ตกหลุมรักเธอคนเดิมซ้ำ ๆ จะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำไหมนะ!?

คุณเป็นโรค OCD หรือไม่ ไปเช็กกัน!

 

โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD  (Osessive-Compulsive Disorder) เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการป่วยทางจิตเวช เป็นภาวะสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับความคิดซ้ำ ๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ และเป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนสงสัยอยู่ว่าตนเองนั้นเข้าข่ายต่ออาการป่วยหรือไม่ ขณะที่ผู้ป่วยบางรายก็ประสบอยู่โดยไม่รู้ตัว แต่ถึงอย่างไรนั้นโรคย้ำคิดย้ำทำไม่ใช่โรคที่อันตราย แต่ก็ก่อให้เกิดความทุกข์ใจ และสร้างปัญหาต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การงาน หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้ ดังนั้น การตกหลุมรักเธอคนเดิมซ้ำ ๆ ไม่ได้เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำนะคะ

 

สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ
1. พันธุกรรม 
มีการศึกษาเทียบโอกาสการเกิดโรคในกลุ่มทายาทในตระกูลของคนที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ จะสูงกว่ากลุ่มควบคุมประมาณ 3-5 เท่า (แต่การศึกษาไม่ได้แยกปัจจัยอื่น ที่อาจมีอิทธิพลต่อผลของการศึกษา เช่น การเลี้ยงดู หรือวัฒนธรรมประเพณี) และมีการศึกษาเทียบโอกาสการเกิดโรคจะเกิดในคนที่เป็นแฝดไข่ใบเดียวกันมากกว่าแฝดไข่คนละใบ 

2. สารสื่อประสาท หรือสารเคมีในสมอง 
มีการศึกษาที่สนับสนุนในเรื่องการเสียสมดุลของสารสื่อสารประสาทที่ชื่อว่า “Serotonin” เกี่ยวข้องกับอาการย้ำคิดย้ำทำ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบว่าการดเสียสมดุลของ Serotonin ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร แต่ยาที่มีผลต่อระดับ Serotonin ในสมองสามารถใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ 

3. กายวิภาคทางสมอง 
จากการศึกษาการทำงานของสมองของผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ ได้พบการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองส่วน Orbitofrontal Cortex, Caudate และ Thalamus ทำให้เกิดการตั้งสมมติฐานการเกิดโรคย้ำคิดย้ำทำมีความเกี่ยวข้องกับวงจรสมองที่เรียกว่า Coticostriatal Pathway 

4. ปัจจัยทางความคิด และพฤติกรรม 
ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ มีแนวโน้มประเมินผลร้ายจากความคิดที่ผุดขึ้นมาของตนเองมากเกินไป ไม่สามารถอดทนต่อความกังวลที่เกิดขึ้นได้ ทำให้เกิดการแก้ไขความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างไม่เหมาะสม เช่น การย้ำทำ หรือการหลบเลี่ยง อันเป็นสิ่งที่ยิ่งกระตุ้นให้ความคิดผุดขึ้นมาบ่อยมากขึ้น 

5. ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านจิตใจ 
จริงๆ รายละเอียดของทฤษฎีค่อนข้างยากที่จะทำความเข้าใจ ดังนั้นจึงขออนุญาตอธิบายคร่าวๆ ว่า การเลี้ยงดูที่มีลักษณะเข้มงวดกวดขันมากเกินพอดี อาจสามารถส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในใจ ได้แก่ วิตกกังวล ก้าวร้าว เคลือบแคลงใจ และลังเลใจ เมื่อเกิดความขัดแย้งในใจขึ้นมาแล้ว ธรรมชาติของใจจะมีกลไกป้องกันทางจิตที่พยายามประนีประนอมความขัดแย้งนี้ ซึ่งนำมาสู่การแสดงออกของอาการย้ำคิดย้ำทำที่เกิดขึ้น

 

อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ

อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ จะถูกแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ อาการย้ำคิด (Obsession) และอาการย้ำทำ (Compulsion)

1. อาการย้ำคิด

คือ การมีความคิดหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเองซ้ำๆ โดยไร้เหตุผล ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลใจ ความไม่สบายใจอย่างมาก เช่น

  • คิดซ้ำ ๆ ว่าจะทำร้าย หรือทำสิ่งไม่ดีกับคนอื่นหรือตัวเอง
  • คิดซ้ำ ๆ ว่าลบหลู่ หรือด่าว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • กลัวเชื้อโรค กลัวความสกปรก
  • คิดซ้ำ ๆ ว่าลืมปิดแก๊ส หรือลืมล๊อคประตู

2. อาการย้ำทำ

คือ พฤติกรรม หรือการกระทำการบางอย่างซ้ำ ๆ เพื่อป้องกัน หรือช่วยลดความไม่สบายใจจากความย้ำคิดข้างต้น และเป็นการกระทำที่ตนเองก็รู้สึกได้ว่าไร้เหตุผล ไร้สาระที่จะกระทำแต่ก็หักห้ามจิตใจไม่ให้ทำไม่ได้ เช่น

  • เช็คลูกบิดประตู หรือวาล์วแก๊สซ้ำ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าปิดเรียบร้อยแล้ว
  • ล้างมือซ้ำเพราะคิดว่ามือสกปรก
  • นับของซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • ซักผ้าหรือทำความสะอาดมากเกินไป

การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ

1. การทำจิตบำบัดแบบ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) 

เป็นวิธีที่ใช้ในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำได้ดี เป็นการบำบัดให้ผู้ป่วยเปลี่ยนวิธีการคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ไม่ควรรีบร้อนจนเกินไป ทั้งนี้ควรได้รับความร่วมมือจากคนใกล้ชิด โดยต้องมีความเข้าใจในอาการและแนวทางการรักษาร่วมกัน

2. การรับประทานยา

การรับประทานยาร่วมกับการทำจิตบำบัดแบบ Cognitive Behavioral Therapy จะให้ผลการรักษาดีกว่า แพทย์จะให้ยาช่วย ผู้ป่วยควรรับประทานอย่างต่อเนื่อง และมาพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ เพื่อให้การรักษาได้ผลดี

3. การรักษาด้วย rTMS (Repetitive Transcranial Stimulation หรือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบซ้ำๆ)

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นายแพทย์อินทณัฐ ผู้สันติ

 

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-096-4996 กด 1
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab