สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก
โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก
- ผู้ป่วยจำนวน 80 ล้านคน ผู้เสียชีวิตประมาณ 5.5 ล้านคน
- พบผู้ป่วยใหม่ถึง 13.7 ล้านคน / ปี
- โดย 1 ใน 4 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป
- 60 % เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
 
โรคหลอดเลือดสมอง STROKE
โรคหลอดเลือดสมอง STROKE
โรคหลอดเลือดสมอง STROKE
โรคหลอดเลือดสมอง STROKE
 
 
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือสมอง (Stroke)
โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
ภาวะโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง
สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์  อ้วน
 
โรคหลอดเลือดสมอง (Strokeสาเหตุการตายอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และอันดับ 3 ของผู้ชายไทย
 
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์  อ้วน
 
1. โรคความดันโลหิตสูง
ภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดเสื่อม เนื่องจากแรงดันเลือดที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่น ทำให้เกิดการแตกเปราะง่าย พบว่ากว่า 35-73% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และมีภาวะความดันโลหิตสูงยิ่งมีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่า
2. โรคเบาหวาน
เป็นปัจจัยสำคัญ รองมาจากภาวะความดันโลหิสูง
ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลิกรัมเปอร์เซนต์ มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน
ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลิกรัมเปอร์เซนต์ ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นเวลานาน ๆ โดยมิได้ทำการรักษา ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวได้ง่าย
3. ภาวะโรคหัวใจ
เช่น โรคหัวใจวาย โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ขึ้นภายในหัวใจ ซึ่งลิ่มเลือดเล็กๆ เหล่านี้อาจหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
4. ไขมันในเลือดสูง
ทำให้ผนังเส้นเลือดแดงไม่ยืดหยุ่น เกิดการตีบตันง่าย เลือดจึงไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ ถ้าเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จะทำให้สมองขาดเลือดและเป็นสาเหตุทำให้เกิดเป็นโรคอัมพาตได้
5. การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดเปราะ หรือเลือดออกง่าย ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
6. อ้วน
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก
 
พ.ญ หทัยรัตน์ ผดุงกิจ
 
สนใจปรึกษา
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร. 0802400426 / 091 803-3071 / 0-2020-1171
สอบถามบริการของ KIN  แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แผนที่ไป KIN (คิน) http://bit.ly/2VvPDq6
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.kinrehab.com/
FaceBook(Inbox) : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab