การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)


โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก จนไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ โดยหลังผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองผ่านช่วงวิกฤติ ระยะเวลาที่ได้ผลดีในการฟื้นฟูสมองและร่างกาย คือ ไม่เกิน 3 - 6 เดือนแรกหลังเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เพราะสมองสามารถฝึกและพัฒนาได้ดีที่สุด หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง สมองจะฟื้นตัวไวและสามารถแสดงศักยภาพที่เหลืออยู่ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามหากผ่าน 6 เดือนไปแล้ว แม้สมองจะมีอัตราการพัฒนาที่น้อยลง แต่ก็ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้เรื่อย ๆ ถ้าได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง การได้รับการดูแลด้วยบุคลากรหลากหลายสาขาวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด รวมถึงความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ดูแลและญาติในกระบวนการต่าง ๆ ในการดูแลผู้ป่วย ย่อมช่วยฟื้นฟูสมองของผู้ป่วยได้อย่างเต็มศักยภาพและมีคุณภาพ


วิธีการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

1การล้างมือ

สำหรับผู้ดูแลไม่ว่าจะเป็นญาติหรือว่าบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติเป็นอันดับแรกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญก็คือเรื่องการติดเชื้อ การล้างมือที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ เป็นสิ่งที่หลายๆคนมองข้าม แต่เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการป้องกันการติดเชื้อแก่ผู้ป่วย

2. การระบายเสมหะ

การระบายเสมหะออกเองมักจะเป็นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในเรื่องของการผู้และการกลืนก็จะมักมีปัญหาของการระบายเสมหะร่วมด้วย จึงต้องใช้กระบวนการดูดเสมหะมักจะมีเครื่องช่วยดูดเสมหะออกร่วมด้วย สาเหตุที่ต้องดูดออกเนื่องมาจากว่าถ้าปล่อยให้เสมหะคลั่งค้างอยู่โดยที่เราไม่ได้ระบายออกอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง อาจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อแทรกซ้อนในทางเดินหายใจ ซึ้งเป็นที่รู้จักกันในเรื่องของปอดอักเสบ ปอดบวม ในการดูดเสมหะจะมีเรื่องของความถี่ จะพิจารณามาจากปริมาณของเสมหะ ผู้ป่วยบางรายมีปริมาณเสมหะมาก เราก็ต้องทำการดูดเสมหะถี่ขึ้น อย่างน้อยๆ ดูดทุกๆ 4 ชั่วโมง ในกรณืผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยและมีเสมหะมากอยู่เป็นพื้นฐานอาจจะดูดถี่กว่านั้น เช่น ดูดทุกๆ 2 ชั่วโมง


ข้อควรระวังในการดูดเสมหะ

  1. ในขณะที่ดูดเสมหะผู้ป่วยจะถูกดูดอากาศออกไปในช่วงสั้นๆ กรณีที่ต้องดูดเสมหะโดยเฉพาะดุดนานๆ อาจจะต้องมีช่วงพักและต้องให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยเพื่อระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยมีการขาดออกซิเจน และเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะสมอง
  2. ในการดูดเสมหะอาจจะต้องทำด้วยความนุ่มนวลเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมาน ในการดูดอาจจะเจ็บปวดหรือมีความรุนแรงจากการดูดเอง อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดแผลในหลอดลมทำให้มีเลือดออกตามมา
  3. การฝึกกลืนอาหาร สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก อาหารก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกันโดยจะต้องเลือกอาหารที่มีความข้นหนืดพอเหมาะเพื่อป้องกันการสำลัก

อาหารฝึกกลืนจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

 ระดับที่ 1 จะแบ่งย่อยเป็น

ลักษณะของอาหารระดับ

1.1 ก็จะเป็นอาหารที่มีความหนืดมากแทบจะไม่มีน้ำเลย อาหารประเภทนี้จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการฝึกกลืนมากๆ ที่ไม่สามารถกลืนของเหลวได้ และเมื่อผู้ป่วยมีการฝึกกลืนที่ดีขึ้นแล้วก็จะเริ่มปรับเป็นระดับ

1.2 อาหารจะเริ่มมีน้ำเป็นส่วนประกอบ จึงทำให้อาหารไม่ข้นมาก ลักษณะความข้นหนืดจะมีลักษณะคล้ายน้ำผึ้ง คือยังมีความหนืดอยู่แต่ไม่มากเกินไป อาหารระดับนี้จะเหมาะสมกับผู้ป่วยที่เริ่มมีการพัฒนาการกลืนดีขึ้นสามารถกลืนได้บ้างเล็กน้อย

ระดับที่ 2 คืออาหารที่อ่อนมากๆ ลักษณะอาหารถ้าเป้นผักหรือเนื้อสัตว์ ต้องหั่นเป็นชิ้นเล็กๆให้ละเอียด เหมาะกับผู้ป่วยที่เริ่มรับประทานอาหารได้แล้ว แต่ยังจะต้องเฝ้าระวังของการสำลักอยู่

ระดับที่ 3 เป็นระดับอาหารที่ใกล้เคียงกับระดับปกติที่สุด แต่อาหารยังต้องมีความนิ่มและเป็นชิ้นที่ไม่ใหญ่จนเกินไป และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีลักษณะแข็ง เช่น ถั่ว ขนมปังกรอบ เพื่อป้องการสำลัก

การบริหารกล้ามเนื้อปากและลิ้น

  • ให้ผู้ป่วยอ้าปาก-หุบปาก สลับกัน 5-10 ครั้ง
  • ให้ผู้ป่วยห่อปาก-ยิ้ม สลับกัน 5-10 ตรั้ง
  • ให้ผู้ป่วยดูดปาก-เป่าปาก สลับกัน 5-10 ครั้ง
  • ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวลิ้นโดยแตะริมฝีปากซ้าย-ขวา บน-ล่าง สลับกัน 5-10 ครั้ง
  • ให้ผู้ป่วยออกเสียง อา อู อี โอ ยาวๆ 3-5 ครั้ง เพื่อเพิ่มกำลังในการออกเสียง

 การเริ่มบริหารร่างกายให้ผู้ป่วยควรปฏิบัติ ดังนี้

  • ก่อนการบริหารร่างกายผู้ป่วยควรสวมเสื้อและกางเกงที่สามารถเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายได้สะดวก ไม่รัดแน่นหรือหลวมจนเกินไป 
  • ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่นอนหงายหนุนหมอนที่ไม่ยกสูงจนเกินไป 
  • ผู้ดูแลไม่อยู่ใกล้หรืออยู่ไกลจนเกินไป 
  • ผู้ดูแลอยู่กับข้างเดียวกันกับข้างที่อ่อนแรงไม่อยู่ใกล้เกินจนไปขัดขวางการเคลื่อนไหว 
  • ในการจับของผู้ป่วยอาจขึ้นอยู่ในความถนัดของแต่ละบุคคลแต่ต้องให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง ปลอดภัย 
  • สำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล การเคลื่อนไหวผู้ป่วยท่าซ้ำๆ และต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไม่ควรฝึกทำต่อ 
  • ผู้ดูแลควรพบนักกายภาพบำบัดเพื่อจะได้หาวิธีดูแลรักษาอย่างถูกวิธี 
  • หากผู้ป่วยมีอาการเกร็ง ควรเคลื่อนไหวในช่วงที่สามารถทำได้อย่างซ้ำๆ จนอาการเกร็งลดลง แต่ถ้าระหว่างที่ทำมีอาการเกร็งเพิ่มมากขึ้น ให้ผู้ป่วยออกแรงน้อยลง และผู้ดูแลออกแรงช่วยเพิ่มขึ้นจนไม่มีอาการเกร็ง
  • ในกรณีผู้ป่วยมีไข้หรืออ่อนเพลียมากๆ เมื่อมีอาการผิดปกติหรือมีอาการปวดในขณะบริหารกายภาพ ควรหยุดและปรึกษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด
  • การทำกายภาพบำบัด แนะนำให้ทำแต่ละท่าซ้ำๆ ท่าละ 10-20 ครั้งวันละ 2 รอบ ไม่ควรบริหารหลังจากรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ควรทำก่อนหรือหลังรับประทานอาหารเร็จอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

ขอขอบคุณข้อมูล : พญ. หทัยรัตน์ ผดุงกิจ

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 


สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ

KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
     
 
 โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Tags  

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab