รายการคิดเพื่อชาติ ⎜สัมภาษณ์ คุณธงชัย โชคถนอมทรัพย์ เรื่อง พัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุในชนบท


ออกอากาศ 21 พ.ค. 66 เวลา 20.30 - 21.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ TNN2 ทรูวิชั่นส์ช่อง784 Application TrueID สื่อออนไลน์ Facebook และ Youtube TNN2 และ TNN16

แขกรับเชิญ : คุณธงชัย โชคถนอมทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร KIN - Rehabilitation & Homecare และ kin Origin health care
นักศึกษาหลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง (สวปอ.มส. SML) รุ่นที่ 4
คุณพิเศษศักดิ์ ภักดีเทวา 
นักศึกษาหลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง (สวปอ.มส. SML) รุ่นที่ 4
พิธีกร : คุณไรลา อินทรผล
 

 

รายการคิดเพื่อชาติ รายการที่ได้รับความร่วมมือจากสมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรร่วมมือกับ TNN 2 ผลิตรายการเพื่อเรียนเชิญนักศึกษาจากสวป.อมส sml ในแต่ละปีในแต่ละรุ่นหลังจากเข้ารับการศึกษา มาร่วมแสดงความคิดเห็นมาแสดงออกเพื่อเป็นพลัง เรียกว่าเปลี่ยนความรู้มาพัฒนาประเทศชาติมาจุดประกายสร้างไอเดียปลุกพลังบวก พลังดีๆให้เกิดขึ้นในเมืองไทย 


เราได้ไปดูงานวิจัยที่น่าสนใจในประเทศไทยปี 2565 สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึง 20% รวมไปถึง ปี 2576 บอกว่าประเทศไทยนั้นจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ทำยังไงกันดีล่ะ

 


 

รายการของเราได้มองเห็นในเรื่องของกลุ่มวิชาการกลุ่มหนึ่งเขารวมตัวกันทำงานวิชาการทางด้านผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และที่สำคัญมีการลงพื้นที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว จึงขอเรียนเชิญกลุ่มวิชาการสังคมจิตวิทยา 2 มาร่วมพูดคุยในหัวข้อ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชนบท” 


โจทย์ของเราก็คือ “การพัฒนาชีวิตผู้สูงวัยในชนบท” ได้มีโอกาสรู้จักกับท่านผู้ว่าแล้วสนทนากัน
ท่านผู้ว่าบอกว่ามีกลุ่มประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ หมู่ 8 ตำบลบุ่งคล้า ที่เขาจัดทำเป็นต้นฉบับลองทำกันเองแล้วดูแล้วน่าสนใจก็เลยไปใน ชัยภูมิ คืออะไร เป็นเมืองที่น่าอยู่ เมืองเล็กนิดเดียวน่าสนุกมากครับ
เป็นเมืองที่น่าอยู่มาก ท่านผู้ว่าทำการบ้านเยอะมาก ท่านผู้ว่าเพิ่งไปประจำตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคมปี 65 นี้เอง แต่ท่านให้ความรู้เยอะมาก เราลองสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับท่านปลัดท่านนายกอบต ท่านค่อนข้างให้ความรู้ ให้ข้อมูลได้ชัดเจนดีมาก ประกอบกับมีโมเดล เราถึงได้ไปเพื่อจะทำวิจัยเรื่องนี้ครับ 


โมเดลของท่านผู้ว่า เป็นโมเดลพิเศษมาก เขาทำกันอบอุ่นมากกลุ่มผู้สูงอายุที่ บุ่งคล้า ทำยังไงบ้าง?


เรื่องนี้เราเรียนที่ สวปอ 14 sml เราจะพูดถึง “ยุทธศาสตร์ชาติ” ในบทนึงกล่าวไว้ว่าฉบับที่ 13 ปี 66-70
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย เป็นสิ่งที่จะต้องพึงกระทำ เพราะฉะนั้นในโมเดลนี้มีกลุ่มประชาชนกลุ่มหนึ่งโดยที่มีนายตำรวจเกษียณอายุ กับผู้ใหญ่บ้านได้รวมตัวกันได้เอาชุมชน ประชาชน ผู้สูงวัยประมาณ 100 คนมารวมกลุ่ม มีการเก็บเงินกันเดือนละ 100 บาท แล้วมารวมกัน เสร็จแล้ว 100 บาทเอาไปทำอะไร เอาไปเยี่ยมเมื่อมีคนเจ็บป่วยในสมาชิก จำนวน 1,000 บาท มีเสียชีวิต 2,000 บาท  เป็นโมเดลตั้งต้น หลังจากนั้น ปรากฏว่าโมเดลนี้ เรื่องเงินไม่ได้ปัจจัยสำคัญ บริบทที่สำคัญคือเป็นเรื่องจิตใจ การที่มีสมาชิกหรือชมรมไปเยี่ยม ทำให้เขารู้สึกมีจิตใจ มีกำลังใจที่ดีขึ้น ผู้ใหญ่บ้าน บอกว่าเดิมที เจ็บป่วยอาจจะ 10 วัน เสียชีวิตจะอยู่ได้อีก 20 วัน หมายถึงว่าถ้าอยู่ได้ 2 ปีจะอยู่ต่อได้ 2 ปีเป็น 4 ปี กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มเราที่อยากไปศึกษาเรื่องนี้ครับ 


เรียกได้ว่าเป็นการทำโครงการหรือว่าเป็นโมเดลที่สร้างความอบอุ่นสร้างพลังบวก แบบต่างคนต่างให้ความสำคัญ แคร์ซึ่งกันและกัน กลายเป็นที่มาของการจัดทำงานวิชาการ 


ที่มาที่ไปวัตถุประสงค์รวมไปถึงรายละเอียดการแบ่งการทำงานของกลุ่มวิชาการของเราเป็นยังไงบ้าง


วัตถุประสงค์ที่เราทำเรื่องผู้สูงอายุในชนบท เดิมกลุ่ม SML3 เขาดูกลุ่มผู้สูงอายุในเมือง จริงๆในประเทศไทยความเป็นชนบทมันมากกว่าในเมือง ในเมืองมีประมาณ 20%  ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ 20% ของ คนอายุ 60 ปี เป็นคนสูงอายุแล้ว อีก 10 ปี  20% ที่เป็น Aging Society มาถึงประมาณ 30% จะเป็น Super Aging Society อีก 10 ปีข้างหน้า ฉะนั้นในแง่ของการบริหารการจัดการก็ต้องปรับเปลี่ยนไป เพราะ 1.คือ ถ้าผู้สูงอายุมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ 1 ประชากรในวัยทำงานจะลดลง อันนี้เห็นได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันคนเกิดน้อยกว่าคนตาย ช่วงโควิดที่ผ่านมา สังเกตเห็นได้ว่า อัตราการเกิดของประชากรน้อยมาก เรื่องทีจะเกิดขึ้นมาต่อไปคือ การพัฒนาของประเทศชาติก็จะลดน้อยถอยลง เพราะว่า 1 คนทำงานลดลง คนทำงาน 1 คนต้องดูแลผู้สูงอายุหรือดูเด็กมากขึ้น บริบทจะเปลี่ยนไปถ้าเราไม่ทำอะไรเลยหรือว่าเรายังไม่ดำเนินการแนวทางเดิมๆ อาจจะเป็นปัญหาในระยะยาว เราก็สนใจว่าโมเดลที่บุ่งคล้าเหมือนทางพี่ปิงปองแจ้งไว้ เป็นโมเดลที่เป็นลักษณะของชาวบ้านช่วยกันเอง แล้วก็ไม่ต้องใช้เงินสนุบสนุนจากภาครัฐ เป็นโมเดลที่น่าสนใจมาก


กลายเป็นหัวข้อที่ชื่อว่า “การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท” 


ที่ชื่อว่าการพัฒนาคุณสมบัติคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท กรอบและแนวทาง รวมไปถึงวางตัวอย่างไร แบ่งทีมอย่างไรในการทำงานเพื่อให้ได้เป็นผลงานวิชาการที่สุดยอด ทำอย่างไรบ้าง


ตอนที่เราได้รับโจทย์มาจากอาจารย์เราก็มาแบ่งกลุ่ม มีประธานกลุ่มมีรองประธานกลุ่ม มีกลุ่มฝ่ายวิชาการมีกลุ่มลงพื้นที่ มีกลุ่มหาข้อมูลเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ ที่มาประกอบกันเพื่อผนวก เพราะว่าผลงานตัวนี้ที่เราทำวิจัยมีความต้องการที่อยากจะส่งไปถึงรัฐบาลหรือผู้นำประเทศเพื่อเป็นแนวทางหรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ในการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติที่กล่าวไว้เมื่อสักครู่ ดังนั้นเมื่อกลุ่มต่างๆได้ข้อมูลต่างๆ เราถึงจะลงพื้นที่ตามไป นี่ก็คือสิ่งที่เราเริ่มแบ่งการทำงาน เมื่อเราแบ่งกลุ่มเสร็จฝ่ายวิชาการหาข้อมูลมาได้ การลงพื้นที่ก็เริ่มดำเนินการขึ้นวิธีการทำงานก็คือเราไปหาท่านผู้ว่าเพื่อสัมภาษณ์นโยบายของทางภาครัฐในส่วนของผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ถัดมาเราไปสัมภาษณ์ท่านนายกอบต และท่านปลัดอบต เสร็จแล้วเราได้ทำโฟกัสกรุ๊ปกับกลุ่มประชาชนจริงๆ ของชมรมผู้สูงวัย มีประชาชนมา 10-20 คน พี่อยากให้ความรู้ พอเราเข้าไปเขาสนใจ เขาทำอยู่แล้ว เราบอกว่าเราจะไปทำผลงานเพื่อนำมาผสมผสานแล้วนำเสนอในเชิงนั้น สิ่งที่เราเห็น เห็นความตั้งใจเขา เราก็มีความสุขในการลงไปพื้นที่และมีความสนุกมากสิ่งที่ได้มาเป็นข้อมูลในหลายมิติมากครับ 


เรื่องแรก เรื่องจิตใจ ปรากฏว่าสังคมผู้สูงวัยในชนบท บริบทมันเปลี่ยน จากเดิมในหมู่ 8 บุงคล้าที่เป็นโมเดลที่ศึกษา เดิมทีเป็นเกษตรกรรมเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ที่พ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกัน ปรากฏว่ามันเปลี่ยนเนื่องจากความเจริญ จากเมืองมันขยายมีโลตัส มีไทยวัสดุมี Global มีอะไรต่างๆ มีโรงงานอุตสาหกรรม

พ่อแม่อยู่บ้าน แล้วว้าเหว่เหงา ปรากฏว่าพอบริบทมันเปลี่ยนลูกหลานนำเงินมาให้พ่อแม่ พ่อแม่ไม่ต้องการเงิน ต้องการการดูแลพูดคุย ปรากฏว่าพอเราเข้าไปศึกษาเมื่อสังคมเปลี่ยนสิ่งที่เขาอยากได้คือการมารวมกลุ่ม ท่านผู้ว่าเลยให้แนวทางว่าจะจัดทำโรงเรียนผู้สูงอายุ จำกัดความว่าโรงเรียน อย่าไปมองว่าโรงเรียนคือโรงเรียน โรงเรียนหรือที่รวมกลุ่มเพื่อให้ผู้สูงวัยมาพูดคุยกัน และก็ให้บูรณาการให้กระทรวงสาธารณสุขส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้เรื่องสุขภาพ เพราะในปัจจุบันในหมู่นี้มี อสม. ที่แบ่งการดูแล 1/10 อสม. 1คน ดูแลผู้สูงวัย 10 คน เขามีเครื่องวัดความดัน วัดการเต้นหัวใจ วัดเบาหวาน ให้ความรู้ ถ้าโรงเรียนนี้เกิดขึ้น และสาธารณสุขให้พื้นฐาน เกี่ยวกับการป้องกันสุขภาพ เชื่อว่าผู้สูงวัยจะสุขภาพแข็งแรง มันเป็นการลดต้นทุนที่จะไม่ต้องเข้าไปโรงพยาบาล

อีกส่วนหนึ่งที่จะบูรณาการคือกระทรวงศึกษา ส่งครูเพื่อมีความรู้มาให้สันทนาการกับความรู้ทั่วไปที่ผู้สูงอายุควรจะพึงรู้ และอันสุดท้ายนี้ก็คือเรื่องการมีอาชีพเล็กๆน้อยๆ พอจะทำอะไรได้เป็นประโยชน์ต่อสังคม นี่คือสิ่งที่เราลงไปแล้วเราได้สิ่งนี้กลับมา


เรียกว่าจิตใจ รวมไปถึงการรวมกลุ่มเพื่อที่ให้เขามีสันทนาการมีการแลกเปลี่ยนให้ความอบอุ่นซึ่งกันและกัน จะทำให้ผู้สูงอายุนั้นเขามีความสุข ที่สำคัญก็จะมีพลัง อาจจะเป็นแรงงานสำคัญในผู้สูงวัยก็ได้นอกจากนี้ต้องเรียนถามเพิ่มเติมในฐานะที่พี่ธงเองก็มีกิจการธุรกิจเกี่ยวกับทางด้านผู้สูงอายุแนวโน้มผู้สูงอายุนับวันก็จะเติบโตมากขึ้น ทางด้านภาครัฐเอง ควรจะต้องทำยังไงบ้างเพื่อจะเป็นการเตรียมการรับมือในด้านของสังคมที่จะเติบโตมากขึ้น

 



ผมอธิบายในเรื่องของธุรกิจของ Nursign Home ก่อนนะครับ ว่า ณ ปัจจุบันในแง่ของตัวภาคเอกชนที่เข้ามาช่วยในส่วนของภาครัฐ คือคล้ายๆโรงพยาบาลเอกชน ถ้าโรงพยาบาลเอกชน Support กลุ่มคนที่มีรายได้ที่จะ support ช่วยเหลือตัวเองได้หรือว่าครอบครัวที่มีฐานะ ก็จะมาใช้บริการของ Nursing Home ก็ไม่ต้องใช้งบประมาณของภาครัฐ Nursing Home ก็เป็นธุรกิจที่ดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ  เพราะว่าไม่ใช่แค่มาฝากมาไว้เฉยๆเหมือนโรงพยาบาล แต่จะมีคุณหมอที่ยังคอยตรวจเยี่ยม และมีพยาบาลคอยดูแล และมีนักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด และน้องบริบาล ซึ่งจะดูแลทุกๆเรื่อง ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ คือผู้สูงอายุอาจจะปกติตอนนี้ก็คือลักษณะครอบครัวไทยเป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยวเยอะ ยิ่งในเมืองจะสังเกตว่า Nursing Home เกิดขึ้นมาเยอะมาก อัตราการเจริญเติบโตในธุรกิจ Nursing Home คือประมาณ หมื่นล้านบาทในประเทศไทยและอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 1.5 เท่าเติบโตทุกๆปี ถ้าโมเดลคือธุรกิจผู้สูงอายุทั้งหมดประมาณแสนล้านเราก็มองว่า Nursing Home มาช่วยแบ่งเบาภาระของภาครัฐ และเดี๋ยวนี้กรมสนับสนุนสุขภาพมีมาตรฐานในเรื่องของการดูแลมากขึ้น คนที่จะมาจัดตั้ง Nursing Home ได้ 1 ต้องขออนุญาต ผู้ดูแลต้องสอบ น้องนักบริบาลก็ต้องสอบ มีมาตรฐานในการดูแลสูงขึ้น ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว เพราะถ้าเกิดผู้สูงอายุ ถ้าปล่อยให้อยู่บ้านคนเดียว อาจเกิดอันตรายขึ้นมาได้ และอาจจะเกิดความเหงา และไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรเลย ความเสี่ยงก็จะตามมาเช่น อาจจะเป็นลักษณะโรคอัลไซเมอร์ หลงลืม การที่ผู้สูงอายุมานั่งทำกิจกรรมก็เหมือนกับฝึกบริหารสมอง ทำให้ท่านสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และอยู่อย่างมีความสุข ถ้าเกิดผู้สูงอายุเมื่อไหร่เกิดติดเตียง อาจจะเป็นภาระ ถ้าผู้สูงอายุยังช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้สูงอายุที่อายุน้อยๆ มาช่วยเหลือสูงอายุเยอะๆ ก็เป็นผู้สูงอายุดูแลผู้สูงอายุ  รัฐบาลไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ถ้าเกิดว่าสูงอายุแล้ว เราต้องมาดูแลทั้งหมดก็คือปัญหาสำคัญ คือเกิดจากตรงนี้ ฉะนั้นทุกๆท่าน พอเราเติบโตไป เราก็ต้องเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ถ้าเรารักษาสุขภาพให้ดี เราก็จะเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข 


