได้ อาการปวดเรื้อรังส่วนใหญ่ไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้

แต่อาจเกิดจากเพราะปัญหาสุขภาพ หรือเคยประสบอุบัติเหตุ จนความปวดนั้นทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ และอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาการนอน ความเครียด ปัญหาด้านการกินตามมา

 

อาการและแนวทางการดำเนินโรค

  1. อาการทางร่างกาย
    • ใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น
    • ความดันโลหิตสูง
    • หายใจลำบาก
    • ปัสสาวะบ่อย
    • เหงื่อออกมาก
    • ลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย
  2. อาการทางจิตใจ
    • ย้ำคิดย้ำทำ
    • มองโลกในแง่ร้าย
    • ไม่มั่นใจตัวเอง
  3. อาการทางอารมณ์
    • ตื่นเต้น
    • ซึมเศร้า
    • หงุดหงิด
    • เบื่อหน่ายง่าย

 

แนวทางการดำเนินโรค

หากไม่ได้จัดการแก้ไขกับความปวดเรื้อรังที่เป็นต้นตอของปัญหา ความเครียดและความวิตกกังวลก็จะไม่สามารถแก้ไขได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ความเครียดและความวิตกกังวลนั้นจะพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้า และภาวะผิดปกติทางกายอื่น ๆ ที่เรียกว่า "persistent somatoform pain disorder" (โรคเจ็บปวดคงยืนที่มีอาการทางกาย) หรือ functional pain syndrome (อาการเจ็บปวดที่มีผลต่อสรีรภาพหรือจิตใจ) ได้

 

วิธีการรักษา

  1. การรักษาด้วยตัวเอง
    • ใช้เทคนิคลดความเครียด เช่น หางานอดิเรกที่ชอบทำ ออกกำลังกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นั่งสมาธิ คิดบวก เขียนบันทึกประจำวัน
    • หาที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
    • ลดอาการปวดด้วยตนเอง ด้วยการประคบอุ่น ประคบเย็น ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
  2. การรักษาทางกายภาพบำบัด

    เน้นไปที่การรักษาอาการปวดเรื้อรังด้วยเครื่องมือและวิธีทางกายภาพบำบัดต่าง ๆ เพื่อให้ความปวดลดลง ส่งผลให้รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย และความเครียดจะทุเลาลงด้วย ได้แก่

    • การใช้อัลตร้าซาวด์ การกระตุ้นไฟฟ้า หรือเลเซอร์ลดปวด
    • การออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
    • การฝึกหายใจ ช่วยได้ทั้งบรรเทาอาการปวด และช่วยลดความเครียด
  3. การรักษาทางด้านอื่นๆ
    • การใช้ยาต้านซึมเศร้า (antidepressants)
    • บำบัดด้วยการพูดคุย หรือที่เรียกว่า จิตบำบัด (psychotherapy)

 

การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกของโรคนี้

  • หลังจากเผชิญสถานการณ์ร้ายแรง ต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เพื่อช่วยลดโอกาสป่วยเป็นโรคเครียด
  • รู้จักตนเอง มีสติ และหาวิธีการเผชิญความเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง
  • หางานอดิเรกทำในยามว่าง เช่น อ่านหนังสือ หรือฟังเพลง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน
  • จัดสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน และที่พักอาศัยให้เหมาะสม จะช่วยลดทั้งความเครียดและลดอาการปวดเรื้อรังได้
 
 
                    
 
    

ติดต่อเรา (Contact)

สนใจสอบถามข้อมูล และ ติดตาม KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare

Line

@Kinrehab

Call

091-803-3071

Call

095-884-2233

Rehabilitation & Homecare

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปวดขา ปวดเข่า ปวดส้นเท้า เอ็นหัวเข่าฉีก

KIN Rehabilitation

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปวดขา ปวดเข่า ปวดส้นเท้า เอ็นหัวเข่าฉีก (Sports Injuries)      สาเหตุที่ทำให้เกิดอ... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลกายภาพบำบัด คินออริจิ้น Kin Origin Healthcare Center

KIN Rehabilitation

  Kin Origin Healthcare Center           ศูนย์ดูแลด้านสุขภาพเพื่อการฟื้นฟูร่างกายอย่างครบวงจร... 

อ่านต่อ...

เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภาพ (Technology and innovation for health)

KIN Rehabilitation

เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภาพ (Technology and innovation for health)       KIN – Rehabilitation & Home... 

อ่านต่อ...

Sharing Room (ห้องรวม 6 เตียง)

KIN Rehabilitation

Sharing Room (ห้องรวม 6 เตียง)           ห้องรวม 6 เตียง ห้องพัก ช้้น 2 พื้นที่ขนาด 50 ตารางเม... 

อ่านต่อ...

ข่าวสาร บทความ บทสัมภาษณ์ Promotion

KIN Rehabilitation

 

อ่านต่อ...

โรคกระดูกทับเส้นประสาท

KIN Rehabilitation

โรคกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc)        สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ เมื่อหมอนรองกระดูกเกิดกา... 

อ่านต่อ...

บุคลากร แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา ทีมพยาบาล

KIN Rehabilitation

บุคลากร (Our Team)       แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ           แพทย์เฉพาะทางด้านโรคกระดูกและข้... 

อ่านต่อ...

บริการของ “KIN” (คิน)

KIN Rehabilitation

บริการของเรา (Programs)     “KIN” (คิน) คือ ศูนย์ดูแลด้านสุขภาพเพื่อการฟื้นฟูร่างกายอย่างครบวงจร ประกอ... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เนอสซิ่งโฮม (Nursing Home) รับดูแลผู้สูงอายุ ระยะสั้น ระยะยาว

KIN Rehabilitation

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ KIN Nursing Home           ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว เนอร์สซิ่งโฮม สถานพักฟื้... 

อ่านต่อ...

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อาการ ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่

KIN Rehabilitation

    สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อในท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เกิดอาการ ปวดหล... 

อ่านต่อ...

ปัญหาภาวะเครียด วิตกกังวล จากความเจ็บปวด

KIN Rehabilitation

ปัญหาภาวะเครียด วิตกกังวล จากความเจ็บปวด (Anxiety Disorder)        สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ 30 -... 

อ่านต่อ...

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease)

KIN Rehabilitation

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease)     สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ ? โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดย... 

อ่านต่อ...
KIN Rehab