ศาสตร์การฝังเข็ม
ส่วนใหญ่คนมักรู้จักกับการฝังเข็มแผนจีน (Acupuncture) ในการรักษาโรคต่างๆ แต่ในปัจจุบันการฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling) ก็มีการแพร่หลายและนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งการฝังเข็มทั้ง 2 แบบนี้ ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การยอมรับว่าเป็นการรักษาที่ดี และปลอดภัยมากกว่าการใช้ยาและไม่มีผลข้างเคียงอีกด้วย
ส่วนใหญ่คนมักรู้จักกับการฝังเข็มแผนจีน (Acupuncture) ในการรักษาโรคต่างๆ แต่ในปัจจุบันการฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling) ก็มีการแพร่หลายและนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งการฝังเข็มทั้ง 2 แบบนี้ ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การยอมรับว่าเป็นการรักษาที่ดี และปลอดภัยมากกว่าการใช้ยาและไม่มีผลข้างเคียงอีกด้วย
1. การฝังเข็มแผนจีน (Acupuncture) จะเน้นไปที่การฝังเข็มตามเส้นลมปราณ ซึ่งการรักษามีสรรพคุณ 3 อย่าง คือ "สรรพคุณรักษาโรครอบจุดฝังเข็ม หรือ รักษาโรคใกล้" "สรรพคุณรักษาโรคห่างไกลจุดฝังเข็ม หรือ รักษาโรคไกล" และ "สรรพคุณพิเศษ ได้แก่ สรรพคุณสองด้าน และ สรรพคุณเฉพาะโรค" โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การยอมรับว่าการฝังเข็มในโรคบางชนิดได้ผลดีมาก รวมทั้งล่าสุดยังมีหลายงานวิจัยพบว่า โรคบางโรค เช่น กรดไหลย้อน ปวดหัว ปวดศีรษะไมเกรน การรักษาด้วยการฝังเข็มให้ผลการรักษาดีเทียบเท่า หรือ มากกว่าการใช้ยา โดยปลอดภัย และ ไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยาอีกด้วย
2.การฝังเข็มแผนตะวันตก (Dry needling) จะฝังไปที่กล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัวเป็นก้อน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการปวดโดยตรง นิยมใช้รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อจากในอาการ Office syndrome หรือ Myofascial pain syndrome และมีงานวิจัยระดับสากลรองรับมากมาย รวมถึงสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย ก็ยังแนะนำให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา myofascial pain syndrome
สิ่งที่ควรทำก่อนรับการรักษา
-
รับประทานอาหารก่อนมาฝังเข็ม เพราะถ้าท้องว่างมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย
-
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
-
ควรสวมเสื้อผ้าแบบสบาย ๆ
-
ขณะรับการฝังเข็มถ้าอาการผิดปกติต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวและยาที่รับประทานประจำ
สิ่งที่ควรรู้
- ความถี่ของการฝังเข็มขึ้นอยู่กับอาการ
- สามารถฝังเข็มได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือให้ห่างกันมากกว่า 3 วัน ขึ้นอยู่กับอาการ
- อาจเกิดการระบมได้บ้างหลังการฝังเข็ม แต่จะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน
ข้อห้ามสำหรับการฝังเข็ม
1.ผู้ที่เพิ่งออกกำลังกายอย่างหนัก
2.ผู้หญิงตั้งครรภ์
3.ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย หรือได้รับยาละลายลิ่มเลือด
4.ผู้ที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย
5.ผู้ป่วยที่มีเลือดออกง่าย โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
6.ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยทางจิตเวช หรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้
1.ผู้ที่เพิ่งออกกำลังกายอย่างหนัก
2.ผู้หญิงตั้งครรภ์
3.ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย หรือได้รับยาละลายลิ่มเลือด
4.ผู้ที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย
5.ผู้ป่วยที่มีเลือดออกง่าย โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
6.ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยทางจิตเวช หรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้
ข้อมูลโดย : นพ.กฤษณะ เกียรติโชควิวัฒน์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
KIN Clinic คลินิกกายภาพบำบัด
โทร 084-993-6988 / 02-020-1171
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
FaceBook : www.facebook.com/KinRehabClinic
แผนที่เดินทาง : shorturl.at/gknEH
Kin Origin Healthcare
สาขา Sukhumvit 107
สาขา Ramintra
FaceBook : https://www.facebook.com/KinOriginRamintra/
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
Pinterest : https://www.pinterest.com/kinrehabilitation
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Website : https://www.kinrehab.com
Tags