เรียกได้ว่าถ้าเราจะช่วยเหลือรัฐในการแบ่งเบาภาระ คือ 1 ดูแลผู้สูงอายุ เรามีเวลาดูแลคุณพ่อคุณแม่ให้มีความสุข แต่ถ้าเราไม่มีเวลาเราก็ไปที่โรงเรียนหรือ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของภาคเอกชน ถ้าภาครัฐในอนาคต ถ้ามีงบประมาณที่จะจัดตั้งได้ก็น่าจะต้องทำ เพราะสิ่งนี้ที่เราไปเจอที่ชัยภูมิ จะเจอปัญหา ถ้ากรณีผู้สูงอายุที่ติดเตียงอยู่ที่บ้าน ทาง อสม. เขาไปช่วยได้แต่ก็เป็นช่วยได้ครั้งคราว เพราะเนื่องจากงบประมาณ และอัตราการดูแลต่ำมาก ถ้ามีงบประมาณที่ว่ามาพักอาศัยและจัดตั้งเป็นศูนย์ได้ ก็จะช่วยเหลือได้เยอะขึ้นมาก


เรียกได้ว่าทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุจนเห็นช่องทางอยากพัฒนาประเทศ อยากให้ผู้สูงอายุนั้นลดลง แล้วท่านคิดว่าบทความวิชาการของกลุ่ม จะจุดประกายให้ทางรัฐเขาเตรียมต้อนรับผู้สูงอายุอย่างไรหรือว่าดูแลอย่างไร หรือว่าจะเปลี่ยนแปลงพัฒนาประเทศได้อย่างไร

 

 

 
#คิดเพื่อชาติ #วปอ #สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรในพระบรมราชูปถัมภ์ #TNN2 #ทรูวิชั่นส์ช่อง784 #TNN #TNNThailand #TNNช่อง16 #TNNONLINE #SML4 #PR.SML4

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 

สำหรับใครที่สนใจ หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมในการรักษาฟื้นฟูกับ KIN
สามารถติดต่อได้ที่  
 โทร : 02-096-4996 กด 1 , 091-803-3071 , 095-884-2233
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวประชาสัมพันธ์ อื่นๆ

KIN Rehab