รีวิว คุณสุรพล ใช้บริการโปรแกรมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองขั้นสูง กลับบ้านได้ใน 1 เดือน
ผู้รับบริการมาด้วยอาการโรคหลอดเลือดสมองตีบ มีอาการอ่อนแรงด้านขวา หรือที่เรียกว่าอัมพฤกษ์ครึ่งซีก ซึ่งสามารถช่วยเหลือตนเองได้เล็กน้อย มีอาการพูดไม่ชัด ได้มาใช้บริการของทาง KIN โดยใช้ โปรแกรมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองขั้นสูง มีทีมฟื้นฟูโดยนักกายภาพบำบัด วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง และมีการทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ตามขั้นตอนโปรแกรมฟื้นฟู กระตุ้นการตื่นตัวทางร่างกายแลระบบประสาทและสมองของผู้เข้ารับบริการ พร้อมกับใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) กระตุ้นบริเวณสมองและบริเวณกล้ามเนื้อไปพร้อมๆ กับการกายภาพบำบัดฟื้นฟู ทำให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น และยังมีการให้วิตามินบำรุงร่างกาย เพื่อทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่เพียงพอต่อการบำบัดฟื้นฟู และมีการให้วิตามินบำรุงสมอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและสมองให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
หลังจากได้รับการฟื้นฟูเป็น ระยะเวลา 1 เดือน ผู้รับบริการสามารถเดินได้ด้วยไม้เท้าโดยมีผู้ประคองดูแลในระหว่างการเดิน พูดได้ชัดเจนขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้ถึงเป้าหมายที่ทางญาติได้ตั้งเป้าหมายไว้
เครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อการรักษาโรคระบบประสาท (Trans Cranial Magnetic Stimulation System : TMS) คือ เครื่องที่ใช้ในการกระตุ้นสมองและระบบประสาทด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดไม่ต้องผ่าตัด (non-invasive magnetic stimulation) องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (The US Food and Drug Administration: FDA) ได้อนุญาตให้มีการใช้ transcranial magnetic stimulation (TMS) ในทางการแพทย์เพื่อใช้ในรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคไมเกรนชนิดมีออร่า โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยและนำมาใช้ในการรักษาในหลายๆ กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) การบาดเจ็บของไขสันหลัง (spinal cord injury) กล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ตลอดจนกลุ่มโรคทางจิตเวช เช่น กลุ่มอาการพฤติกรรมการรับประทานผิดปกติ (eating disorder) โรคจิตเภท (schizophrenia) เป็นต้น
หลักการทำงานของเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า treatment coil โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวจะมีลักษณะใกล้เคียงกับเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) ซึ่งเป็นการใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดอ่อนๆ กระตุ้นให้วงจรกระแสประสาทสมองทำงาน ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีความปลอดภัยสูง
กลไกการออกฤทธิ์ของเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย แต่มีรายงานว่าการกระตุ้นสมองซ้ำๆ ด้วย repetitive pulse transcranial magnetic stimulation (rTMS) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรกระแสประสาท ลดการทำงานของระบบต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต (hypothalamic-pituitary-adrenocortical system) เกิดการปรับเปลี่ยนของสารสื่อประสาท โดยในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพจะทำงานลดลง สมองส่วนปกติจะทำงานมากขึ้น (hyperactive) ดังนั้นจึงมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ในการรักษา เพื่อกระตุ้นให้สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพเกิดการทำงานเพิ่มขึ้น ตลอดจนกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น growth hormone, brain-derivated neurotopic factor ในขณะเดียวกันก็ลดการทำงานของสมองข้างที่ปกติในการส่งสัญญาณไปควบคุมสมองข้างที่มีพยาธิสภาพ
ปัจจุบันมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (transcranial magnetic stimulation: TMS) มาใช้ในการฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมาก เช่น ภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา อาการพูดลำบาก อาการกลืนผิดปกติ พบว่ามีความปลอดภัย ผู้ป่วยสามารถทนต่อการรักษาได้และมีประสิทธิภาพสูงเมื่อทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด
หลักการทำงานของเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า treatment coil โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวจะมีลักษณะใกล้เคียงกับเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) ซึ่งเป็นการใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดอ่อนๆ กระตุ้นให้วงจรกระแสประสาทสมองทำงาน ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีความปลอดภัยสูง
กลไกการออกฤทธิ์ของเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย แต่มีรายงานว่าการกระตุ้นสมองซ้ำๆ ด้วย repetitive pulse transcranial magnetic stimulation (rTMS) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรกระแสประสาท ลดการทำงานของระบบต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต (hypothalamic-pituitary-adrenocortical system) เกิดการปรับเปลี่ยนของสารสื่อประสาท โดยในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพจะทำงานลดลง สมองส่วนปกติจะทำงานมากขึ้น (hyperactive) ดังนั้นจึงมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ในการรักษา เพื่อกระตุ้นให้สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพเกิดการทำงานเพิ่มขึ้น ตลอดจนกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น growth hormone, brain-derivated neurotopic factor ในขณะเดียวกันก็ลดการทำงานของสมองข้างที่ปกติในการส่งสัญญาณไปควบคุมสมองข้างที่มีพยาธิสภาพ
ปัจจุบันมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (transcranial magnetic stimulation: TMS) มาใช้ในการฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมาก เช่น ภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา อาการพูดลำบาก อาการกลืนผิดปกติ พบว่ามีความปลอดภัย ผู้ป่วยสามารถทนต่อการรักษาได้และมีประสิทธิภาพสูงเมื่อทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด
KIN ขอขอบพระคุณผู้รับบริการ และบุคคลในครอบครัว ที่อนุญาตให้เผยแพร่
ความประทับใจนี้
KIN ขอขอบคุณที่ผู้รับบริการ และบุคคลในครอบครัว ในความไว้วางใจให้ทางศูนย์ได้ดูแล ทางศูนย์พยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือให้บุคคลที่ท่านรักได้กลับมาใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
เพราะครอบครัวคุณ คือครอบครัวเรา
Kin rehabilitation and homecare
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
Pinterest : https://www.pinterest.com/kinrehabilitation
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Tags