ใครเป็นแบบนี้บ้าง นั่งทำงานก้ม ๆ หรือเงย ๆ อยู่ แล้วก็เกิดอาการปวดหลัง หลังตึง แล้วคิดว่าคงเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อธรรมดา กินยาก็หายแล้ว แต่กลับเป็นว่ามีอาการปวดหลัง หรือปวดสะโพกร้าวลงขาอีก มีอาการขาชา เดินลำบาก หรือว่าจะเป็น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  กันนะ ไปรู้จักกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และเช็คอาการกันเลย

 

หมอนกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus)

คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง และไปกดเบียดเส้นประสาท หรือเกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่บริเวณสันหลังถูกทำลายเสียหาย สาเหตุเกิดการจากการใช้งานหนัก และใช้เป็นระยะเวลานาน เช่น การถือของหนัก การเงย หรือก้มนาน ๆ ทำให้เกิดเส้นประสาทเกิดการอักเสบ ทำให้น้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังปริ้นออกมากเกินไปจนไปกดเบียดเส้นประสาทอยู่ด้านหลัง ทำให้มีอาการปวดที่หลังไม่หาย ปวดบริเวณเอวด้านล่างไปถึงบริเวณต้นชาด้านหลัง แต่หากเส้นประสาทกดทับผู้ป่วยจะมีอาการปวดขา อาการชา อ่อนแรง หรือเจ็บบริเวณแนวเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ยิ่งกดทับมากขึ้นเท่าไร อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นจนปวดตลอดเวลา อาจทำให้เดินและยืนได้ลำบาก ซึ่งหากอาการเป็นรุนแรงมากขึ้น ๆ  จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

 

ผู้ที่เสี่ยงเป็นมักเป็นบุคคลที่

  • ผู้ที่ทำงานหนัก โดยเฉพาะผู้ที่แบกของหนักเป็นประจำ
  • ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือมีแรงกระแทกบริเวณเอว
  • ผู้ที่มีอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน
  • ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกเสื่อม


5 วิธีเช็ค หมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

  1. มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาหากคุณมีอาการปวดสะโพกหรือปวดเอวก็ตามแต่ แล้วเกิดร่วมกับอาการร้าวลงขา ไม่ว่าจะข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างก็ตาม แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดแค่ข้างใดข้างหนึ่ง โดยลักษณะการร้าวลงขา ส่วนใหญ่จะร้าวไปที่ก้น หรือด้านหลังต้นขา ไปที่แถบขางขาหรือหลังขา ซึ่งจะเกิดร่วมกับอาการชาหรือไม่ก็ได้ครับ และส่วนใหญ่อาการจะเป็นหนักตอนที่นั่งนานหรือยืนนานๆ เป็นต้น
  2. อาการอ่อนแรงที่ขาร่วมด้วย โดยหมอให้คุณเช็คง่ายๆ คือให้ลองกระดกข้อเท้าขึ้นหรือกระดกนิ้วโป้งเท้าขึ้นค้างไว้ หรือว่าถ้าคุณมีเพื่อน อาจจะลองให้เพื่อนใช้มือต้านแรงตอนกระดกข้อเท้าหรือนิ้วโป้งเท้าไว้ เทียบกับอีกข้างที่ปกติก็ได้ ถ้ารู้สึกว่าอ่อนแรงกว่าอีกด้าน นั้นหมายถึงคุณควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเลยครับ
  3. ลองให้เพื่อนยกขาของคุณในท่านอนหงายโดยให้เพื่อนของคุณใช้มือรองข้อเท้าแล้วยกขึ้นมาจนเข่าเหยียดตรง โดยให้คุณทิ้งน้ำหนักขาไปที่มือของเพื่อนทั้งหมด ห้ามเกร็งขาหรือออกแรง  ถ้าเกิดคุณแสดงอาการปวดสะโพกร้าวลงขาแล้ว ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ครับ
  4. ให้สังเกตเวลา ไอ จาม เบ่ง ว่ามีอาการปวดหลังหรือสะโพกหรือไม่นั่นอาจแสดงถึงอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือปลิ้นได้ครับ แต่หากยังไม่มีอาการลงขา ก็อาจจะไม่ได้เคลื่อนหรือปลิ้นไปทับเส้นประสาท หากมีอาการเช่นนี้ควรที่จะต้องปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ไห้ตัวโรคเป็นไปมากกว่านี้ครับ
  5. อาการชาที่ส่วนขาหากคุณไม่แน่ใจว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ให้คุณเช็คง่ายๆ โดยการใช้ไม้จิ้มฟัน มาจิ้มบริเวณที่รู้สึกชาเทียบกับขาอีกด้าน หากคุณรู้สึกต่างกัน นั่นอาจบ่งบอกถึงอาการชา ซึ่งอาการชาในหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจไม่ได้มีอาการตลอด แต่อาจเกิดกับบางกิจกรรมหรือบางท่า เช่นการยืนหรือนั่งนานๆ ซึ่งถ้าหากเกิดอาการนี้ขึ้นก็ควรจะมาพบแพทย์เช่นกันเพราะนั่น บ่งบอกถึงการถูกกดทับของเส้นประสาทแล้วครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ ​

การดูแล และรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับวิธีการดูแลรักษา แพทย์จะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัย โดยเริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้น การเอกซเรย์กระดูกสันหลังในท่าทางต่างๆ และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เพื่อหาสาเหตุและวางแผนแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งในเบื้องต้น ผู้ป่วยที่มีภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถทำได้ ดังนี้

▪ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการก้มเงย ยกของหนักเป็นประจำ
▪ ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลังและหน้าท้องให้แข็งแรง
▪ ฝึกยืดกล้ามเนื้อหลัง เพื่อเป็นการลดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง
▪ ทานยาแก้ปวด หรือกายภาพบำบัด ซึ่งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ 80% จะมีอาการดีขึ้น

  สำหรับวิธีการรักษาโดยการทำกายภาพบำบัดและการให้ยาในข้างต้นนั้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง แพทย์จะวินิจฉัยและวางแผนการรักษาอื่นๆ ได้แก่ การฉีดยาเข้าไปยังตำแหน่งใกล้เส้นประสาทซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวด การผ่าตัดแผลเล็กผ่านกล้อง

ขอบคุณข้อมูลมาก : โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ

หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อเช็คอาการ และรีบรักษาตั้งแต่เบื้องต้น เพื่อไม่ให้อาการปวดส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน และไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

 

สอบถามข้อมูลการรักษา จองคิวพบแพทย์ นักกายภาพบำบัด


 
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูคิน

สาขา รพ.ประสานมิตร ถนนพหลโยธิน (รับเฉพาะผู้ป่วยนอก)
 โทร : 081-632-8188 / 083-441-1363
 LINE สอบถามรายละเอียด @KinPrasanmit (มี @ ข้างหน้า)
หรือ Click : https://lin.ee/UPfzPk7

KIN Origin Healthcare
สาขา Sukhumvit 107
 
สาขา Ramintra

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab