ขยับเมาส์บ่อยจนเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) แก้ได้อย่างไร?


  เคยเป็นไหม นั่งทำงานอยู่ดีๆ อาการปวด และอาการชามือเกิดขึ้นอย่างไม่ทราบสาเหตุ จนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมนุษย์ไม่สังเกตเห็นถึงพฤติกรรมการใช้งานที่ผิดวิธี จนนำไปสู่การเกิด Carpal tunnel syndrome

 

      Carpal tunnel syndrome หรือโรคผังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นกลุ่มโรคกดทับเส้นประสาทที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นหลัก หรือชาว office worker เนื่องจากมีการใช้งานในท่าเดิมซ้ำๆ เช่น การใช้เมาส์ การพิมพ์คีย์บอร์ด จึงทำให้ข้อมือถูกกดทับตลอดเวลาจนเกิดผังผืดรัดตัว และกดทับเส้นประสาท median บริเวณข้อมือ    ทำให้เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวด และมีอาการชา โดยส่วนมากมักชาบริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง  ส่วนกลุ่มโรคอื่นๆ จากการกดทับเส้นประสาทที่พบได้น้อยกว่า ได้แก่ กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท median บริเวณข้อศอกที่เกิดการอักเสบหรือหนาขึ้นของกล้ามเนื้อ (Pronator teres syndrome) การกดทับของเส้นประสาท ulnar ที่ทำให้มีอาการปวด อาการชาบริเวณหลังมือของครึ่งซีกนิ้วนาง และนิ้วก้อย (Guyon cannel syndrome) เป็นต้น

 

สาเหตุของการเกิดโรคผังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท
 - ผู้ใช้งานข้อมือในลักษณะซ้ำๆ และเป็นประจำ เช่น ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการใช้เมาส์และแป้นพิมพ์ตลอดเวลา คนขับรถที่มีการใช้พวงมาลัยในท่าเดิม และการเขียนหนังสือนานๆ เป็นต้น
 - ภาวะอ้วน เนื่องจากทำให้ผังผืดบริเวณข้อมือเกิดการรัดตัวได้ง่ายขึ้น จนทำให้เกิดอาการชาได้
 - เพศหญิงจะมีโอกาสเกิดการกดทับของเส้นประสาทได้มากกว่าเพศชาย รวมทั้งในภาวะตั้งครรภ์ที่ทำให้เกิดการบวมคลั่งของของเหลวบริเวณข้อมือ และทำให้เกิด Carpal tunnel syndrome
 - อุบัติเหตุบริเวณข้อมือ ซึ่งสามารถเกิดได้จากข้อมือหัก ข้อมืออักเสบ ซึ่งมีผลทำให้เส้นประสาทถูกกดทับได้
 - โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Hypothyroid, เบาหวาน, เกาต์ เป็นต้น

 

อาการของการเกิดโรคผังผืด ข้อมือกดทับเส้นประสาท
 - มีอาการชา ส่วนมากมักพบอาการชาทั้งแต่ข้อมือจนถึงบริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หรือในบางรายอาจพบอาการได้ทั้งฝ่ามือ
 - อาการอ่อนแรงของมือ กล้ามเนื้อบริเวณข้อมือฝ่อลีบ เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับมากขึ้นหรือเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้หยิบจับของลำบาก เนื่องจากมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อฝ่ามือ
 - มีอาการปวดข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือได้ มักเด่นชัดในข้อมือข้างที่ถนัด หรือใช้งานมากกว่า
 - รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ซ่าๆ คล้ายถูกไฟฟ้าช็อตที่ปลายนิ้ว

 

การรักษาโรคผังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท
 - รักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งมักทำในรายที่เคยทำการรักษาแต่อาการไม่ดีขึ้น และมีอาการปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเป็นการผ่าตัดผังผืดที่คลุมบริเวณเส้นประสาทข้อมือที่ถูกกดทับ เพื่อให้เกิดช่องว่าง และลดแรงกดทับบริเวณข้อมือลง
 - รักษาด้วยการฉีดยา หรือรับประทานยา เพื่อลดอาการปวด และแก้อักเสบของผังผืดข้อมือ 
 - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน เพื่อไม่ให้อยู่ในท่าเดิม หลีกเลี่ยงการกระดกข้อมือ การใช้ข้อมือซ้ำๆ ในท่าเดิม โดยเปลี่ยนมาใช้ข้อศอก หรือข้อไหล่ในการทำกิจกรรมที่มีอาการปวดแทนการใช้ข้อมือ
 - ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ทำงานในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเปลี่ยนรูปแบบการใช้เมาส์ เพื่อไม่ให้ข้อมือถูกกดทับกับโต๊ะทำงานมากเกินไป หรือการใช้ที่วางข้อมือขณะพิมพ์งาน
 - การทำ กายภาพบำบัด โดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดรักษา เช่น อัลตร้าซาวด์ ประคบเย็นประคบร้อน และออกกำลังข้อมือ เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เป็นต้น

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 

สำหรับใครที่สนใจ หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมในการรักษาฟื้นฟูกับ KIN
สามารถติดต่อได้ที่  
 โทร : 02-096-4996 กด 1 , 091-803-3071 , 095-884-2233
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab