ปวดกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง อันตรายกว่าที่คิด !!

 

กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง หรือ Myofascial pain syndrome (MPS)

   ปวดแขน ปวดหลัง ปวดบ่า! นอนก็ไม่หลับ กินยาก็ไม่หาย แก้ยังไงดี!? ใครเป็นแบบนี้บ้าง ทำงานอยู่ก็รู้สึกปวดหลัง กินยาก็ไม่ช่วยอะไร กระทบการทำงานมากเพราะไม่มีสมาธิ บางทีก็รู้สึกปวดจนร้าวไปจุดอื่น รู้หรือไม่ว่า? อาการแบบนี้อาจเป็นอันตรายกับร่างกาย ทำให้ร่างกายและจิตใจเจ็บไปด้วย ทำให้ชีวิตประจำวัน และประสิทธิภาพทำงานลดลง

   กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) คือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการอักเสบได้ อาจเกิดจากบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ การทำงาน การเล่นกีฬา การเจ็บป่วย การใช้ยาบางชนิด หรือเกิดจากการติดเชื้อ นอกจากนั้นความเครียดก็สามารถทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อได้ ทำให้มีจุดกดเจ็บ (Trigger point) กระจายอาการปวดไปบริเวณกล้ามเนื้อจุดนั้น ๆ ส่วนใหญ่ก็จะหายปวดไปเอง หรือทานยาแล้วหายเอง แต่หากไม่หาย และไม่รีบทำการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้ ซึ่งกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) มักมีอาการปวดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดคอ แขนขา เอว ไมเกรน  และปวดกราม ส่วนใหญ่เกิดกับบุคคลที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ

 

ประเภทของ  Myofascial pain syndrome (MPS)

1. Acute Myofascial pain syndrome คือ Myofascial pain syndrome ที่เป็นมาไม่นานเกินสองเดือน ส่วนใหญ่มักพบสาเหตุหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิด muscle overload ชัดเจน เช่น ปวดหลังจากถูพื้น ไปยกของหนัก หรือหกล้มหลังกระแทก ทำให้มีการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ เกิดเป็น Trigger Point ตามมา เมื่อเวลาผ่านไปอาการต่างๆมักจะดีขึ้นตามลำดับ
2. Subacute Myofascial pain syndrome คือ Myofascial pain syndrome ที่มีอาการมากกว่า 2 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน
3. Chronic Myofascial pain syndrome คือ Myofascial pain syndrome ที่เป็นมาเป็นเวลานานมากกว่า 6 เดือน มีการรบกวนต่อการนอนหลับ บั่นทอนสุขภาพจิต คุณภาพชีวิตในด้านส่วนตัว ครอบครัวและสังคมได้บ่อย

ขอบคุณข้อมูลจาก : Safe&Save Pharmacy

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง

  1. เกิดจากการใช้งานมัดกล้ามเนื้อเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือนั่งทำงาน ทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นใช้งานหนักจนเกิดจุดกดเจ็บ (Trigger point)
  2. ท่านั่ง การนอน การเดินที่ไม่เหมาะสม
  3. ขาดการบริการกล้ามเนื้อ และขาดการออกกำลังกาย

อาการปวดกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง

  1. มีอาการปวดกล้ามเนื้อ มีอาการร้าวลึก ๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เวลาทำงาน หรือใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะเกิดอาการปวด
  2. มีอาการปวดอย่างรุนแรง ทำให้รู้สึกรบกวนในการใช่ชีวิตประจำวัน มีผลกระทบต่อการทำงาน ปวดทรมาณจนไม่สามารถทำงาน หรือขยับได้ในจุดที่ปวด
  3. มีอาการชา บางคนมีอาการปวดและมีอาการชาร่วมด้วย
  4. มีอาการร่วมปวดศีรษะ นอนไม่หลับ
  5. มีความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่น เป็นคนที่มีกระดูกสันหลังคด ไหล่ไม่เท่ากัน ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อไม่สมดุล ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ

5 อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจมีภาวะกล้ามเนื้อเรื้อรัง
1. มีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ จากการนั่งทำงาน จากนั้นก็มีอาการปวดคอ และปวดหลัง
2. มีจุดกดเจ็บ (Trigger point) ในบริเวณที่ปวด ซึ่งอาการปวดมี 2 รูปแบบ คือ Active (จุดปวดมีอาการ) เมื่อกดไปที่ก้อนกล้ามเนื้อจะมีความรู้สึกปวด และ Latent (จุดปวดแฝง) จะแสดงอาการเมื่อถูกกระตุ้น บางครั้งก้อนหล้ามเนื้อจะซ่อนอยู่ไม่แสดงออกมา จะรู้สึกปวดเวลามีการกระตุ้นด้วยการกดลงไปจุดกล้ามเนื้อ และบางครั้งก็เกิดอาการโดยไม่มีแรงกระตุ้น
3. มีการปวดร้าวไปจุดอื่น ๆ เช่น เมื่อเราปวดคอ เมื่อก้มคอลงจะปวดร้าวรามลงมาถึงหลัง หรือกลางหลัง
4. มีก้อนกล้ามเนื้อเกิดขึ้นในจุดที่เจ็บ
5. ไม่สามารถหัน หรือเอี้ยวตัวได้ปกติ ทำให้มีองศาการเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลง

 

การรักษา
1. การทานยา
2. การนวด
3. การปรับท่าออกกำลัง และปรับท่าที่เหมาะสม
4. การทำกายภาพบำบัด ด้วยเครื่องมือ
  - การรักษาด้วยเครื่องเสียง (Ultrasound)
  - การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave therapy)
  - การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
  - การรักษาด้วยการประคบร้อน (Hot Compression)
  - การรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์ (LASER)
  - การยืดกล้ามกล้ามเนื้อ (Stretching Muscle)

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 


KIN Clinic คลินิกกายภาพบำบัด
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 8 อาคาร T3 Residence ปากซอยนาคนิวาส 20 ลาดพร้าว 71 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
โทร  084-993-6988 / 02-020-1171
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
แผนที่เดินทาง : shorturl.at/gknEH
 
KIN Origin Healthcare
สาขา Sukhumvit 107
 
สาขา Ramintra

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab