ผลตรวจ ATK เป็นบวก เอายังไงต่อดี?
 
   เมื่อเราตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้ว ขึ้นสองขีด หมายถึง ผลเป็น Positive (+) ต้องทำอย่างไรต่อดี? อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า ผลตรวจของ ATK มีความแม่นยำประมาณ 60 – 90% ซึ่งอาจจะมีผลบวกลวงหรือผลลบลวงได้
             ผลลบลวง (False Negative) หมายถึง เป็นผู้ติดเชื้อ แต่ให้ผลการทดสอบเป็นลบ (-)
             ผลบวกปลอม (False Positive) หมายถึง ไม่ได้ติดเชื้อ แต่ให้ผลการทดสอบเป็นบวก (+)
 
   หากตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้ว ผลเป็นบวก (+) แนะนำให้มาทำ การตรวจซ้ำด้วยวิธี RT-PCR ที่โรงพยาบาลเพื่อเป็นการยืนยันผลวินิจฉัย
โดยแนะนำให้ไปโรงพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุด หรือใช้สิทธิ์รักษาที่โรงพยาบาลนั้น โดยในระหว่างที่รอจะไปทำ RT-PCR ให้แยกตัวจากคนในครอบครัวก่อน สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา คำนึงเสมอว่าเรายังสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ในครอบครัวได้ ที่สำคัญอย่าเพิ่งตกใจหรือกังวลไป ให้รีบหาโรงพยาบาลที่ทำ RT-PCR ก่อน อาจจะติดต่อโทร.1330 สายด่วน สปสช.
 
   หลังจากที่ตรวจด้วยวิธี RT-PCR จะไม่สามารถทราบผลได้ในทันที ต้องรอผลอย่างน้อย 4 – 8 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณจำนวนของผู้ป่วยในแต่ละโรงพยาบาลด้วย
 
กรณีที่ผลการตรวจ RT-PCR เป็นบวก คือ เป็นผู้ได้รับเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะต้องประเมินอาการและรับการรักษา หมอก็จะแบ่งคนไข้ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว (กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย)
         และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรงในภายหลัง
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ความเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรงในภายหลัง โดยจะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่อายุมาก โดยมีอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป หรือว่ามีโรคประจำตัว
         ที่อาจจะทำให้โควิด-19 รุนแรงขึ้นถึงแม้ว่าจะเป็นสายพันธุ์โอมิครอนก็ตาม
 
กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่
- ผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่ตั้งครรภ์
- ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด
- ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
 
ผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 แบบไหน? เข้าเกณฑ์การทำ Home Isolation
 
Home Isolation หรือการกักตัวที่บ้าน คือ อีกหนึ่งวิธีในการดูแลตัวเอง สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีเขียว ที่ไม่มีอาการแสดง หรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ประเมินแล้วว่าสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้
 
การการทำ Home Isolation จะต้องไม่ใช่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ และไม่มีอาการปอดอักเสบ ส่วนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจะต้องมารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ได้แก่
- ผู้ป่วยที่มีอาการมาก เช่น ไข้สูงมาก
- น้ำหนักตัวมาก, BMI หรือดัชนีมวลกาย มากกว่า 28
- ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน
- ผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบตั้งแต่แรก
 
   สำหรับโรงพยาบาลศิครินทร์ จะมีการคัดแยกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ป่วยที่จะต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะมีการโทรศัพท์แจ้งให้เตรียมตัวและจะส่งรถไปรับที่บ้านเพื่อมาทำการรักษาต่อไป 2) สำหรับกลุ่มที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนอนโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะมี Hotel Isolation ซึ่งการประเมินวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับลักษณะต่างๆ และอาการของผู้ป่วยที่หมอได้ระบุไว้ข้างต้น
 
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab