นิ้วล็อก โรคยอดฮิตของคนยุค4.0
นิ้วล็อก (Trigger Finger) เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งในปัจจุบันยุคดิจิทัล4.0 ที่คนต่างใช้นิ้วมือในการกดโทรศัพท์ พิมพ์คีย์บอร์ดในการทำงานหรือเหล่าเกมเมอร์ทั้งหลายที่ต้องใช้ข้อมือขยับเมาส์เล่นเกมเป็นเวลานานๆ พฤติกรรมเหล่านี้จึงมีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อกได้มากขึ้น จะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของนิ้วมือ เกิดการอักเสบหนาตัวของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ นิ้วก็เกิดการล็อก ไม่สามารถกลับมายืดตรงได้ตามปกติ
อาการของ “โรคนิ้วล็อก”
• รู้สึกดังกึกเมื่อต้องงอหรือยืดนิ้ว
• เกิดอาการนิ้วแข็ง
• รู้สึกตึงและรู้สึกเหมือนมีบางอย่างนูนขึ้นมาตรงโคนของนิ้วที่ล็อก
• นิ้วล็อกเมื่องอนิ้ว ซึ่งเกิดขึ้นทันทีที่ยืดนิ้วกะทันหัน
• นิ้วล็อกเมื่องอนิ้วโดยไม่สามารถยืดนิ้วกลับมาได้
• รู้สึกดังกึกเมื่อต้องงอหรือยืดนิ้ว
• เกิดอาการนิ้วแข็ง
• รู้สึกตึงและรู้สึกเหมือนมีบางอย่างนูนขึ้นมาตรงโคนของนิ้วที่ล็อก
• นิ้วล็อกเมื่องอนิ้ว ซึ่งเกิดขึ้นทันทีที่ยืดนิ้วกะทันหัน
• นิ้วล็อกเมื่องอนิ้วโดยไม่สามารถยืดนิ้วกลับมาได้
สาเหตุการเกิด “โรคนิ้วล็อก”
เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมือจากการใช้งาน เช่น การเกร็งนิ้วมือขณะทำงาน พิมพ์คีย์บอร์ดในการทำงาน เขียนงานเอกสาร ใช้ข้อมือขยับเมาส์เล่นเกมเป็นเวลานานๆ ทำงานบ้านล้างจาน ซักผ้า โดยสาเหตุเหล่านี้ทำให้เปลือกหุ้มเส้นเอ็นเกิดการอักเสบหรือบวมจนทำให้ขาดความยืดหยุ่น นิ้วไม่สามารถยืดหรืองอได้ตามปกติ
เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมือจากการใช้งาน เช่น การเกร็งนิ้วมือขณะทำงาน พิมพ์คีย์บอร์ดในการทำงาน เขียนงานเอกสาร ใช้ข้อมือขยับเมาส์เล่นเกมเป็นเวลานานๆ ทำงานบ้านล้างจาน ซักผ้า โดยสาเหตุเหล่านี้ทำให้เปลือกหุ้มเส้นเอ็นเกิดการอักเสบหรือบวมจนทำให้ขาดความยืดหยุ่น นิ้วไม่สามารถยืดหรืองอได้ตามปกติ
การรักษา “โรคนิ้วล็อก”
• ระยะที่มีการอักเสบ ควรพักการใช้มือ
• ใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว
• แช่นิ้วมือในน้ำอุ่นนานประมาณ 5 – 10 นาที
• รักษาด้วยยา การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่
• กายภาพบำบัด เช่น การประคบร้อน ประคบเย็น การบริหารเส้นเอ็นนิ้วมือ การนวดเบา ๆ
• ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือ และบริหารเพิ่มความแข็งแรง
• การผ่าตัด
• ระยะที่มีการอักเสบ ควรพักการใช้มือ
• ใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว
• แช่นิ้วมือในน้ำอุ่นนานประมาณ 5 – 10 นาที
• รักษาด้วยยา การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่
• กายภาพบำบัด เช่น การประคบร้อน ประคบเย็น การบริหารเส้นเอ็นนิ้วมือ การนวดเบา ๆ
• ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือ และบริหารเพิ่มความแข็งแรง
• การผ่าตัด
ขอขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท
KIN Clinic คลินิกกายภาพบำบัด
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 8 อาคาร T3 Residence ปากซอยนาคนิวาส 20 ลาดพร้าว 71 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
FaceBook : www.facebook.com/KinRehabClinic
แผนที่เดินทาง : https://shorturl.asia/IvCJR
KIN Origin Healthcare
สาขา Sukhumvit 107
สาขา Ramintra
Tags