สิ่งที่ควรทำก่อนรับการรักษาฝังเข็ม
ศาสตร์การฝังเข็ม
ส่วนใหญ่คนมักรู้จักกับการฝังเข็มแผนจีน (Acupuncture) ในการรักษาโรคต่างๆ แต่ในปัจจุบันการฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling) ก็มีการแพร่หลายและนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งการฝังเข็มทั้ง 2 แบบนี้ ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การยอมรับว่าเป็นการรักษาที่ดี และปลอดภัยมากกว่าการใช้ยาและไม่มีผลข้างเคียงอีกด้วย
2.การฝังเข็มแผนตะวันตก (Dry needling) จะฝังไปที่กล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัวเป็นก้อน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการปวดโดยตรง นิยมใช้รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อจากในอาการ Office syndrome หรือ Myofascial pain syndrome และมีงานวิจัยระดับสากลรองรับมากมาย รวมถึงสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย ก็ยังแนะนำให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา myofascial pain syndrome
สิ่งที่ควรทำก่อนรับการรักษา
- รับประทานอาหารก่อนมาฝังเข็ม เพราะถ้าท้องว่างมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ควรสวมเสื้อผ้าแบบสบาย ๆ
- ขณะรับการฝังเข็มถ้าอาการผิดปกติต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวและยาที่รับประทานประจำ
สิ่งที่ควรรู้
- ความถี่ของการฝังเข็มขึ้นอยู่กับอาการ
- สามารถฝังเข็มได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือให้ห่างกันมากกว่า 3 วัน ขึ้นอยู่กับอาการ
- อาจเกิดการระบมได้บ้างหลังการฝังเข็ม แต่จะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน
ข้อห้ามสำหรับการฝังเข็ม
1. ผู้ที่เพิ่งออกกำลังกายอย่างหนัก
2. ผู้หญิงตั้งครรภ์
3. ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย หรือได้รับยาละลายลิ่มเลือด
4. ผู้ที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย
5. ผู้ป่วยที่มีเลือดออกง่าย โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
6. ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยทางจิตเวช หรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้
ขอขอบคุณข้อมูล : นพ.กฤษณะ เกียรติโชควิวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู