รู้ทัน!! คอเลสเตอรอล (Cholesterol) สาเหตุของ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

 

คอเลสเตอรอล คือไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของคนเรา เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์น้ำดี ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนจากต่อมหมากไต และยังเป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์และปลอกประสาท ร่างกายของเราจะได้รับคอเลสเตอรอลทั้งจาก อาหารที่รับประทานเข้าไปจากภายนอกโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ จากสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูง แต่ตับของเราก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลขึ้นเองได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นคอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปมากเกินพอจึงกลายเป็นส่วนเกินของร่างกาย และจะไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดง และพอกพูนหนาขึ้นจนโพรงหลอดเหลือดแดงแคบลง เกิดการตีบตันจนเลือดเดินทางไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญๆ ไม่เพียงพอ จึงเกิดอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด เป็นสาเหตุการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) อัมพฤกษ์ อัมพาตจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ

 

คอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

  1. LDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่อันตรายเพราะจะเกาะตัวตามผนังของ หลอดเลือดแดง ซึ่งจะทำให้ควายืดหยุ่นเสียไป และเกิดหลอดเลือดตีบตันตามมา
  2. HDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์เพราะจะช่วยป้องกันการเกาะตัวของ LDL ที่ผนังของหลอดเลือดแดง ช่วยในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดตีบตันได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด

  1. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ ความอ้วน การขาดการออกกำลังกาย และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
  2. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ ผู้ชายที่อายุเกิน 45 ปี และผู้หญิงที่อายุ เกิน 55 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร

ผู้ที่มีคอเรสเตอรอลในเลือดสูงจะมีอาการหรือไม่ ?

ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะไม่มีอาการใด ๆ นอกจากจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น เจ็บแน่นหน้าอก ปวดน่องเวลาเดินหรืออัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งเป็นภาวะหลอดเลือด ในส่วนต่าง ๆ ตีบตัน

 

ใครที่มีความเสี่ยงที่จะมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ?

ผู้ที่มีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารไขมันในปริมาณสูงไม่รับประทานผักและผลไม้ ขาดการออกกำลังกาย ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ของภาวะคอเรสเตอรอลในเลือดสูง และอายุที่มากขึ้น

 

เราจะทราบระดับของคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อย่างไร ?

เราสามารถตรวจวัดระดับไขมันรวมทั้งคอเลสเตอรอลด้วยวิธีการตรวจเลือดโดยตรวจแยกชนิดของคอเลสเตอรอลและระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ผู้ที่จะรับการตรวจควรงดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 12 ชั่วโมง และควรงดแอลกอฮอล์ 72 ชั่วโมง

ค่าปกติของคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ควรน้อยกว่า 200 mg/dl

* LDL Cholesterol:

–  ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือเบาหวาน ระดับ LDL ควรน้อยกว่า 100 mg/dl (ควรน้อยกว่า 70 mg/dl ใน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง*)

–  ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวาน แต่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด** ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป ระดับ LDL ควรน้อยกว่า 130 mg/dl

–  ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวาน แต่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด** น้อยกว่า 2 ข้อ ระดับ LDL ควรน้อยกว่า 160 mg/dl ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ควรน้อยกว่า 150 mg/dl

*  HDL Cholesterol ควรมากกว่า 40 mg/dl

 

เราจะควบคุมระดับของคอเลสเตอรอล ในเลือดได้อย่างไร ?

  1. รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยและคอเลสเตอรอลต่ำได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง ไข่ขาว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง
  2. ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารทะเล (ยกเว้นปลา) หนังสัตว์ เนย เนยแข็ง นมไม่พร่องมันเนย
  3. รับประทานอาหารทีมีกากใยเช่น ผักและผลไม้
  4. หยุดสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะเพิ่ม LDL และลด HDL
  5. การออกกำลังกายเช่น การเดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น สามารถช่วยเพิ่มระดับ HDL และลด LDL ได้ โดยควรทำอย่างต่อเนื่องนาน 20-40 นาที/ครั้ง อย่างน้อย 4 วัน/สัปดาห์
  6. ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใช้ยาร่วมด้วยภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง คือ ผู้ป่วยที่เพิ่งเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวาน,ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่รุนแรง, และผู้ที่มีภาวะ Metabolic syndrome (อ้วน + ไตรกลีเซอไรด์ สูง + HDL ต่ำ)

เกณฑ์มาตรฐานของระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL Cholesterol)

  • ต่ำ : น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูง : มากกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ระดับคอเลสเตอลชนิดไม่ดี (LDL Cholerterol)

  • ปกติ : น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ใกล้เคียงปกติ : 100-129 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูงเล็กน้อย : 130-159 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูง : 160-189 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูงมากมากกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ระดับคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol)

  • ปกติ : น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูงเล็กน้อย : 200-239 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูง : มากกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตรระดับ

ระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

  • ปกติ : ต่ำกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูงเล็กน้อย : 150-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูง : 200-499 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูงมาก : มากกว่า 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 


สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
     
 โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab