สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ รู้ทัน ป้องกันได้ !
ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและในการดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่สำคัญในอันดับต้น ๆ ซึ่งลูก ๆ หลาน ๆผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านจำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ จากภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยด้วยโรคต่าง ๆที่เป็นอยู่ ผู้สูงอายุบางคนอาจมีภาวะโรคซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม และภาวะความเครียดและความวิตกกังวล แอบแฝงอยู่อย่างไม่รู้ตัว ซึ่งผู้ดูแล และคนใกล้ชิดต้องหมั่นคอยสังเกตว่าลักษณะการแสดงออกแบบใด ที่เป็นสัญญาณน่าห่วงในเรื่องสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เพื่อที่จะได้รู้ทัน ป้องกันได้ !
การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ มีทั้งหมด 3 รูปแบบดังนี้
- การเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
- การเจ็บป่วยเรื้อรัง ท้อแท้กับการรักษา
- การสูญเสียสถานภาพและบทบาททางสังคม
- การสูญเสียสมาคมกับเพื่อนฝูง อยู่ในสภาวะพึ่งพิงผู้อื่น
- อารมณ์แปรปรวน , ตึงเครียด , โกรธง่าย
- วิตกกังวล , ความจำ , ความเข้าใจน้อยลง
ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีทั้งหมด 3 หลัก ดังนี้
พบได้ร้อยละ 30-50 % ในผู้สูงอายุ เป็นการป่วยทางจิตใจ ไม่มีความสุข ซึมเศร้าและหม่นหมอง
แยกตัว อยากอยู่เงียบๆ คนเดียว มองตัวเองไร้ค่า เป็นภาระคนอื่น ซึ่งร้อยละ 90 ของการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า
สาเหตุของภาวะซึมเศร้า
ทางด้านร่างกายและสิ่งแวดล้อม
- พันธุกรรมหรือการมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าในครอบครัว
- เป็นโรคทางกายที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสมอง
- ผลข้างเคียงจากยาที่รับประทานเป็นประจำ
- การปรับตัวไม่ได้ต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
- การประสบความเครียดจากการดาเนินชีวิตประจำวัน การทะเลาะเบาะแว้ง ของคนในครอบครัว
ทางด้านจิตใจ
- การไม่สามารถปรับตัวต่อการสูญเสีย
- ความเครียดในเรื่องต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นความทุกข์ใจ ไม่สบายใจผิดหวัง เสียใจน้อยใจ
- บุตรหลานไม่ปรองดองกันไม่ได้รับการยอมรับนับถือจากลูกหลานเห็นว่าอายุมากแล้ว
- ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การรักษาและป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
การรักษา
1.การรักษาด้วยยาจิตบำบัด
- ยาที่นิยมใช้คือ nortriptyline และยาในกลุ่ม SSRis เช่น fluoxetine และ paroxetine
- การสนับสนุนและให้กำลังใจ
- แนะนำครอบครัวเกี่ยวกับการปฎิบัติเพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังและมีแรงจูงใจในการรักษา
- แนะนำผู้ป่วยให้รับประทานอาการถูกสุขอนามัย
- ให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน
- การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัยให้ครบ 3 มื้อ
- ออกกำลังกายทุกวัน
- เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำปี
พบได้ร้อยละ 6-12% ในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และ 35% เมื่ออายุ 85 ปีขึ้นไป โดยจะพบได้มากที่สุดในโรคอัลไซเมอร์ Alzheimer’s disease (AD)
ซึ่งเกิดความผิดปกติทางด้าน - สติปัญญา , ความคิด , ความจำบกพร่อง
- หลงลืมทั้งความจำระยะสั้นและระยะยาว มีปัญหาในการพูด
- ไม่เข้าใจภาษา มีความสับสนในเรื่องของเวลา , สถานที่ , บุคคล
- มีความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม
ภาวะสมองเสื่อม แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
- ระดับไม่รุนแรง (Mild)
- ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม อาจจะหลงลืมเหตุการณ์ปัจจุบันที่เพิ่งเกิดขึ้นไปทันทีทันใด
- ผู้ป่วยเริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคม
- ระดับปานกลาง (Moderate)
- ผู้ป่วยเริ่มมีความบกพร่องในความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
- ผู้ป่วยเริ่มลืมชื่อคนในครอบครัว
* ซึ่งช่วงท้ายของผู้ป่วยในระดับปานกลาง ผู้ป่วยอาจมีภาวะทางจิตได้ โดยผู้ป่วยในระดับปานกลางยังช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวตามลำพัง เพราะอาจเป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้
- ระดับรุนแรง (Severe)
- ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลยแม้แต่การทำกิจวัตรประจำวัน
- ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำเหตุการณ์ปัจจุบันที่เพิ่งเกิดขึ้นไปทันทีทันใดได้เลย และจำญาติพี่น้องไม่ได้เลย
- ผู้ป่วยจะมีบุคลิกที่เปลี่ยนไป
- ผู้ป่วยจะมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง
การรักษาและป้องกันภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุ
- รักษาสาเหตุของโรค
- ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย
- ให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้ป่วยโดยให้กำลังใจ
- การรักษาด้วยยาจิตบำบัด
- ทำงานที่ต้องใช้ความคิดและสมาธิสูงยิ่งเป็นงานที่ท้าทายและซับซ้อนได้ยิ่งดี
พบได้ร้อยละ 22-60% ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยความเครียดเป็นปัญหาหลัก ๆ ในผู้สูงอายุ ที่สามารถสังเกตอาการได้
การรักษาและป้องกันภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุ
- การพักผ่อน ควรพักผ่อนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ไม่เคร่งเครียดหรือวิตกกังวลจนเกินเหตุ
- พาผู้สูงอายุไปพบเจอเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ลูกหลาน เพื่อให้เกิดการเข้าสังคม ลดภาวะความเครียดจากการอยู่คนเดียว
- นั่งสมาธิ เข้าวัดให้ศาสนา เป็นที่พึ่งทางจิตใจของผู้สูงอายุ ช่วยเสริมสร้างความหวังและความสุข
- หางานอดิเรกที่ชื่นชอบ เช่น เล่นดนตรี ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เพื่อทำให้จิตใจเพลิดเพลิน
- ออกกำลังกาย เดิน วิ่ง ให้ร่างกายได้เกิดการผ่อนคลาย
ข้อมูลโดย : กภ.ปิยชนน์ โรจนกูล , กภ.กภ.ปวรวรรณ อุราวรรณ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare








